ต้นแบบแนวทางพัฒนางานสอบสวน

เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2558 ที่ผ่านมา  สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้จัดอบรมการพัฒนางานสอบสวน , พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ ฯลฯ  ที่ ห้องรอยัล จูบิลี่ เมืองทองธานี  โดยมี ผบช. , ผบก. , หัวหน้าสถานีตำรวจ และหัวหน้างานสอบสวนทุกสถานี  เข้าร่วม  ในส่วนประเด็นการพัฒนางานสอบสวน  มี พล.ต.อ.วรพงษ์ ชิวปรีชา(ท่านย้อย) รอง ผบ.ตร. เป็นวิทยากร

     สำหรับเรื่องการพัฒนางานสอบสวนนี้ "ท่านย้อย" พล.ต.อ. วรพงษ์ ชิวปรีชา  เป็นหัวหน้าคณะทำงาน ลงพื้นที่ศึกษาด้วยตนเองในหลายจังหวัด  เรียกได้ว่าเป็นผลงานชิ้นสุดท้ายที่จะฝากเอาไว้ให้ ผบช.-ผบก. นำไปปรับปรุงพัฒนางานสอบสวนให้เป็นที่เชื่อมั่นของประชาชน

     ในส่วนของงานสอบสวน จากการสำรวจวิจัยของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  พบว่า สภ.เมืองนครสวรรค์  ได้รับความเชื่อมั่นจากผู้เสียหายที่มีต่อการปฏิบัติงานของพนักงานสอบสวน ประจำปี 2557  มากที่สุด อยู่ในระดับ ร้อยละ 90.3   และ ภ.9 ได้รับความเชื่อมั่นสูงสุดในระดับ บช.  ร้อยละ 83.3(ตามภาพด้านล่าง)


     สำหรับ สภ.เมืองนครสวรรค์ นั้นมีการตีโจทย์ปัญหาไว้อาทิ(ปรากฎตามเอกสารที่แจกในที่ประชุม)

  • ประชาชนต้องคอยพบ พงส. เป็นเวลานาน เนื่องจากติดคดีก่อนหน้า หรือ ตรวจที่เกิดเหตุ
  • พงส. ใหม่ อาจไม่มีความรู้ ความชำนาญเพียงพอ ขาดประสบการณ์  ขาดที่ปรุึกษา ทำให้เกิดความเครียด  ทำสำนวนไม่ทัน
  • เมื่อโยกย้าย การรับมอบสำนวนทำไม่ต่อเนื่อง
  • ประชาชนไม่เชื่อมั่นในการทำงานของพนักงานสอบสวน
     จึงได้จัดทีม พงส. ตามโครงสร้างดังรูปด้านล่างนี้  โดยให้มี สบ.4 อาวุโส เป็นหัวหน้างานสอบสวน และแบ่ง พงส. เป็น 4 ทีม โดยในแต่ละทีมจะมีทีมย่อย 2 ทีม  เพื่อสลับกันเข้าเวร


     แนวทางจัดทีมพนักงานสอบสวนเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวนี้ จะสามารถทำได้ในสถานีที่มีคดีมาก และพนักงานสอบสวนจำนวนมากพอที่จะจัดเป็นชุดได้  ส่วนโรงพักเล็ก ๆ ที่มี พงส.แค่ 3 - 4 คน  คงต้องปรับเป็นรูปแบบอื่นตามสภาพแวดล้อมของแต่ละพื้นที่  ในชุดหนึ่งอาจมี พงส.เวรฯ - จนท.คดี - ประจำวัน - พลขับ - วิทยุ - ร้อยเวรสืบสวน - ร้อยเวร ป. - สายตรวจเวร  และอาจเพิ่มหัวหน้างานสอบสวนในช่วงเวลาปกติ

     ซึ่งแนวทางนี้หัวหน้างานสอบสวน มีความสำคัญมาก  เพราะคือด่านหน้าสำหรับการรับเรื่องจากผู้เสียหาย  เป็นผู้วิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีว่าจะเข้าข้อกฎหมายใดหรือไม่  มีความสุขุมรอบคอบสูง  จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีจิตสำนึกในหน้าที่  ไม่ใช่ว่าเป็นหัวหน้างานแล้วจะสบาย  ไม่เข้าเวร เซ็นสำนวนอย่างเดียว  แบบนี้ไมไหวแน่ ๆ ครับ




     และตัวพนักงานสอบสวนเองต้องพูดจาภาษาดอกไม้  อธิบายมาก ๆ  ทำสำนวนให้เร็วทันใจผู้เสียหาย  เอาใจใส่และรายงานผลความคืบหน้าคดีให้ผู้เสียหายทราบเป็นระยะ   วางตัวให้เป็นกลาง  ศึกษาความรู้ให้ทันกฎหมายที่ออกมาใหม่ ๆ เสมอ  เพราะการร้องเรียนส่วนมากเกิดจากสาเหตุประมาณนี้แหละครับพี่น้อง  ต้องปรับที่ตัวเองเป็นหลักก่อน  เพราะประชาชนเขาไม่มีทางเลือกในการรับบริการทางคดีอาญา ยังไงก็ต้องมาหาตำรวจ  ทำให้เขาสุขไม่ได้ ก็ให้เขาทุกข์น้อยลงก็ยังดีครับ



อ่านรายละเอียดงานวิจัยเรื่อง ความเชื่อมั่นของผู้เสียหายที่มีต่อการปฏิบัติงานของพนักงานสอบสวน ประจําปีบัญชี 2557  ได้ที่นี่(คลิ๊ก)  



ปล. ต้องยกเครดิตการพัฒนางานสอบสวน สภ.เมืองนครสวรรค์ ให้กับ พล.ต.ต.สืบก์ศักดิ์  ชวาลวิวัฒน์ ผบก.ภ.จว.นครสวรรค์ และทีมงาน(พ.ต.อ.อรุณ  แตงนารา รอง ผบก.ฯ , พ.ต.อ.คณากร  รุ่งขจรกลิ่น และ พ.ต.อ.อำนาจ  โฉมฉาย ผกก.สภ.เมืองนครสวรรค์)ฃ
ปล.2  มีเอกสารที่เกี่ยวข้องมีประโยชน์หลายรายการ อาทิ พ.ร.บ.ใหม่ ๆ ซึ่งได้รับกันครบทุกสถานีนะครับ  อย่าลืมไปขยายความรู้ให้ รู้ทั่วกัน
ปล.3 ท่านย้อยฝากขอบคุณข้าราชการตำรวจที่ได้ฝาฟันอันตราย ความยากลำบากร่วมกันมา โดยเฉพาะช่วงปะทะกับม็อบต่าง ๆ  ขอฝากสำนักงานตำรวจแห่งชาติกับทุกท่านที่ยังรับราชการอยู่

ความคิดเห็น