พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร.คนที่ 9

เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2555  น.ส.ยิ่งลักษณ์  ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ(ก.ต.ช.) ได้ประชุมพิจารณาแต่งตั้งให้ พล.ต.อ.อดุลย์  แสงสิงแก้ว รอง ผบ.ตร. เป็น ผบ.ตร.คนใหม่ ต่อจาก พล.ต.อ.เพรียวพันธ์  ดามาพงศ์ ผบ.ตร.คนปัจจุบัน ที่จะเกษียณอายุราชการในเดือนกันยายนนี้  ด้วยมติที่ประชุมเป็นเอกฉันท์ 10 - 0

ประวัติโดยย่อ พล.ต.อ.อดุลย์  แสงสิงแก้ว
เกิดเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ.2497  ที่อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม  เป็นบุตรชายคนเดียวในจำนวนพี่น้อง 7 คน มีชื่อเล่นว่า อู๋
สมรสกับนางอรัญญา  อรัณยกานนท์
การศึกษา  โรงเรียนอนุบาลนครพนม , โรงเรียนสุนทรวิจิตร , โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย จ.นครพนม , โรงเรียนเทเวศร์ศึกษา กทม. และ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ(นรต.รุ่นที่ 29) , ปริญญาโทด้านพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ , โรงเรียนเสนาธิการทหารบก หลักสูตรฝ่ายอำนวยการ , จบวิทยาลัยเสนาธิการทหารรุ่นที่ 33 , วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรรุ่นที่ 42 , จบหลักสูตรมินิครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , หลักสูตรความเป็นเลิศของนักบริหาร มธ. สถาบันวิทยาลัยตลาดทุนรุ่น 5
ตำแหน่งปัจจุบัน :
1 ตุลาคม 2554 เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
ประวัติการรับราชการ
16 พฤศจิกายน 2531 รองผู้กำกับการอำนวยการ กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 1
16 ธันวาคม 2532 รองผู้กำกับการ 2 กองบังคับการสนับสนุนตำรวจตระเวนชายแดน
5 มิถุนายน 2534 อาจารย์วิชาสังคมศาสตร์ ภาควิชาสังคมศาสตร์ กองกำกับการ 2 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
1 ตุลาคม 2534 อาจารย์วิชาทหารและการฝึก ภาควิชาทหารและการฝึก กองกำกับการ 2 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
2 ตุลาคม 2535 รองผู้บังคับการ กองบังคับการวิชาการ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
16 เมษายน 2540 รองผู้บังคับการกองแผนงาน 2
2 ตุลาคม 2540 ผู้บังคับการกองแผนงาน 1
2 ตุลาคม 2541 ผู้บังคับการตำรวจจราจร
2 ตุลาคม 2543 ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
1 ตุลาคม 2545 รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
1 ตุลาคม 2547 ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 3
30 มิถุนายน 2548 ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9
1 ตุลาคม 2549 ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ปป.3) รับผิดชอบกำกับดูแลการบริหารราชการ สั่งการและปฏิบัติราชการแทนในการป้องกันและปราบปรามอาชกรรมของตำรวจภูธรภาค 9)(และควบตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9)
25 พฤศจิกายน 2552 ที่ปรึกษา (สบ 10) (ด้านความมั่นคงและกิจการพิเศษ)
1 ตุลาคม 2553 รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
1 ตุลาคม 2554 เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
ตำแหน่งอื่นๆ :
2 ธันวาคม 2545 คณะที่ปรึกษาฝ่ายวางแผนยุทธศาสตร์ กรุงเทพมหานคร
21 กุมภาพันธ์ 2546 นายตำรวจราชสำนักเวร
22 กันยายน 2549 กรรมการข้าราชการตำรวจ
11 ตุลาคม 2549 สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สมัยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข)
12 ธันวาคม 2549 กรรมาธิการการมีส่วนร่วมของประชาชน
19 พฤศจิกายน 2551 กรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
17 มีนาคม 2552 กรรมการองค์การตลาด
21 กุมภาพันธ์ 2552 นายตำรวจราชสำนักเวร
19 มีนาคม 2553 นายตำรวจราชสำนักพิเศษ
1 ตุลาคม 2553 กรรมการข้าราชการตำรวจโดยตำแหน่ง
11 ตุลาคม 2554 กรรมการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ยศหรือขั้น :
2 ตุลาคม 2540 พลตำรวจตรี
1 ตุลาคม 2547 พลตำรวจโท
2 พฤศจิกายน 2552 พลตำรวจเอก
เครื่องราช :
ปี 2526 รางวัลตำรวจดีเด่น
ปี 2527 คนไทยตัวอย่าง ของมูลนิธิธารน้ำใจ เพื่อนร่วมรุ่น :
นรต.29 เพื่อนร่วมรุ่น ที่มีชื่อเสียง อาทิ
1. พล.ต.ท.วัชพล ประสารราชกิจ
2. พล.ต.ท.พิจาร จิตติรัตน์
3. พล.ต.ต.สุวัฒน์ จันทร์อิทธิกุล
4. พล.ต.ต.สมพงษ์ คงเพชรศักดิ์
วปอ.42 ที่เป็นที่รู้จัก อาทิ
1. พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน
2. พล.ท.ขวัญชาติ กล้าหาญ
ทั้งนี้ พล.ต.อ.อดุลย์ เคยผ่านงานสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และรัฐบาลปัจจุบันได้มอบหมายให้เป็น เลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) เพื่อวางระบบแก้ปัญหายาเสพติด โดยยังรั้งเก้าอี้ รอง ผบ.ตร. เอาไว้ด้วย
ที่มีของข่าว www.thaisituation.com

ความคิดเห็น