การใช้หมวกประกอบเครื่องแบบของตำรวจ

ตามหนังสือบันทึกข้อความของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ลงวันที่ 9 มกราคม 2556  เรื่อง การใช้หมวกของข้าราชการตำรวจสำหรับประกอบเครื่องแบบปกติเสื้อเชิ้ตคอพับกากี  เพื่อความชัดเจน เป็นแนวทางเดียวกันให้ถือปฏิบัติดังนี้
  1. หมวกของข้าราชการตำรวจ ตามปกติให้ใช้หมวกทรงหม้อตาลสีเดียวกับเสื้อ สำหรับข้าราชการตำรวจหญิงให้ใช้หมวกแก๊ปทรงอ่อนพับปีกสีเดียวกับเสื้อเช่นเดียวกัน
  2. หมวกแก๊ปทรงอ่อน ให้ใช้ในการฝึก หรือการปราบปรามโจรผู้ร้าย หรือการปฏิบัติราชการสนาม หรือการปฏิบัติราชการอื่นตามที่ ตร. สั่งการเป็นกรณีไป
  3. หมวกหนีบ ให้ใช้เมื่อแต่งเครื่องแบบปกติเสื้อเชิ้ตคอพับกากี และในโอกาสที่ไม่ได้มีระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น เว้นแต่ไม่ให้ใช้ในโอกาส ดังนี้
    1. คุมหรือประจำแถวกองเกียรติยศ
    2. งานพิธีทางราชการและตามหมายกำหนดการ
    3. ผู้บังคับบัญชาตำแหน่งตั้งแต่ ผกก. หรือตำแหน่งเทียบเท่าขึ้นไป สั่งไม่ให้ใช้
  4. หมวกทรงอ่อนสักหลาดสีดำ(แบเร่ต์) ให้ใช้ในการปฏิบัติการพิเศษ ภารกิจควบคุมฝูงชน และการเดินทางของผู้บังคับบัญชาเพื่อความคล่องตัว  ทั้งนี้ โดยให้ใช้อาร์มรองรับตราหน้าหมวกทำด้วยผ้าสีแดงเลือดหมู สำหรับหน่วยงานหรือข้าราชการตำรวจที่ได้รับอนุญาตจาก ตร. ให้ใช้หมวกดังกล่าวเป็นกรณีพิเศษไว้แล้ว ก็ให้ปฏิบัติตามนั้น



          สรุปว่า "หมวกแบเร่ต์" ที่ดูเหมือนจะให้ตำรวจทั่วไปได้ใช้กันนั้น จะไม่เป็นเช่นนั้นแล้ว ตามหนังสือนี้  กลายเป็นว่าตำรวจชั้นผู้น้อยตามโรงพักจะไม่ได้ใช้แล้ว  ทั้ง ๆ ที่มันมีประโยชน์ เกิดความคล่องตัวอย่างมาก  แบบนี้ตำรวจชั้นผู้น้อยจะมองได้ว่าเจ้านายกีดกัน  ไม่ให้เขาได้ใช้ เพราะดูเผิน ๆ แล้วหมวกแบเร่ต์ของสัญญาบัตร - ชั้นประทวนแทบไม่แตกต่างกัน  เจ้านายกลัวเหมือนลูกน้อง  กลายเป็นใจแคบไป  ส่วนคนที่ลงทุนซื้อกันมาแล้ว  ทั้งหมวกและเข็มขัดถัก(ประมาณพันบาท) ก็เซ็งซิครับ ... เจ้านาย

          ปล. เจ้านายลองใส่หมวกหม้อตาล พกปืน วิ่งไล่จับคนร้ายดูบ้างหรือยัง ?

บทความที่เกี่ยวข้อง การสวมหมวกเบเร่ต์ ที่ถูกต้องหมวกเบเร่ต์ในเครื่องแบบตำรวจหน้าหมวกตำรวจ : ประวัติและความเป็นมา

ความคิดเห็น