ปัญหาหนี้สินข้าราชการตำรวจชั้นผู้น้อย ดูจะเป็นปัญหาที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ หลายคนถูกสถาบันการเงินฟ้องร้องยึดทรัพย์สิน หรือฟ้องให้ตกเป็นบุคคลล้มละลายไปเลยก็มี เมื่อเป็นบุคคลล้มละลาย ก็สิ้นสภาพบุคคล และต้องออกจากราชการไป มันไม่ใช่แค่เรื่องเฉพาะตัว เพราะหนี้สินต่าง ๆ ก็มี "ผู้ค้ำประกัน" ซึ่งก็เป็นเพื่อนข้าราชการตำรวจด้วยกัน ผู้ค้ำจะต้องร่วมรับผิดชอบหนี้สินนั้น ๆ เรียกว่า ค้ำไขว้กันไป ไขว้กันมา คนหนึ่งล้ม ที่เหลือก็มีแนวโน้มจะล้มลงไปด้วยเช่นกัน
ธนาคารต่าง ๆ ที่มาปล่อยกู้ให้กับข้าราชการตำรวจ ก็ได้แก่ ธนาคารออมสิน , ธนาคารกรุงไทย , ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ซึ่งเมื่อเข้าต้องการลูกค้า ลูกหนี้ ผู้บริหารธนาคารเหล่านี้ก็ทำโครงการเข้าไปติดต่อกับ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในยุคก่อน ๆ คล้าย ๆ ทำ MOU , ให้หน่วยต่าง ๆ ประชาสัมพันธ์ ธนาคเหล่านี้ก็ให้วงเงินสูงถึง 1.5 - 2 ล้านบาท มากกว่าสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจในสมัยนั้น
ข้าราชการชั้นผู้น้อยก็เป็นเหมือนกันทุกที่แหละครับ มีให้กู้ตรงไหนก็เฮกันไปกู้ ไม่สามารถควบคุมการใช้จ่าย หรือนำเงินที่กู้มาไปสร้างประโยชน์ให้งอกเงยได้ เรียกได้ว่าไม่ค่อยมีวินัยทางการเงิน ปัจจุบันหลาย ๆ คนมีหนี้สินกับสถาบันการเงินต่าง ๆ อย่างน้อย 2 - 3 แห่ง อาทิ สหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจ , ธนาคารกรุงไทย , ธนาคารออมสิน , ธนาคารอาคารสงเคราะห์ , เช่าซื้อรถยนต์ , บัตรเครดิต , หนี้นอกระบบ ฯลฯ
ขณะนี้มีพี่น้องข้าราชการตำรวจตกอยู่ในความเสี่ยงจะถูกฟ้องร้องบังคับคดี หรือฟ้องล้มละลาย จำนวนไม่น้อย ดูจากเงินเดือนในหน่วย มีอย่างน้อย 10 % ที่มีเงินเดือนเหลือไม่ถึง 2,000 บาท !! คนเหล่านี้เหมือนระเบิดที่ไม่รู้ว่าจะระเบิดเมื่อไหร่ เมื่อระเบิดออกมาก็จะทำให้คนข้างเคียงต้องเดือดร้อนแน่ ๆ อาจระเบิดต่อกันเป็นลูกโซ่ คิดแล้วก็น่ากลัวนะครับ
ที่ผ่านมาธนาคารเหล่านี้ได้กำไรจากดอกเบี้ยไปไม่น้อยแล้ว พอมีปัญหาก็ไม่ได้ช่วยเหลือลูกหนี้แต่อย่างใด โดยใช้วิธีทางกฎหมายเพิ่มภาระให้ลูกหนี้เข้าไปอีก อาทิ
การฟ้องล้มละลาย ไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ กับทั้งเจ้าหนี้ และลูกหนี้ เพราะเจ้าหนี้ก็ไม่ได้เงินคืนแน่ ตำรวจจน ๆ อยู่แฟลต ไม่มีทรัพย์สินใดให้ยึด กลายเป็นหนี้เสีย ส่วนตำรวจในฐานะลูกหนี้ก็ต้องออกจากราชการ ไม่มีทางหาเงินส่งคืนธนาคารได้แน่ ๆ สรุปเจ็บทั้งคู่ จะยังรั้นฟ้องร้องต่อไปทั้ง ๆ ที่ไม่เกิดประโยชน์เพื่อ ?
ทางแก้ในกรณีนี้ระดับผู้บริหารสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะต้องเป็นผู้กู้ระเบิด ปลดล็อคให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา โดยเข้าไปเจรจาหาทางออกกับธนาคารต่าง ๆ โดยเฉพาะ ธ.กรุงไทย และ ธ.ออมสิน ขอให้เปิดโครงการพิเศษสำหรับข้าราชการตำรวจที่มีปัญหา โดยมีรายละเอียดอาทิ
เรื่องแบบนี้ ต้องขอความกรุณาท่าน พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร. หรือผู้บริหารระดับ ตร. ที่เห็นถึงปัญหาใหญ่ที่จะเกิดในอนาคตจากภาระหนี้สินล้นพ้นตัว เพราะตอนธนาคารเขามาติดต่อ เขาก็เข้าคุยกับ ผบ.ตร. นี่แหละ ถ้าจะให้หัวหน้าสถานีไปคุยกับผู้จัดการธนาคาสาขา ก็คงไม่มีประโยชน์ เพราะไม่มีอำนาจตัดสินใจ ก็ต้องระดับ ผบ.ตร. นี่แหละครับ ถึงจะผลักดันวาระอย่างนี้ให้เกิดขึ้นได้
ปล. ควรบรรจุวิชาบริหารจัดการการเงิน ระดับบุคคล เข้าไปใน รร.นรต. และ ศฝร. ต่าง ๆ ด้วยนะครับ เป็นการสร้างภูมิคุ้มกัน และวางแผนทางการเงินไม่ให้มีปัญหาในอนาคต
ปล.2 แน่นอนว่าปัญหาหนี้สินตำรวจส่วนหนึ่งมาจากการไม่มีวินัยทางการเงิน ไม่มีการวางแผนการเงินที่ถูกต้อง แต่อีกไม่น้อยมันก็เกิดขึ้นโดยสถานการณ์พาไปบ้าง ความจำเป็น หรือความซวยบ้าง ก็ว่ากันไป
ธนาคารต่าง ๆ ที่มาปล่อยกู้ให้กับข้าราชการตำรวจ ก็ได้แก่ ธนาคารออมสิน , ธนาคารกรุงไทย , ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ซึ่งเมื่อเข้าต้องการลูกค้า ลูกหนี้ ผู้บริหารธนาคารเหล่านี้ก็ทำโครงการเข้าไปติดต่อกับ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในยุคก่อน ๆ คล้าย ๆ ทำ MOU , ให้หน่วยต่าง ๆ ประชาสัมพันธ์ ธนาคเหล่านี้ก็ให้วงเงินสูงถึง 1.5 - 2 ล้านบาท มากกว่าสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจในสมัยนั้น
ข้าราชการชั้นผู้น้อยก็เป็นเหมือนกันทุกที่แหละครับ มีให้กู้ตรงไหนก็เฮกันไปกู้ ไม่สามารถควบคุมการใช้จ่าย หรือนำเงินที่กู้มาไปสร้างประโยชน์ให้งอกเงยได้ เรียกได้ว่าไม่ค่อยมีวินัยทางการเงิน ปัจจุบันหลาย ๆ คนมีหนี้สินกับสถาบันการเงินต่าง ๆ อย่างน้อย 2 - 3 แห่ง อาทิ สหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจ , ธนาคารกรุงไทย , ธนาคารออมสิน , ธนาคารอาคารสงเคราะห์ , เช่าซื้อรถยนต์ , บัตรเครดิต , หนี้นอกระบบ ฯลฯ
ขณะนี้มีพี่น้องข้าราชการตำรวจตกอยู่ในความเสี่ยงจะถูกฟ้องร้องบังคับคดี หรือฟ้องล้มละลาย จำนวนไม่น้อย ดูจากเงินเดือนในหน่วย มีอย่างน้อย 10 % ที่มีเงินเดือนเหลือไม่ถึง 2,000 บาท !! คนเหล่านี้เหมือนระเบิดที่ไม่รู้ว่าจะระเบิดเมื่อไหร่ เมื่อระเบิดออกมาก็จะทำให้คนข้างเคียงต้องเดือดร้อนแน่ ๆ อาจระเบิดต่อกันเป็นลูกโซ่ คิดแล้วก็น่ากลัวนะครับ
ที่ผ่านมาธนาคารเหล่านี้ได้กำไรจากดอกเบี้ยไปไม่น้อยแล้ว พอมีปัญหาก็ไม่ได้ช่วยเหลือลูกหนี้แต่อย่างใด โดยใช้วิธีทางกฎหมายเพิ่มภาระให้ลูกหนี้เข้าไปอีก อาทิ
- งดส่งเงินต้น จ่ายแต่ดอกเบี้ย เป็นเวลา 2-3 ปี พอพ้นระยะก็กลับมาจ่ายเหมือนเดิม บวกกับต้นที่ไม่ได้จ่ายในช่วงดังกล่าวเข้าไปด้วย มันไม่ได้เป็นการช่วยเหลือ เพราะธนาคารก็ยังคงได้กำไรจากดอกเบี้ยเท่าเดิม
- คิดเงินสัพเพเหระบวกจนเกินเงินต้น เช่น ค่าฟ้องร้อง , ค่าทนาย , ค่าผิดนัด , ดอกเบี้ยผิดนัด ฯลฯ หน้าเลือดจริง ๆ ดูจากส่วนต่างของดอกเบี้ยเงินฝาก กับดอกเบี้ยเงินกู้ แม่งจะเอากำไรไปถึงไหน เอาเปรียบผู้บริโภค
การฟ้องล้มละลาย ไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ กับทั้งเจ้าหนี้ และลูกหนี้ เพราะเจ้าหนี้ก็ไม่ได้เงินคืนแน่ ตำรวจจน ๆ อยู่แฟลต ไม่มีทรัพย์สินใดให้ยึด กลายเป็นหนี้เสีย ส่วนตำรวจในฐานะลูกหนี้ก็ต้องออกจากราชการ ไม่มีทางหาเงินส่งคืนธนาคารได้แน่ ๆ สรุปเจ็บทั้งคู่ จะยังรั้นฟ้องร้องต่อไปทั้ง ๆ ที่ไม่เกิดประโยชน์เพื่อ ?
ทางแก้ในกรณีนี้ระดับผู้บริหารสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะต้องเป็นผู้กู้ระเบิด ปลดล็อคให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา โดยเข้าไปเจรจาหาทางออกกับธนาคารต่าง ๆ โดยเฉพาะ ธ.กรุงไทย และ ธ.ออมสิน ขอให้เปิดโครงการพิเศษสำหรับข้าราชการตำรวจที่มีปัญหา โดยมีรายละเอียดอาทิ
- ขอให้งด คิดดอกเบี้ย 5 ปี โดยจะส่งชำระเงินต้นรายเดือนแบบหักบัญชี(ไม่ให้ตัวตำรวจลูกหนี้ นำเงินไปชำระเอง) ทำแบบนี้จะลดเงินต้นไปลงได้มาก เมื่อครบ 5 ปี จะทำให้ดอกเบี้ยลดลงไปด้วย เมื่อกลับมาผ่อนชำระตามปกติ
- เมื่อครบ 5 ปี ขอให้คิดดอกเบี้ยในอัตราพิเศษ อาจเป็น 3 เท่า ของดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์
เรื่องแบบนี้ ต้องขอความกรุณาท่าน พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร. หรือผู้บริหารระดับ ตร. ที่เห็นถึงปัญหาใหญ่ที่จะเกิดในอนาคตจากภาระหนี้สินล้นพ้นตัว เพราะตอนธนาคารเขามาติดต่อ เขาก็เข้าคุยกับ ผบ.ตร. นี่แหละ ถ้าจะให้หัวหน้าสถานีไปคุยกับผู้จัดการธนาคาสาขา ก็คงไม่มีประโยชน์ เพราะไม่มีอำนาจตัดสินใจ ก็ต้องระดับ ผบ.ตร. นี่แหละครับ ถึงจะผลักดันวาระอย่างนี้ให้เกิดขึ้นได้
ท่านไม่ทำ แล้วใครจะทำ ?
ปล. ควรบรรจุวิชาบริหารจัดการการเงิน ระดับบุคคล เข้าไปใน รร.นรต. และ ศฝร. ต่าง ๆ ด้วยนะครับ เป็นการสร้างภูมิคุ้มกัน และวางแผนทางการเงินไม่ให้มีปัญหาในอนาคต
เครื่องหมายหลักสูตร... การกู้แบบพิเศษขั้นสูง |
ผบ.ตร. รีบช่วย ตำรวจผู้น้อย
ตอบลบด้วยครับ
ไม่นานก็คงออกตามกันไป
ตอบลบ