ตามหนังสือบันทึกข้อความของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ลงวันที่ 9 มกราคม 2556 เรื่อง การใช้หมวกของข้าราชการตำรวจสำหรับประกอบเครื่องแบบปกติเสื้อเชิ้ตคอพับกากี เพื่อความชัดเจน เป็นแนวทางเดียวกันให้ถือปฏิบัติดังนี้
- หมวกของข้าราชการตำรวจ ตามปกติให้ใช้หมวกทรงหม้อตาลสีเดียวกับเสื้อ สำหรับข้าราชการตำรวจหญิงให้ใช้หมวกแก๊ปทรงอ่อนพับปีกสีเดียวกับเสื้อเช่นเดียวกัน
- หมวกแก๊ปทรงอ่อน ให้ใช้ในการฝึก หรือการปราบปรามโจรผู้ร้าย หรือการปฏิบัติราชการสนาม หรือการปฏิบัติราชการอื่นตามที่ ตร. สั่งการเป็นกรณีไป
- หมวกหนีบ ให้ใช้เมื่อแต่งเครื่องแบบปกติเสื้อเชิ้ตคอพับกากี และในโอกาสที่ไม่ได้มีระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น เว้นแต่ไม่ให้ใช้ในโอกาส ดังนี้
- คุมหรือประจำแถวกองเกียรติยศ
- งานพิธีทางราชการและตามหมายกำหนดการ
- ผู้บังคับบัญชาตำแหน่งตั้งแต่ ผกก. หรือตำแหน่งเทียบเท่าขึ้นไป สั่งไม่ให้ใช้
- หมวกทรงอ่อนสักหลาดสีดำ(แบเร่ต์) ให้ใช้ในการปฏิบัติการพิเศษ ภารกิจควบคุมฝูงชน และการเดินทางของผู้บังคับบัญชาเพื่อความคล่องตัว ทั้งนี้ โดยให้ใช้อาร์มรองรับตราหน้าหมวกทำด้วยผ้าสีแดงเลือดหมู สำหรับหน่วยงานหรือข้าราชการตำรวจที่ได้รับอนุญาตจาก ตร. ให้ใช้หมวกดังกล่าวเป็นกรณีพิเศษไว้แล้ว ก็ให้ปฏิบัติตามนั้น
สรุปว่า "หมวกแบเร่ต์" ที่ดูเหมือนจะให้ตำรวจทั่วไปได้ใช้กันนั้น จะไม่เป็นเช่นนั้นแล้ว ตามหนังสือนี้ กลายเป็นว่าตำรวจชั้นผู้น้อยตามโรงพักจะไม่ได้ใช้แล้ว ทั้ง ๆ ที่มันมีประโยชน์ เกิดความคล่องตัวอย่างมาก แบบนี้ตำรวจชั้นผู้น้อยจะมองได้ว่าเจ้านายกีดกัน ไม่ให้เขาได้ใช้ เพราะดูเผิน ๆ แล้วหมวกแบเร่ต์ของสัญญาบัตร - ชั้นประทวนแทบไม่แตกต่างกัน เจ้านายกลัวเหมือนลูกน้อง กลายเป็นใจแคบไป ส่วนคนที่ลงทุนซื้อกันมาแล้ว ทั้งหมวกและเข็มขัดถัก(ประมาณพันบาท) ก็เซ็งซิครับ ... เจ้านาย
ปล. เจ้านายลองใส่หมวกหม้อตาล พกปืน วิ่งไล่จับคนร้ายดูบ้างหรือยัง ?
บทความที่เกี่ยวข้อง การสวมหมวกเบเร่ต์ ที่ถูกต้อง , หมวกเบเร่ต์ในเครื่องแบบตำรวจ , หน้าหมวกตำรวจ : ประวัติและความเป็นมา
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น