ผบ.ตร.คนที่ 11 พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา

นับแน่วันที่ 1 ตุลาคม นี้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะเป็นยุคของ พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร. คนที่ 11  ที่จะนำพาสำนักงานตำรวจแห่งชาติก้าวไปในทิศทางที่เป็นความคาดหวังของประชาชน  ด้วยอายุราชการที่เหลืออีกถึง 5 ปี !!

ประวัติ  พล.ต.อ. จักรทิพย์ ชัยจินดา (ชื่อเล่น แป๊ะ) รอง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เกิดเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2502 

การศึกษา
  • จบการศึกษาจากโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย  
  • โรงเรียนนายร้อยตำรวจรุ่นที่ 36 (นรต.36)  
  • ปริญญาโทสาขาบริหารรัฐกิจ จากประเทศสหรัฐอเมริกา 
  • ศึกษาเพิ่มเติมหลักสูตรการสอบสวน (ATF-ILEA) และ หลักสูตร FBI, รัฐเนวาดา ประเทศสหรัฐอเมริกา 
การรับราชการ เริ่มต้นจากตำแหน่ง นายเวรผู้บังคับการประจำกรมตำรวจ สำนักงานกำลังพล และ สารวัตรแผนกสายตรวจรถยนต์และรถจักรยานยนต์ กองกำกับการสายตรวจ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2537-พ.ศ. 2538 ได้ย้ายเข้าสู่กองปราบปรามในตำแหน่งรองผู้กำกับ ในปี พ.ศ. 2539 ได้เป็นนายเวรอธิบดีกรมตำรวจ (พล.ต.อ.พจน์ บุณยะจินดา) จากนั้นได้ทำงานในตำแหน่งงานด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะงานด้านปราบปราม เช่น รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรสงคราม, รองผู้บังคับการกองตำรวจน้ำ, รองผู้บังคับการกองปราบปราม, ผู้บังคับการกองตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานแห่งชาติ (ผบก.ตม.ทอช.) เป็นต้น 

     โดย พล.ต.ท.จักรทิพย์ได้ชื่อว่าเป็นนายตำรวจมือปราบอีกคนหนึ่ง มีผลงานสำคัญ ๆ เช่น เป็นผู้เจรจาให้ปล่อยตัวประกันซึ่งเป็นผู้บัญชาการเรือนจำสมุทรสาคร กับกลุ่มนักโทษแหกคุกชาวพม่า ในปลายปี พ.ศ. 2543 ร่วมกับ พล.ต.ต.ภาณุพงศ์ สิงหรา ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 7 (ผู้ช่วย ผบช.ภาค 7-ตำแหน่งและยศในขณะนั้น) เป็นต้น 

     ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ซึ่งในอีก 6 วันต่อมา คือ ในวันที่ 7 ตุลาคม นั้นก็ได้เกิดเหตุการการสลายการชุมนุมหน้าอาคารรัฐสภาขึ้น โดยเป็นการสลายการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในการชุมนุม 193 วัน โดยตำรวจ ซึ่งในเหตุการครั้งนี้ พล.ต.ท.จักรทิพย์ได้แสดงความมีมนุษยธรรมโดยการถอดเสื้อของตนเองเข้าพยาบาลผู้ได้รับบาดเจ็บซึ่งเป็นฝ่ายพันธมิตรฯด้วย จนได้รับฉายาว่า "สุภาพบุรุษแก๊สน้ำตา" 

     จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2552 ได้ย้ายเป็นรักษาการ ผู้บัญชาการประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ทำหน้าที่ประสานงานสำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงมหาดไทย) ก่อนจะได้รับแต่งตั้งจากคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจนครบาลในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2553 สืบต่อจาก พล.ต.ท.สัณฐาน ชยนนท์ 

     ดำรงตำแหน่ง ผบช.น. 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 – 30 กันยายน พ.ศ. 2554  จากนั้นย้ายไปเป็น ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554 – 30 กันยายน พ.ศ. 2555  หลังจากรัฐประหารในเดือน พ.ค.2557 ได้รับคำสั่งจาก พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ รักษาการผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้ปฏิบัติหน้าที่รักษาการผบช.น.แทนที่ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ที่ได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่ ศูนย์ราชการพิเศษ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

     จนกระทั่งในปี 2557 ได้ขึ้นดำรงตำแหน่ง รอง ผบ.ตร. และล่าสุดในตำแหน่ง ผบ.ตร.คนที่ 11  ด้วยมติ ก.ต.ช. 5 - 0(ลงมติในค่ายทหาร)

     นอกเหนือจากการรับราชการตำรวจแล้ว พล.ต.ท.จักรทิพย์ ยังมีตำแหน่งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) และคณะกรรมการบริหารกิจการขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) อีกด้วย 





ข้อมูลส่วนตัว 

     พล.ต.ท.จักรทิพย์ มาจากครอบครัวที่มีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดี บิดาคือนายประณีต ชัยจินดา นักธุรกิจคนดังแห่งอ่างศิลา ชลบุรีมีกิจการค้าอาหารทะเลและนายหน้าค้าที่ดินระดับ วีไอพี.แห่งภาคตะวันออก จักรทิพย์มีภรรยาชื่อ ดร.บุษบา ชัยจินดา ทายาทเจ้าของมหาวิทยาลัยศรีปทุม ฐานะความเป็นอยู่จึงเข้าขั้นมีอันจะกิน มีทรัพย์สินเกือบพันล้านบาท แค่นั้นเอง

     พล.ต.ท.จักรทิพย์ฯ สูง 165 ซม. น้ำหนักประมาณ 65 กก. เมื่อแต่งเครื่องแบบแล้วจะพกพาอาวุธปืนขนาดต่าง ๆ พร้อมแม็กกาซีนบรรจุกระสุนและอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น กุญแจมือหรือไฟฉาย ติดตัวไว้เสมอ ซึ่งรวมกันทั้งหมดมีน้ำหนักประมาณ 8 กิโลกรัม จนได้รับฉายาจากบุคคลใกล้ชิดว่า "แป๊ะ 8 กิโล" และได้รับฉายาจากสื่อมวลชนเมื่อปลายปี พ.ศ. 2553 ว่า "น.1 อีซี่พาส" เนื่องจากติดยศ พลตำรวจโท (พล.ต.ท.) อย่างรวดเร็วและเป็นถึงผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ทั้ง ๆ ที่เพื่อนร่วมรุ่นบางคนยังเป็นแค่สารวัตรเท่านั้น 



ความคิดเห็น