คำสั่ง 419/56 ดูท่าจะยุ่ง !!

คำสั่ง ตร. ที่ 419/2556 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม ที่ผ่านมานั้น  เมื่อได้อ่านแล้ว มีข้อสังเกตุบางประการที่ดูแล้วน่าจะเป็นปัญหาในการปฏิบัติไม่น้อย  และทาง สตช. ก็ไม่คิดจะแก้ไข ปล่อยให้ภาระการปฏิบัติตกอยู่กับโรงพัก(จุดแตกหักของจริงแล้วคราวนี้)
     1. การยกเลิก ข้อบังคับ มท. ปี 2523 ข้อ 12 เรื่องอำนาจการควบคุมการสอบสวน  เป็นการยกเลิกโดยใช้คำสั่ง 419/56 ซึ่งมีศักดิ์เท่ากัน แต่ใหม่กว่า การใดที่ขัดต่อคำสั่งใหม่ ให้สิ้นผลบังคับไป   ทำให้ฝ่ายปกครอง คือ ผู้ว่า , นายอำเภอ ไม่อาจเข้ามาก้าวก่ายในสำนวนการสอบสวนของฝ่ายตำรวจได้  หากประสงค์จะเข้ามาควบคุมการสอบสวน ให้ทำหนังสือแจ้งมาที่สถานีตำรวจ แล้ว หน.สถานีตำรวจ รายงานตามลำดับชั้นถึง ผบ.ตร. ภายใน 7 วัน เพื่อขออนุมัติ
     ตรงนี้น่าจะสร้างปัญหาระหว่างตำรวจ กับฝ่ายปกครอง  เพราะคำสั่ง มท. ดังกล่าวก็ยังไม่ถูกยกเลิก  และทางฝ่ายปกครองก็ไม่รู้เรื่องคำสั่ง 419/56 ของฝ่าย ตร.  ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติก็ไม่นำเรียน นรม. เพื่อสั่งการให้ยกเลิกคำสั่ง มท.  หรือนำเรื่องดังกล่าวให้ สำนักงานกฤษฎีกา ชี้ขาด  เห็นว่า อาจารย์ชัช(พล.ต.อ.ชัชวาลย์  สุขสมจิตร์) ทำหนังสือตัวอย่างการแจ้งให้นายอำเภอ หรือฝ่ายปกครอง รับทราบ  แจกไปยังสถานีตำรวจ  แล้วระดับ ตร. ไม่ดำเนินการเอง  อย่างน้อยก็น่าจะสั่งการให้ ผบก. ทุกจังหวัด เข้าชี้แจงแนวทางแก่ ผวจ. เพื่อจะได้ป้องกันปัญหาการกระทบกระทั่งกัน  และให้ใช้แนวทางของ ตร. ไปก่อน  จนกว่าจะมีข้อยุติ
     2. การทำสำนวนการชันสูตรพลิกศพทุกกรณี !! ก่อนนี้ พงส. จะทำสำนวนชันสูตร กรณีการเสียชีวิตที่ไม่เป็นคดีเท่านั้น  เพราะสำนวนชันสูตรจะต้องส่งอัยการ และให้ศาลมีคำสั่ง  ซึ่งใช้เวลานาน  ต่อไปถ้าสำนวนอุกฉกรรจ์ หรืออุบัติเหตุจราจร ต้องทำสำนวนชันสูตรด้วย  การออกสำนวนไม่น่าจะทันเวลา  เพราะว่าศาลจะสั่งลงมา  น่าจะเลยกำหนดการสอบสวนในแต่ละคดีไปแล้ว  จะส่งสำนวนไปก่อนก็ไม่ได้ เพราะไม่มีสำนวนชันสูตรประกอบ   แล้วจะให้ดำเนินการกันยังไง ?????
     นี่แค่ตัวอย่างที่เห็นชัด ๆ สองเรื่อง  ซึ่งได้จากการพูดคุยกันในหมู่ ตร.ที่เกี่ยวข้อง  ไม่รู้จะมีเรื่องอื่นซุกอยู่อีกหรือไม่  ทาง ตร. น่าจะศึกษาให้รอบคอบก่อน แล้วกำหนดวิธีการปฏิบัติให้ชัดเจนเสียก่อน  ไม่ใช่ให้ผู้ปฏิบัติไปเสี่ยงเอาเอง  จนมีข้อขัดแย้ง หรือข้อบกพร่อง จึงนำกรณีดังกล่าวมาหาแนวทางแก้ไข  แต่ผู้ปฏิบัติต้องถูกลงโทษ   คนเสี่ยงคือผู้ปฏิบัติ  ซึ่งจะถูกบั่นทอนกำลังใจไปเรื่อย ๆ ครับ(เจ้านายจะรู้มั๊ยเนี่ย...)

ความคิดเห็น

  1. 1. เลิกกฎหลายวิธี มีหลากหลาย โดยปริยายก็เลิกได้ ที่ปฤกษากฎหมายว่าไว้ให้เลข 66/2553 ไม่ใช่เหรอ

    2. ท่าน คอมเม็นเตเตอร์ สงสัย ไม่ได้เป็นตำรวจสอบสวน ไม่รู้เหรอท่าน ว่าพลิกศพสามัญที่ตายจากเหตุอาญา ถูกฆ่า ถูกรถชนตาย สำนวนพลิกศพทำเสร็จส่งรวมสำนวนอาญา หาไปยังข้าหลวงดอก งูเห่ากัดตายนั่่นปะไรต้องส่งไปข้าหลวง เปิด ป.วิ.อาญา ชัวร์ป๊าด

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น