ตรวจสุขภาพประจำปี สำคัญและจำเป็น

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้จัดให้มีการตรวจสุขภาพประจำปีแก่ข้าราชการตำรวจทุกท่าน ปีละ 2 ครั้ง เพื่อเป็นการส่งเสริม และรักษาสุขภาพของกำลังพล  โดยในปัจจุบันได้มอบหมายให้โรงพยาบาลตำรวจ เป็นผู้ดำเนินการตรวจ  โดยออกตระเวนตรวจสุขภาพตามโรงพักต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยทีมแพทย์และพยาบาลจาก รพ.ตร.   
     การตรวจสุขภาพนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง  โดยเราจะได้สมุดผลตรวจจาก รพ.ตร. ซึ่งจะบอกให้เราทราบว่ามีข้อบกพร่องใด ๆ และควรปฏิบัติตัวในเรื่องอาหาร และการออกกำลังกายอย่างไร   ข้าราชการตำรวจส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยสนใจ หรือใส่ใจในสุขภาพตนเอง  จะไปพบแพทย์เมื่อมีอาการป่วย บางครั้งก็จะเป็นอาการที่หนักหนาจนยากที่จะเยียวยารักษา
     การที่เรามีสุขภาพที่แข็งแรง จะสามารถทำให้ปฏิบัติงาน ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างดี  และสามารถดูแลครอบครัว หรือผู้อื่นได้  ดังนั้นจึงขอแนะนำการเตรียมตัวก่อนรับการตรวจสุขภาพ ดังนี้ครับ

ก่อนตรวจสุขภาพ
  • ไม่ควรอดนอน นอนดึก ดื่มสุราหรือกาแฟในคืนก่อนการตรวจสุขภาพ เนื่องจากจะทำให้ความดันโลหิตสูงกว่าที่เป็นจริง
  • ควรสวมใส่เสื้อที่สามารถพับแขนขึ้นได้สะดวก ไม่รัดแน่น เพื่อความสะดวกในการเจาะเลือด
  • ควรนั่งพักให้หายเหนื่อยก่อนตรวจวัดความดันโลหิต เพราะการเดินหรือขึ้นบันได จะทำให้ความดันโลหิตคลาดเคลื่อนได้(สูงกว่าปกติ)
  • กรอกข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็น อย่าได้ปกปิดเด็ดขาด เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา การแพ้ยา โรคประจำตัว ฯลฯ

การอดอาหารก่อนตรวจสุขภาพ
  • การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ต้องงดน้ำหรืออาหารก่อนการเจาะเลือด 8 ชม. และตรวจไขมันในเลือด (Cholesterol,Triglyceride, HDL, LDL)
  • ควรงดน้ำหรืออาหาร 12 ชม. หากกระหายน้ำมากให้จิบน้ำเปล่าได้เพียงเล็กน้อย
  • หลังจากการเจาะเลือดแล้วสามารถรับประทานน้ำและอาหารได้ทันที จากนั้นเข้ารับการตรวจรายการต่อไปได้
  • ควรตรวจสุขภาพในช่วงเช้า เพื่อไม่ให้ร่างกายอิดโรยเกินไป

เมื่อเจาะเลือดเสร็จแล้ว
  • ควรพับแขนเสื้อข้างที่เจาะเลือดบริเวณข้อพับไว้อยางน้อย 5-10 นาที ไม่คลึงหรือนวดบริเวณที่เจาะเลือดเพราะอาจจะทำให้เส้นเลือดแตกได้
  • ในกรณีที่มีรอยช้ำเขียวบริเวณที่เจาะเลือดแสดงว่าเส้นเลือดอาจจะแตก รอยช้ำดังกล่าวจะหายเองภายใน 1-2 สัปดาห์อาจทายาแก้ฟกช้ำ เช่น ฮีรูดอยด์ช่วยได้ แต่ไม่ควรคลึงบริเวณที่เส้นเลือดแตก

การเก็บปัสสาวะ อุจจาระ
  • ให้ถ่ายปัสสาวะช่วงแรกทิ้งไปก่อน แล้วค่อยเก็บตัวอย่างปัสสาวะช่วงกลาง และทิ้งปัสสาวะช่วงสุดท้ายไป
  • อุจจาระ เก็บเพียงเล็กน้อยใส่ขวดพลาสติก(ไม่ต้องเก็บเยอะ เพราะมันเหม็น ^^) ขั้นตอนนี้ยากมากที่จะไม่เลอะ แล้วแต่เทคนิคครับ ยังไงก็เช็ดให้สะอาดก่อนส่งให้เจ้าหน้าที่แล้วกัน
  • สุภาพสตรีที่อยู่ในช่วงมีประจำเดือนไม่ควรตรวจ หรือถ้าต้องการตรวจต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ

เอกเซเรย์ปอด
  • ในวันตรวจงดใส่เครื่องประดับต่างๆ ที่เป็นโลหะ
  • สุภาพสตรีงดใส่ชุดชั้นในที่เป็นโครงเหล็ก
  • ไม่ควรเอกซเรย์ หากไม่แน่ใจว่าตั้งครรภ์หรือไม่ หากสงสัยว่าจะมีการตั้งครรภ์ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนการเอกซเรย์
  • ทำตามคำแนะนำเจ้าหน้าที่
     เมื่อท่านได้สมุดรายงานผลตรวจสุขภาพแล้ว ก็อ่านคำแนะนำท้ายเล่ม แล้วปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดจะดีต่อตัวท่านเองที่สุด  และก็เก็บสมุดรายงานผลฯ เอาไว้ให้ดีครับ ไว้เปรียบเทียบปีถัดไป  รักษาสุขภาพกันทุกคนนะครับ

ความคิดเห็น

  1. 1.สำหรับประชาชนตรวจสุขภาพต้องเสียค่าใช้จ่ายไหมค่ะ แล้วถ้าต้องเสียเท่าไหร่ ค่ะ...
    2.ดิฉันเป้นคนต่างจังหวัดถ้าจะขอย้ายสถานที่รักษาพยาบาลเป้นที่นี้ได้ไหมค่ะ คือดิฉันเป้นนักศึกษามาเรียนกรุงเทพบ้านอยู่ จ.ยะลา เวลาเจ็บไข้ลำบากมากค่ะ ...เพราะไม่มีเงินค่ารักษาพยาบาลถ้าขอย้ายมาโรงบาลตำรวจนี้ได้ไหมค่ะ ต้องทำยังไงบ้าง..
    (กรุณาตอบกลับด้วยน่ะค่ะ)!!!

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. เพิ่งเห็น เดี๋ยวจะถามให้ครับ

      ลบ
    2. ตรวจสุขภาพเอง ... ชำระเงินเองครับ
      ย้ายรพ. ต้องไปแจ้งและทำเรื่องย้ายสิทธิ จะมีระยะเวลาว่าอีกกี่วันจะใช้สิทธิได้ เจ้าหน้าที่จะบอกเรา
      ที่ กทม. จะมีเฉพาะบาง รพ. ที่รับสิทธิบัตรทอง

      ลบ
  2. ผลการตรวจสุขภาพประจำปี จะทราบได้จากช่องทางไหนคะ

    ตอบลบ
  3. ผลตรวจสุขภาพประจำปีทำไมถึงรู้ผลช้าครับ ตั้งแต่เดือนสิงหาคม

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ตรวจร่างกายประจำปีเมื่อ 6 ส.ค.61 ยังไม่ทราบผลเลยคับ

      ลบ
  4. ลงทะเบียนไม่ได้
    ระบบบอกเลขบัตรประชาชนไม่ถูกต้อง

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น