สรุปประเด็นการสัมมนา การปฏิรูปสำนักงานตำรวจแห่งชาติ !!

ประเด็นการอภิปรายเรื่องการปฏิรูปสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 13 ม.ค.58 คณะกรรมาธิการการกฎหมาย กระบวนการยุติธรรมและกิจการตำรวจ สนช. ณ อาคารรัฐสภา 2

พล.ต.ท.ปัญญา เอ่งฉ้วน ผบช.กมค.
     -การปฏิรูปตำรวจ ต้องปรับทัศนคติก่อน. คนในต้องเปิดใจ คนนอกต้องรับฟัง การปฏิรูปต้องทำให้ดีขึ้น เข้าใจตรงกันก่อน
     -การเปลี่ยนแปลงของ ตร.มีวิวัฒนาการปี 2521 แยกตำรวจออกจากพลเรือน 2541 ตั้งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 2545 ปฏิรูประบบราชการ 2547 ใช้ พรบ.ตำรวจ
     -การโอนภารกิจปัญหาอยู่ที่ความพร้อมของหน่วยที่จะรับโอน. 
     -ตำรวจเป็นหน่วยงานที่มีกำลังพลกระจายอยู่ทุกตำบล รัฐมักใช้ตำรวจปฏิบัติภารกิจโดนไม่ต้องตั้งหน่วยงานใหม่ กระทรวงอื่นมีงบแต่ไม่มีคน 
     -งานอื่นที่โอนไปแล้วก็ยังใช้เจ้าหน้าที่ตำรวจ เช่น dsi ป.ป.ช. ก็ยังต้อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจไปร่วม
     -ภารกิจที่จะโอน หน่วยอื่นอยากได้เฉพาะที่มีผลประโยชน์ เช่น งานทะเบียน งานขออนุญาต การเปรียบเทียบปรับ เป็นต้น
     -การกระจายอำนาจ มีข้อจำกัดเพราะ ผบ.ตร.มีฐานะต้องรับผิดชอบเป็นหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม และใช้อำนาจของปลัดกระทรวงด้วย ดังนั้น ผบ.ตร.ยังต้องรับผิดและรับชอบด้วย  ปัญหาจะแก้ด้วยการเป็นนิติบุคคล 


วันชัย สอนศิริ
     -ขณะนี้มีการพิจารณาปฏิรูปทั้งตำรวจ อัยการ ศาล กกต. ป.ป.ช.ศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวในนามคณะกรรมาธิการ 
     -แนวทางการปฏิรูปตำรวจของคณะกรรมาธิการ
          1.ปัญหาตำรวจถูกแทรกแซงจากการเมือง ใช้ตำรวจเป็นเครื่องมือทางการเมือง จะต้องทำให้ตำรวจเป็นอิสระจากการเมือง การแต่งตั้งโยกย้ายเป็นอิสระ
          2.กระจายอำนาจการบริหารงานตำรวจ หัวใจตำรวจคือโรงพัก ทำให้ประชาชนมีส่วนร่วม
          3.ปรับปรุงโครงสร้างองค์การให้เหมาะสม
          4.ตัดโอนภารกิจที่ไม่ใช่ภารกิจตำรวจ
     -สิ่งเร่งด่วนที่ควรดำเนินการ ควรลดขนาดองค์กร ลดภารกิจ ทำให้สายการบังคับบัญชาสั้นลง ทอนให้สั้นลง มีส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคไม่ต้องให้อำนาจเข้ามาถึง ผบ.ตร. 
     -ข้อมูลตำรวจที่ได้จากอดีตข้าราชการ กับข้าราชการตำรวจปัจจุบัน มักไม่ตรงกัน

พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ 
     -ทำให้ตำรวจกลับมาเชื่อมั่นในระบบคุณธรรม
     -ต้องมีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ รัฐต้องลงทุน 
     -ทำให้ตำรวจมีจิตวิญญาณในการปฏิบัติหน้าที่ ตำรวจต้องมีวินัยแต่ก็ต้องมีอิสระในการปฏิบัติหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย
     -ตำรวจต้องเป็นพันธมิตร partnership กับประชาชน
     -การกระจายอำนาจต้องทำให้หน่วยงานตำรวจเป็นนิติบุคคล หัวหน้าหน่วยต้องเป็นผู้รับผิดและรับชอบ ตั้งงบประมาณเอง ถูกฟ้องเอง บริหารเอง กระจายอำนาจลงไป ปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวหน้า ประชาชนตรวจสอบได้
     -การแก้ปัญหากำลังพลขาดแคลน ต้องมีกำลังพลทางเลือก ตำรวจเกณฑ์ ใช้ พรบ.รปภ.เอกชน พรบ.ไกล่เกลี่ยคดีอาญา
     -การปฏิรูปควรดำเนินการไปพร้อมๆกันหลายด้านทั้งเรื่องโครงสร้าง

พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผบ.ตร.
     น้อมรับการปฏิรูปเปลี่ยนแปลง ในสิ่งที่จะทำให้ดีขึ้น ที่สำคัญการปฏิรูปให้ประชาชนได้รับประโยชน์ ควรถามเพื่อนข้าราชการตำรวจด้วย ผู้ปฏิบัติรู้ดีที่สุดว่าควรปรับเปลี่ยนอย่างไร การลอกเลียนประเทศอื่น ต้องคำนึงถึงสภาพประเทศเราเอง ประเทศเหล่านั้นพัฒนามาดีกว่าเรา เรายังมีความจำเป็นด้านความมั่นคง ปัญหาชายแดน หากกระจายอำนาจสุดโต่ง อาจกระทบต่อเรื่อง single command ผมเป็นคนแรกที่ประกาศว่าไม่ต้องการให้ตำรวจรับส่วย ปัญหาส่วยไม่ได้อยู่ที่ตำรวจ แต่เป็นเรื่องผีเน่ากับโลงผุ ตำรวจก็อยากรับ ประชาชนก็อยากให้





การรับฟังความคิดเห็นช่วงบ่าย 13 ม.ค.58 

ดร.วิชช์ จีระแพทย์ ผู้แทนอัยการสูงสุด
     1.กระจายเป็นนิติบุคคล 9 หน่วย (9ภาค) มีหัวหน้ายศ พล.ต.อ.
     2.กำหนดสัดส่วนงบประมาณตำรวจให้ชัดเจน เป็นร้อยละของงานมั่นคง
     3.ปรับโครงสร้าง ก.ตร. ประธานต้องมาจากการเลือกตั้งจากตำรวจ เป็นผู้ที่พ้นจากตำแหน่งมานาพอสมควร ห้ามหาเสียง 
     4.การแก้ไข ป.อาญา เพิ่ม ม.157/1 บัญญัติว่าผู้ใดเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่น ได้ตำแหน่งโดยมิได้เป็นหลักคุณธรรมจริยธรรม ความรู้ความสามารถ มีโทษเท่า ม.157 

ปรีชา บุตรศรี
     1.การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น กต.ตร.ไม่ work เพราะคนที่เชิญมา ไม่กล้าให้ความเห็น การมีส่วนร่วมควรเป็น "สภาพลเมือง" ทำหน้าที่ให้ความเห็นข้อเสนอแนะแก่สภาท้องถิ่น 
     2.ปัญหาการถ่ายโอนภารกิจ ความไม่พร้อมของหน่วยที่จะรับโอนจะต้องแก้ไขโดย สร้างกระบวนการขั้นตอนในการถ่ายโอน ตำรวจเป็นพี่เลี้ยง กำหนดเงื่อนระยะเวลา ออกกฎหมายบังคับให้มีการถ่ายโอน
     3.ควรทบทวนการแก้ไข ป.วิ.อาญา การมีความเห็นแย้งความเห็นพนักงานอัยการ. ที่แก้ไขเป็นอำนาจของ ผบช.

พล.ต.ท.บริหาร เสี่ยงอารมณ์
     -งานที่จะโอนควรมีการประเมินงานที่เคยโอนไปแล้วว่ามีประสิทธิภาพหรือมีข้อขัดข้องอย่างไร ด้วย

พล.ต.ต.มานิตย์ จำลองรักษ์ รอง ผบช.ภ.7
     -การพิจารณามีความเห็นแย้งพนักงานอัยการของ ผบช. ตำรวจมีการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณา

พ.ต.อ.ศรศักดิ์ แก้วรักษา
     -ปัญหาอยู่ที่คน ทั้งในและนอกองค์กรตำรวจ บุคลากรตำรวจมีความพร้อม อย่าหยามตำรวจ

พล.ต.ท.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบช.สกพ.
     1.การกระจายอำนาจ ทำเป็นนิติบุคคล การปรับลด ผู้ช่วย ผบ.ตร.ทำเป็นแผนการลดระยะ 5-10 ปี ทำให้สายการบังคับบัญชาลดลง
     2.การโอนภารกิจ ดูว่าโอนไปแล้วจะทำได้หรือไม่ งานบางอย่างให้เอกชนทำ เช่น ธนาคาร ศาลให้มีตำรวจศาลดูแลผู้ต้องขัง
     3.ความร่วมมือกับท้องถิ่น มีกฎหมายให้ท้องถิ่นจัดสรรงบประมาณ กำหนดเป็นสัดส่วน นำมาใช้งานตำรวจชุมชน ตำรวจบ้าน สนับสนุนเครื่องเครื่องใช้

พล.ต.อ.วรพงษ์ ชิวปรีชา
     1.ปัญหาตำรวจคือการบริหารงานบุคคล ขึ้นอยู่กับรัฐบาล
     2.ความขาดแคลนงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ รัฐลงทุนให้ตำรวจ 320,000 บาท/คน/ปี แต่ลงทุนให้ dsi. 1,900,000 บาท/คน/ปี มากกว่าตำรวจ 300% แต่หวังผลงานตำรวจให้เท่ากัน ค่าน้ำมันรถเดือนละ 300 ลิตร เฉลี่ยวันละ 10 ลิตร ไม่พอทำงาน
    3.ควรพิจารณาภารกิจที่มีความทับซ้อนกับหน่วยงานอื่นด้วย
     4.การกระจายอำนาจเป็นนิติบุคคล เห็นด้วย
     5.การฝึกอบรมมีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ

ผู้แทน สนช.
  1.การปฏิรูปตำรวจ ประชาชนได้อะไร
  2.ยอมรับจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งตำรวจ ข้าราชการตำรวจผู้น้อยควรมีข้อเสนอแนะสามารถสร้างการยอมรับได้
  3.งบบุคลากรมีสัดส่วนมาก ขาดงบพัฒนา
  4.วัฒนธรรมองค์กรต้องเปลี่ยนแปลง ผู้บังคับบัญชาไปตรวจเยี่ยมให้กำลังใจ รับฟังปัญหา
  5.ยศตำรวจเลิกยาก แต่งานที่ไม่เกี่ยวกับงานตำรวจใช้ตำรวจไม่มียศ
  6.การบังคับใช้กฎหมาย ต้องพูดย้ำกับประชาชนให้รู้ว่าเป็นเรื่องผิดกฎหมาย
  7.ยกเลิกระบบอุปถัมภ์ รวมทั้งใบสั่งจราจรด้วย
  8.งบประมาณ จำเป็นเพื่อสร้างระบบ it ช่วยบังคับใช้กฎหมาย เช่น ส่งใบสั่งทางไปรษณีย์
  9.การโอน ทำหน่วยงานให้เล็กลง ยังไม่ชัดเจนเรื่องที่เห็นว่าหน่วยงานรับโอนไม่มีความพร้อม 
  10.การพัฒนาบุคลากร ตำรวจกองประจำการต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
  11.การแต่งตั้ง ควรมีการมอบอำนาจแต่งตั้ง

คุณรัชดา ผู้แทนสภาทนายความ
     -สิ่งที่ตำรวจทำได้ดีขึ้น คือ ลดคดีซ้อมผู้ต้องหา และปฏิสัมพันธ์ระหว่างตำรวจกับประชาชนในสถานีตำรวจดีขึ้น
     ข้อเสนอ
          1.ควรโอนงานบางอย่างเช่น งานทะเบียน ขออนุญาต โรงแรมโรงจำนำ งานที่ใช้ความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน เช่น สรรพสามิต สรรพากร  ตำรวจรถไฟ ตำรวจท่องเที่ยว ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น ไปให้หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงดำเนินการ
          2.โครงสร้าง กต.ตร.โดยหลักการดี มาจากภาคประชาชน แต่ที่ผ่านมาคัดเลือกจากพ่อค้าคหบดี ควรปรับการสรรหาเพื่อให้ได้ผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆเช่นอัยการ นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญกฎหมาย เพื่อช่วยงาน กต.ตร.

พล.ต.ต.ชัยณรงค์ เจริญไชยเนาว์ ผบก.อก.บช.ก.
     1.จะมีการแก้กฎหมายให้กรมสรรพากรมีอำนาจสอบสวนคดีที่เกี่ยวกับภาษี แต่ยังมีปัญหาขอบเขตของคดีที่จะดำเนินการ เช่น คดีปลอมใบกำกับภาษี จะอยู่ในขอบเขตหรือไม่ 
     2.การโอนงานแล้ว ควรส่งข้อมูลให้ตำรวจด้วยหรือการประสานการปฏิบัติ เช่น ยิงปืนเพื่อเก็บตัวอย่างหัวกระสุนสำหรับการขออนุญาตอาวุธปืน เพื่อประโยชน์ในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม

พล.ต.ท.สุวิระ ทรงเมตตา
     1.การกระจายอำนาจบางส่วน เช่น การบริหารงานบุคคล แต่จะต้องรวมอำนาจบางส่วน เช่น การ ถปภ. งานรักษาความสงบเรียบร้อย งานความมั่นคง ศชต.
     2.การโอนงานต้องคำนึงถึง 1) ประสิทธิภาพ 2) ประหยัด 3) ความรับผิดชอบ 
     3.องค์กรดูแลการบริหารงานบุคคลไม่ควรมีฝ่ายการเมือง ควรมาจากการเลือกตั้งของตำรวจ

ความคิดเห็นอื่นๆ ได้แก่
-ตร.ต้องการคนเก่ง ดี กล้า
-การปฏิรูปให้สำเร็จต้องจริงใจ คนในองค์กรต้องรับฟังประชาชน 
-การปฏิรูปควรให้ความสำคัญกับการป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้วย
-ปัญหาอยู่ที่คน กับระบบงาน จำเป็นต้องปรับทั้งโครงสร้างสวัสดิการ และงบประมาณ 
     ฯลฯ

หมายเหตุ รอบบ่ายดำเนินการอภิปรายโดย พล.ต.ต.ดร.ปิยะ อุทาโย

ความคิดเห็น