สีกากี : ที่มาและความหมาย

สีกากี( Khaki / ภาษาอังกฤษ ) ในเครื่องแบบตำรวจ และข้าราชการไทย นั้นมีที่มาตั้งแต่ช่วงที่ไทยเรามีการเจรจาการค้ากับประเทศตะวันตก  และถูกบีบให้มีการปรับปรุงให้เกิดความเป็นสากล ทันสมัย จึงได้รับอิทธิพลจากเครื่องแบบ วัฒนธรรมการแต่งกายอย่างตะวันตก โดยเฉพาะอังกฤษ  จึงได้นำสีกากีเข้ามาเป็นมาตรฐานในเครื่องแบบข้าราชการพลเรือน

     ส่วนสีกากีของตำรวจ นั้นเดิมจะคล้ายกับสีของข้าราชการพลเรือนแต่เข้มกว่าเล็กน้อย  แต่ในยุคหลัง ๆ นี้จะนิยมโทนสีเทา จนถึงเทาเข้มเกือบดำ อันเนื่องมาจากไม่มีระเบียบใดกำหนดไว้ว่าจะต้องใช้สีผ้าเบอร์ไหน(ในส่วนของทหารมีการกำหนดชัดเจน)  จึงทำให้ในการเข้าแถวรวมจะเห็นความแตกต่างได้ชัดเจน ไม่เป็นเอกภาพ  ในส่วนนี้ทาง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะต้องระดมสมองกำหนดความชัดเจนมา เมื่อได้เบอร์สีแล้วก็สั่งทอ ออกจำหน่าย ตร. เอง นำรายได้เข้ามูลนิธิก็ได้ เกิดประโยชน์ได้อีก

     สีเครื่องแบบสวนสนามของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ดูจะใกล้เคียงกับสีกากีดั้งเดิมของตำรวจที่สุดแล้ว(ตามรูป)

     บางกระแสก็มาแปลคำว่าสีกากี แท้จริงแล้วคือสีของดิน เหตุผลก็เพื่อให้ข้าราชการทำตัวติดดินอยู่กับประชาชน รับใช้แผ่นดิน รับใช้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งคำว่า "ภูมิพล" ก็แปลว่า "กำลังของแผ่นดิน"   สีของเครื่องแบบข้าราชการคือสีกากีคือ สีแห่งข้ารับใช้แผ่นดิน


     สีกากี(ไทยวิกีพีเดีย) มีที่มาจากทหารในกองทัพบริติชอินเดีย เป็นสีน้ำตาลปนเหลืองหรือสีสนิมเหล็ก ใกล้เคียงกับทีแทนหรือสีเบจ คำว่ากากีเป็นคำยืมจากฮินดีอูรดู ख़ाकी และภาษาอูรดู خاکی (ทั้งสองภาษามีความหมายว่า สีของดิน) ซึ่งได้รับมาจากภาษาเปอร์เซีย ی (khâk, มีความหมายว่า "ดิน") ซึ่งอังกฤษได้รับมาจากบริติชอินเดีย  จากทหารในกองทัพบริติชอินเดีย ใช้เป็นสีเครื่องแบบรวมถึงชุดอำพรางของกองทัพในหลายประเทศทั่วโลก ใช้เป็นชื่อของสีในอังกฤษตั้งแต่ปี ค.ศ. 1848





ความคิดเห็น