ท่านผู้ใหญ่ทั้งหลายใน ตร. เคยกล่าวเอาไว้ว่า สถานีตำรวจคือหัวใจของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ , เป็นจุดแตกหัก , มีความสำคัญ ฯลฯ เชื่อว่าเพื่อนตำรวจทั้งหลายคงเคยได้ยินกันมาบ้างแล้ว และบางคนก็คงคิดในใจว่า "หึ หึ ใช่สิ กรูกำลังแตก กำลังหักอยู่เนี่ย"
กล่าวคือ ปัญหาข้อขัดข้องในการบริหารงานสถานีมีมากมาย ทั้งกำลังพล วัสดุ อุปกรณ์ งบประมาณ ซึ่งปัญหาดังกล่าวนั้น เป็นปัญหาในแบบคลาสสิก อมตะนิรันดร์กาล ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ดีอย่างที่ควรจะเป็น
ตัวอย่างที่ 1 กรณีน้ำมันเชื้อเพลิง ที่ได้รับจัดสรร ไม่มีโรงพักไหนที่ได้รับการจัดสรรอย่างเพียงพอ หากจะต้องออกตรวจตามแบบ ตามวงรอบ ที่เทวดากำหนด ในขณะที่ภารกิจอื่น ๆ ที่ต้องใช้น้ำมัน เช่น ไปคุมโรงสี , ไปประชุม , ส่งสำนวน , ส่งผู้ต้องหา ฯลฯ
ตัวอย่างที่ 2 โครงการต่าง ๆ ของผู้บังคับบัญชา ที่สั่งการมาให้ดำเนินการ โดยใช้งบปกติของหน่วย ไอ้งบปกติของหน่วยนี่มันมีแค่ไม่กี่อย่าง เช่น งบวัสดุอุปกรณ์(ซื้อกระดาษ หมึกพิมพ์ ยังไม่พ้น 4 เดือนแรก ก็งบหมดแล้ว) , เบี้ยเลี้ยง ซึ่งน้อยอยู่แล้ว ยังจะให้เอามาแปลงผิดประเภทอีก มันก็กระทบต่องานปกติด้านอื่น ๆ ไปด้วย เช่น ในสมัย พล.ต.อ.วิเชียรฯ ผบ.ตร. สั่งให้พิมพ์อิงค์เจ็ทภาพประกวดได้รางวัล ขนาดใหญ่มาก ติดหน้าโรงพัก และหน้าสายตรวจ โดยสั่งมาแบบต้องรายงานพร้อมภาพถ่ายใน 3 - 4 วัน ทุกโรงพักก็ทำกันทั้งที่ไม่มีงบห่าอะไร ก็ไปร้องขอ(ไถ)เอกชนตามเคย ขนาดที่กำหนดก็ใหญ่ซะจนแขวนหน้าโรงพักแปลนเก่าที่เป็นอาคารไม้ ไม่ได้ ทีมงาน ผบ.ตร. สมัยนั้น คงไม่เคยเห็นโรงพัก ตจว. อยู่แต่บนหอคอยงาช้าง เห็นแต่โรงพักที่เป็นตึกในนครบาล แต่ที่แสบทรวงไปกว่านั้นคือ หลังจากสั่งมาได้ 3 วัน มันก็สั่งยกเลิก แล้วไอ้ที่ทำไปแล้วล่ะ ? (เพิ่มเติม : ไฟล์ภาพที่ส่งมาให้พิมพ์ เมื่อนำไปพิมพ์ตามขนาดยักษ์ที่สั่งมา ปรากฎว่าภาพแตก ไม่ชัดอีก บางคนยังบ่นให้ได้ยินว่า "สั่งโง่ ๆ ไม่พอ มันยังส่งไฟล์โง่ ๆ มาอีก")
ตัวอย่างที่ 3 การจัดสรรกำลังพล จะเห็นได้ว่ากำลังพลเกือบทุกโรงพักขาดแคลน ได้ที่พอจะเข้าท่าเข้าทางหน่อยก็ถูกดึงตัวไปช่วยราชการ พอนักเรียนนายสิบจบใหม่ แทนที่จะจัดลงโรงพัก ดันเอาไปลงที่กองบัญชาการเป็นร้อยคน ไม่รู้คิดได้ไง คนล้นงาน เห็นตอนมาตรวจงานที่โรงพัก ไม่มีหน้าที่อะไร แค่ถือกล้องถ่ายรูป ยังมีตั้ง 2 คน
จะเห็นได้ว่า หากผู้บังคับบัญชา ที่ไม่เคยสัมผัสงานที่สถานีตำรวจแล้ว จะมีกรอบความคิดที่แปลกแยก และไม่คิดถึงสภาพความเป็นจริง ข้อจำกัดต่าง ๆ ของผู้ปฏิบัติ บางทีสั่งมาแบบเอาหน้าออกสื่อ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บังคับบัญชาระดับต่าง ๆ จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจในงานของตำรวจจริง ๆ เช่น หากจะเป็นผู้บังคับการจังหวัด ผู้บัญชาการตัวเลข หรือ ผบ.ตร. ก็ควรจะต้องผ่านงานบนสถานีตำรวจ หรือจะให้ดีก็ควรจะเคยเป็นหัวหน้าสถานีตำรวจมาก่อนด้วย จะได้รู้ว่า ไอ้จุดแตกหัก หรือหัวใจของ สตช. เขาอยู่ เขาทำงานกันอย่างไร ไม่ใช่ประเภทกระโดดไปเป็นนายเวรฯ สลับไป สลับมา พวกนั้นเป็นได้แค่ ขันที ไม่ใช่แม่ทัพ จำไว้
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น