อนุสาวรีย์ตำรวจ : อนุสาวรีย์ผู้พิทักษ์รับใช้ประชาชน

ประวัติ : อนุสาวรีย์ตำรวจ แต่เดิมตั้งอยู่หน้าตึกปทุมวัน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี แห่งกรมศิลปากรเป็นช่างปั้นรูปหุ่น ตำรวจอุ้มคนเจ็บ มีเด็กญาติคนเจ็บเกาะขา  ลักษณะของอนุสาวรีย์ที่สร้างขึ้นนี้ฐานส่วนล่างเป็น รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสทำด้วยหินอ่อน มีส่วนกว้างและสูงด้านละ 1.35 เมตร ภายในกลวงสำหรับบรรจุอัฐิตำรวจผู้เสียชีวิตในหน้าที่ราชการ รอบ ๆ ฐานด้านหน้ามีรูปตราโล่และตัวอักษรจารึกว่า "ผู้พิทักษ์รับใช้ ประชาชน" ส่วนด้านข้างอีก 2 ด้าน มีพวงหรีดทำด้วยทองเหลืองติดอยู่ และด้านหลังมีประตูเหล็กปิดเปิดสำหรับเก็บอัฐิบนฐานเป็นรูปหุ่นตำรวจเท่า กับคนตัวจริงหล่อด้วยทองเหลือยืนอุ้มคนเจ็บและมี เด็กญาติคนเจ็บเกาะขาตำรวจอยู่ ตอนล่างของฐานเป็น แท่งหินอ่อนมีบันใดหินอ่อน 3 ขั้น ขึ้นลงได้ทั้ง 4 ด้าน รองรับอีกชั้นหนึ่ง 

อนุสาวรีย์ตำรวจยืนอุ้มคนเจ็บโดยมีเด็กญาติคนเจ็บเกาะขาตำรวจอยู่นี้ มีความหมายว่า นอกจากตำรวจจะทำหน้าที่ในการปราบปรามแล้วยังมี หน้าที่บริการและการช่วยเหลือระงับทุกข์บำรุงสุขแก่ประชาชน อัน ได้แก่การบริการและการช่วยเหลือต่าง ๆ เช่น ช่วยคนเป็นลม คนตกน้ำ คนหลงทาง คนข้ามถนน คนเจ็บป่วย ผู้ประสบอุบัติเหตุ และในเวลาค่ำคืนก็ช่วยเตือนเจ้าบ้านให้ปิดประตูหน้าต่างป้องกันโจรกรรม ตลอดจนเอาใจใส่ดูแลทุกข์สุขของประชาชน

อนุสาวรีย์ตำรวจผู้พิทักษ์รับใช้ประชาชน สร้างขึ้นเสร็จพร้อมกับตึกสำนักงานตำรวจและได้ทำพิธีเปิดในวันตำรวจเมื่อวัน ที่ 13 ตุลาคม 2496 ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญชิ้นหนึ่งของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ


ข่าวที่เกี่ยวข้อง : ประเทศไทยมีอนุสาวรีย์ถูกสร้างขึ้นจำนวนมากซึ่งแต่ละแห่งก็ล้วนมีประวัติและความเป็นมาด้วยกันทั้งนั้น ที่สำงานตำรวจแห่งชาติก็มีอนุสาวรีย์ที่ตั้งเด่นสง่าก็คืออนุสาวรีย์ผู้พิทักษ์รับใช้ประชาชน ซึ่งเป็นภาพที่คุณเคยก็คือตำรวจอุ้มประชาชนไว้ในอ้อมแขนแล้วมีเด็กยืนเกาะขาตำรวจ ซึ่งแต่เดิมตั้งอยู่หน้าสำนักงานตำรวจแห่งแห่งชาติ ต่อมาได้ถูกย้ายไปที่สโมสรตำรวจ ก่อนจะย้ายไปไว้ที่โรงเรียนนายตำรวจสามพราน อ.สามพราน จ.นครปฐม ซึ่งจะมีพิธีเปิดอนุสาวรีย์ผู้พิทักษ์รับใช้ประชาชน ในวันที่ 29 ก.ย.53 

 พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ประธานกรรมการพิจารณาจัดหาสถานที่ตั้งอนุสาวรีย์ผู้พิทักษ์รับใช้ประชาชน หรืออนุสาวรีย์ตำรวจอุ้มเด็ก กล่าวว่า คณะกรรมการมีความเห็นในที่ประชุมว่าสมควรย้ายอนุสาวรีย์ผู้พิทักษ์รับใช้ประชาชนจากสโมสรตำรวจซึ่งเป็นพื้นที่ไม่เหมาะไปยังโรงเรียนนายร้อยตำรวจ สามพราน อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐมซึ่งเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมกว่า อีกยังเป็นการปลูกจิตสำนึกของนักเรียนนายร้อยตำรวจ ที่จะจบการศึกษาออกไปปฏิบัติหน้าที่รับใช้ประชาชน ให้ระลึกเสมอว่าตำรวจต้องดูแลประชาชนให้อยู่อย่างสงบสุข  และยังเป็นการเสริมฮ้วงจุ้ยอีกด้วย เมื่อย้ายอนุสาวรีย์ไปที่โรงเรียนนายตำรวจแล้วนั้น จะทำการตกแต่งสถานที่ให้สวยงามและมีพิธีเปิดในวันที่ 29 ก.ย. นี้
    
ส่วนสาเหตุที่เลือกวันที่ 29 ก.ย. นั้น ไม่ได้มีความหมายอะไรซ่อนเร้น เพียงแค่ต้องการทำให้เสร็จสิ้นก่อนที่ข้าราชตำรวจปลดเกษียณในเดือน ต.ค. และจะมีการเดินสวนสนามต่อหน้าข้าราชการตำรวจที่ปลดเกษียณทั้งหมด ที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ใช้งบประมาณในการเคลื่อนย้ายเป็นจำนวนเงิน 2 ล้านบาท ซึ่งงบประมาณดังกล่าวไม่ได้เป็นงบของทางราชการแต่เป็นเงินจากสมาคมโรงเรียนนายร้อยตำรวจ โดยการเคลื่อนย้ายอนุสาวรีย์ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 แล้ว และการย้ายมาที่โรงเรียนนายตำรวจก็จะเป็นที่สุดท้ายโดยจะไม่ย้ายไปไหนแล้ว
 ด้าน พล.ต.ท.อมรินทร์ อัครวงษ์ ผบช.รร.นรต. กล่าวว่า รู้ยินดีและเห็นสมควรเป็นอย่างยิ่งที่ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้เคลื่อนย้ายอนุสาวรีย์ผู้พิทักษ์รับใช้ประชาชนมาไว้ที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ เพราะที่โรงเรียนแห่งนี้เป็นที่ผลิตตำรวจชั้นสัญญาบัตร ซึ่งจะทำให้นักเรียนนายร้อยตำรวจได้ซึมซับทุกวัน และเกิดความภาคภูมิใจ ในวีกรรมของตำรวจที่ได้ปกป้องประชาชน เมื่อออกมารับข้าราชการเต็มตัวควรจะดูแลประชาชนอย่างไร 
    
“สำหรับอนุสาวรีย์จะนำมาตั้งไว้ที่หน้าหอประชุมหอประชุมชุณหะวัณ ภายในโรงเรียนนายร้อยตำรวจ จากนี้จะมีการจัดกิจกรรมเพื่อเชิดชูวีรกรรมของตำรวจ ขึ้นภายในวันที่ 13 ต.ค. ซึ่งเป็นวันตำรวจไทยควบคู่กันเป็นประจำทุกปี” พล.ต.ท.อมรินทร์ กล่าว





 นรต.ธนาธิป จิตราคนี หัวหน้านักเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่น 64 เปิดเผยว่า เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะนำอนุสาวรีย์ผู้พิทักษ์รับใช้ประชาชนมาไว้ในโรงเรียน เพราะที่นี่เป็นสถานที่ที่ผลิตบุคลากรป้อนให้กับ สตช.โดยตรง ซึ่งอนุสาวรีย์ดังกล่าวได้บรรจุอัฏฐิของตำรวจที่ทำคุณประโยชน์ให้กับประเทศลงไปด้วย ซึ่งจะทำให้นักเรียนนายร้อยทุกคนได้ปฏิบัติตัวเป็นแบบอย่าง ทั้งยังสร้างอุดมอคติให้กับนักเรียนนายร้อยที่จะออกไปรับใช้ประชาชน อีกทั้งประชาชนทั่วไปที่ได้เห็นอนุสาวรีย์ก็จะนึกถึงตำรวจ เหมือนกับเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ 
ที่มา : gosiam.com , เดลินิวส์ออนไลน์

บทความที่เกี่ยวข้อง
     หน้าหมวกตำรวจ : ประวัติและความเป็นมา
     โล่เขน : ประวัติและความเป็นมา
     สีกากี : ที่มาและความหมาย

ภาพอนุสาวรีย์ผู้พิทักษ์รับใช้ประชาชน ในอดีต(ภาพจากเฟสบุ๊ค พิพิธภัณฑ์ตำรวจ วังปารุสกวัน ซึ่งนำมาจาก หนังสือ ๕๗ ปี ผู้พิทักษ์รับใช้ประชาชน)










ความคิดเห็น

  1. อยากทราบว่าตำรวจท่านที่เป็นหุ่นชื่ออะไรคับ
    และมีประวัติท่านไหมคับ ผมชอบอ่านประวัติ เรื่องสมัยก่อนอ่ะคับ

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น