เลื่อนแต่งตั้ง รอง ผบก.-สว. ไปปีหน้า !!

เมื่อวันที่ 25 พ.ย. 58 ที่ผ่านมา  ที่ประชุม ก.ตร. ได้มีมติขอขยายเวลาแต่งตั้งระดับ รอง ผบก. - สว. จากเดิมที่ต้องให้เสร็จสิ้นในเดือน พ.ย. 58 นี้  ไปเป็น 31 ธ.ค. 58  เนื่องจากมีข้อขัดข้องจากการ "เยียวยา" ตำรวจ  ที่ได้รับผลกระทบจากการแต่งตั้งโยกย้ายที่ไม่เป็นธรรมเมื่อปีที่ผ่านมา จากเรื่องป้ายโฆษณาป้อม จร.ในพื้นที่ บช.น./บช.ภ.1 การย้ายเครือข่าย พล.ต.อ.พงศ์พัฒน์ อดีต ผบช.ก.

     ซึ่ง อนุ ก.ตร.เกี่ยวกับการร้องทุกข์ ชุดที่ หน.คสช.ลงนามแต่งตั้งเมื่อ 19 ส.ค. 57 ได้มีมติให้เยียวยาตำรวจที่ร้องทุกข์กลับไปดำรงตำแหน่งเดิม หรือ สน./สภ./หน่วยงาน ที่มีปริมาณงานและคุณภาพงานไม่ต่ำกว่าเดิม ในโอกาสแรกที่มีการแต่งตั้ง จำนวน 75 ราย ทุก บช.ต้องรับไปดำเนินการแต่งตั้งทันที่ตามมติของ อนุ ก.ตร.ชุดนี้ เพราะในคำสั่งดังกล่าวได้ให้อำนาจหน้าที่ อนุฯ ชุดนี้มีอำนาจหน้าที่ทำการแทน ก.ตร.ในเรื่องเกี่ยวกับการร้องทุกข์ของ ขรก.ตำรวจ ทำให้ บช.ต่างๆที่ต้องรับตำรวจที่ได้รับการเยียวยากลับคืนสังกัด คือ เมื่อนำกลุ่มผู้เยียวยาเข้ามาดำรงตำแหน่งในสังกัด ทำให้ตำแหน่งไม่เพียงพอหรือจะเป็นแบบพอดี ไม่มีช่องทางให้"ผบช."ได้จัด'คน'ของตนเอง ลงในตำแหน่ง"ที่ต้องการ"เช่น บช.น.ต้องรับเยียวยา คืนสู่เหย้า 30 - 40 ราย  มีตำแหน่งว่าง...รองผบก.ว่าง 15/ผกก.ว่าง 22/รอง ผกก.ว่าง 30/สว. ว่าง 50 ซึ่งอาจจะดูมาก แต่พอนำมาจัดสรรแต่งตั้ง ต้องกันไว้ให้กลุ่มอาวุโส 33% /กลุ่มที่ได้รับการเยียวยากลับคืน /กลุ่มถือ"ตั๋ว" ผู้มีอำนาจตามระบบอุปถัมภ์

     เมื่อต้นเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา สกพ.กับ บช.ต่างๆได้หารือ สรุปข้อเสนอทางแก้ปัญหาคนล้นเก้าอี้ เตรียมเสนอ ก.ตร.ว่าหากการแต่งตั้งฯซึ่งผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุม ก.ตร. แล้ว แต่ถ้ามีผู้ยื่นร้องทุกข์ว่าได้รับการแต่งตั้งไม่เป็นธรรม และอนุ ก.ตร.ร้องทุกข์ มีมติให้เยียวยาอีก  จะขัดกันระหว่างมติ ก.ตร.และมติ อ.ก.ตร.ร้องทุกข์หรือไม่ทั้งหมดขึ้นอยู่กับ ผบ.ตร.จะแก้ปัญหาคนล้นเก้าอี้อย่างไร เพราะไม่ว่าจะเป็นข้อเสนอแต่งตั้งขึ้นข้ามหน่วยได้ ก็ต้องขอ"ยกเว้นหลักเกณฑ์" เข้า ก.ตร.เพื่อพิจารณาเป็นรายๆซึ่งจะทำให้ บช.ที่ต้องรับตำรวจที่ได้รับการเยียวยามาก สามารถให้..สมัครใจไปขึ้นนอกหน่วย เพื่อเปิดตำแหน่งว่างเพิ่มขึ้น แต่ก็ยากในการควบคุม เพราะเมื่อเปิดช่องก็จะมีเด็กเส้นกระโดดเข้ามาร่วมวงด้วย หากจะนำข้อเสนอมติขัดกันระหว่าง ก.ตร.กับอนุ ก.ตร.ร้องทุกข์ เข้า ก.ตร.พิจารณาก็เหมือนเป็นกันหักหน้าคนเซ็นคำสั่งให้เกิดทับซ้อน แล้วถ้าหารือแล้ว ก.ตร.เห็นว่ามติอนุ ก.ตร.ร้องทุกข์ขัดกับมติ ก.ตร.ใหญ่ แล้วมติที่ออกไปแล้วของ อนุก.ตร.จะทำอย่างไร เยียวยาต่อไป หรือยกเลิกมติอนุ ก.ตร.น่าจะเป็นเรื่องใหญ่ มีหวังได้ฟ้องร้องกันแหลก!! หรือถ้าจะเดินหน้าเยียวยากันตามปกติ บช.ก็จะต้องแบกกลุ่มได้รับการเยียวยาไปดำรงตำแหน่งตามมติ อนุ ก.ตร.ร้องทุกข์ แต่ก็จะจัด"คนลงตำแหน่ง"ไม่ได้ตามที่ต้องการ และที่สำคัญย้อนไปดู ผบช.ตำแหน่งหลัก ทุก บช.มี...ที่มาแข็งโป๊ก!!ชนิด'เหล็กเรียกพี่' Back Up...ไม่ธรรมดาทุกท่าน!!!!

     พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร. จะหาวิธีแก้ปัญหาอย่างไร เพื่อคืนความสุข/ความเป็นธรรม ให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาตามที่ตัวเองได้ประกาศไว้เมื่อเข้ารับตำแหน่ง**ผบ.ตร.**

     ถ้าการแต่งตั้งโยกย้าย เลื่อนมาเป็น 31 ธ.ค. 58  ก็แน่นอนว่า  ในช่วงปีใหม่นั้น  จะไม่มีการออกคำสั่งแต่งตั้งโยกย้าย  เพราะเจ้าหน้าที่ตำรวจ มีภารกิจในการรักษาความปลอดภัยในช่วงเทศกาลคริสต์มาส และปีใหม่  รวมทั้งการจัดการจราจร  ซึ่งเป็นงานหนักที่จะต้องให้คนเดิม ได้ปฏิบัติงานให้เรียบร้อย ลุล่วงไปก่อน  ถ้าเปลี่ยนม้ากลางศึก จะทำให้เกิดปัญหาได้  ดังนั้น  อย่างเร็วก็น่าจะเป็นกลางเดือนมกราคม 2559 โน่น  ซึ่งก็จะมีการประชุมสัปดาห์แรกหลักปีใหม่ ประมาณนั้น





     ส่วนเรื่องเยียวยากรณี บช.น. นั้น  เห็นว่า  ในทุกปี  หลาย ๆ บช. ก็จะมีคนร้องทุกข์ในเรื่องการแต่งตั้งไม่เป็นธรรม  จนมีปัญหาต้องเยียวยากันทุกปี  น่าจะมีบทกำหนดโทษ คนที่ออกคำสั่ง คือผู้บัญชาการต่าง ๆ ที่ "ถีบ" ผู้ใต้บังคับบัญชาในระดับต่าง ๆ ออกนอกหน่วย โดยที่เขาไม่สมัครใจ   เพียงเพราะจะเอา "คนของกู" เข้ามานั่งแทน   ต้องกำหนดโทษอย่างใดอย่างหนึ่ง  จะเป็นค่าเสียหายทางแพ่งก็ได้  เพราะต้องเดินทางจากบ้าน จากครอบครัวไปไกล  บรรดาเจ้านายจะได้รู้จักใช้อำนาจอย่างเป็นธรรมเสียที  เชื่อว่าพี่น้องตำรวจทั่วประเทศส่วนใหญ่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้แน่นอน

รึท่านผู้อ่านว่าไงก็คอมเมนต์ใต้บทความได้ครับ

ความคิดเห็น

  1. ข้าราชการตุลาการ มีกฎหมายชัดเจน จะสั่งย้าย สั่งช่วยราชการโดยเจ้าตัว ไม่ยอม ไม่ได้

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น