สรุปประเด็นคำสั่ง คสช. 108/58 เรื่อง การปฏิบัติต่อผู้ต้องสงสัยว่ากระทําผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด เพื่อเข้าสู่การบําบัดฟื้นฟูและการดูแลผู้ผ่านการบําบัดฟื้นฟู ที่ออกมาตั้งแต่ 21 กรกฎาคม 2558 แล้ว แต่ผู้ปฏิบัติทั้งฝ่ายตำรวจ ปกครอง ยังงงงงกันอยู่ว่าจะปฏิบัติกันอย่างไรแน่ วันนี้(24 มี.ค. 58) ทาง สตช. ได้จัดประชุมทางไกล เพื่อชี้แจงข้อปฏิบัติของ ตร. โดยมี ปปส. เข้าร่วมชี้แจงด้วย จึงได้เกิดแนวทางเป็นข้อสรุปสำหรับการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ดังนี้
การส่งผู้ต้องสงสัยว่ากระทําความผิดฐานเสพยาเสพติด หรือเสพและมียาเสพติดไว้ในครอบครอง มีองค์ประกอบคือ
ดังนั้น เมื่อกำหนดการปฏิบัติมาดังกล่าว ย่อมจะมีผลต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่อย่างแน่นอน และนี่คือการตอบข้อสงสัยในที่ประชุมครับ
และแน่นอนครับ ปัญหาที่ผู้ปฏิบัติจะพบได้จากคำสั่งดังกล่าว ซึ่งดูเหมือนจะเอาใจผู้เสพรายย่อยซะเหลือเกิน มาดูกันครับ ว่ามีปัญหาอะไรที่ผู้ปฏิบัติจะต้องพบเจอบ้าง
นี่แหละหนา คนทำไม่ได้คิด คนคิดไม่ได้ทำ ขยันคิดอะไรประหลาด ๆ ออกมา ไม่เคยถามผู้ปฏิบัติ ได้เรื่องตัวชี้วัดการจับกุม 5 ข้อหาสำคัญ 20 % ของคดียาเสพติดทั้งหมด นี่ก็อีก เจอคำสั่ง 108 นี่อีก จะทำงานกันอย่างไร ไอ้จุดยืนเอ๊ย !
กรอบแนวคิดตามคำสั่ง คสช. 108 นี้ ถูกเสนอโดย ปปส. เนื่องจากที่ผ่านมา ตร. จับคดีเสพยาเสพติดปีนึงแสนกว่าราย แต่ไม่สามารถนำเข้าค่ายบำบัดได้ เพราะศักยภาพของค่ายบำบัดรองรับได้เพียง 40,000 คน/ปี ที่เหลือจึงตกหนักที่พนักงานคุมประพฤติ และไม่สามารถแก้ไขปัญหายาเสพติดได้ จึงได้ฟุ้งความคิดนี้ขึ้นมา แว่ว ๆ ว่า ปปส. จะออกเดินสายไปยังภาคต่าง ๆ ก็ช่วยสรรเสริญกันด้วยนะครับ พี่น้อง
การส่งผู้ต้องสงสัยว่ากระทําความผิดฐานเสพยาเสพติด หรือเสพและมียาเสพติดไว้ในครอบครอง มีองค์ประกอบคือ
- ตรวจปัสสาวะพบสารเสพติด หรือมียาเสพติดไว้ในครอบครองไม่เกินจำนวนฯ(ดูปริมาณท้ายคำสั่งที่ลิงค์ด้านล่าง)
- ไม่ถูกดำเนินคดีในความผิดอื่นที่มีโทษจำคุก
- ไม่มีพฤติกรรมที่อาจก่อให้เกิด อันตรายแก่ผู้อื่นหรือสังคม อันนี้เป็นการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ต้องพึงระวังอาจมีข้อโต้แย้ง จะให้ดีควรมีหนังสือร้องเรียนจากชาวบ้าน หรือมีผู้นำชุมชนยืนยันพฤติกรรม
- ยินยอมเข้ารับการบําบัดฟื้นฟู ถ้าไม่ยินยอมก็ดำเนินคดีตามปกติ
ดังนั้น เมื่อกำหนดการปฏิบัติมาดังกล่าว ย่อมจะมีผลต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่อย่างแน่นอน และนี่คือการตอบข้อสงสัยในที่ประชุมครับ
- การดำเนินการตามคำสั่ง ต้องลงประจำวันทุกครั้ง(ไม่ได้รับคดี) โดยให้ปรากฎรายละเอียดตามองค์ประกอบข้างต้น , มียาเสพติดของกลางหรือไม่ , เข้าบำบัดมาแล้วกี่ครั้ง , สมัครใจหรือไม่ ฯลฯ
- กรณีตรวจพบผู้เสพที่กรุงเทพฯ แต่เป็นคนชุมพร ผู้เสพสามารถเลือกได้ว่าจะเข้ารับการบำบัดที่ศูนย์อำเภอใด(เป็นเรื่องของศูนย์ฯ แต่ละอำเภอต้องประสานข้อมูลกัน)
- กรณีตรวจพบผู้เสพที่เป็นชาวต่างชาติ ก็ดำเนินการเข้าศูนย์คัดกรอง และบำบัดเช่นเดียวกัน เว้นแต่เป็นชาวต่างชาติที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ก็ดำเนินคดีตามปกติ
- กรณีจับกุมพร้อมยาเสพติด แต่ไม่เกินปริมาณที่กำหนด ตัวผู้เสพก็ส่งเข้าศูนย์ฯ ส่วนยาเสพติดให้ส่งพนักงานสอบสวน และ พงส. ก็ส่งไปที่ พฐ.
- ข้อหาเสพขับฯ ยังดำเนินคดีตามปกติ
- กรณีเข้าศูนย์คัดกรองมาแล้ว 5 ครั้ง ให้ดำเนินคดีตามปกติ(เกินเยียวยา)
- นำข้อมูลการส่งผู้เสพเข้าศูนย์ฯ มาประกอบในคดีกลุ่ม 5(ไม่ต้องลง Polis เพราะไม่เป็นคดี) และอาจจะนับรวม มีผลต่อการจับ 5 ข้อหาสำคัญร้อยละ 20
- กำชับการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ ไม่ให้มีการทุจริตลดจำนวนยาเสพติด เรียกรับผลประโยชน์ใด ๆ
- ปี 58 นี้ คดีกลุ่ม 5 ของ ตร. จะลดลงอย่างมาก อาจมีผลกับตัวชี้วัดต่าง ๆ ได้
และแน่นอนครับ ปัญหาที่ผู้ปฏิบัติจะพบได้จากคำสั่งดังกล่าว ซึ่งดูเหมือนจะเอาใจผู้เสพรายย่อยซะเหลือเกิน มาดูกันครับ ว่ามีปัญหาอะไรที่ผู้ปฏิบัติจะต้องพบเจอบ้าง
- ศูนย์คัดกรองผู้เสพ ไม่มีความพร้อม เพิ่งจะเริ่มตั้งศูนย์ยังไม่ทราบวิธีปฏิบัติว่าจะทำอย่างไร , เปิด-ปิด ตามเวลาราชการเท่านั้น บางศูนย์ฯ ขอร้องตำรวจว่าอย่าเพิ่งจับส่ง ยังทำอะไรไม่เป็นเลย
- ผู้เสพ ครอบครองรายย่อย ไม่เกรงกลัวกฎหมาย เพราะไม่ต้องติดคุก ไม่ต้องเข้าห้องขังที่โรงพัก ใช้สิทธิได้ถึง 5 ครั้ง
- เป็นช่องทางให้ผู้ค้ารายย่อยทำงานสะดวก พกแม่งทีละ 5 เม็ด ขายกันสบายเลย โดนจับได้ก็สมัครใจบำบัดครับ ผมเป็นผู้ป่วย ...... กรวย
- ปิดอำนาจต่อรองของเจ้าหน้าที่ ที่จะให้ "ต่องาน" ทำให้การจับกุมผู้ค้าได้ยากยิ่งขึ้น
นี่แหละหนา คนทำไม่ได้คิด คนคิดไม่ได้ทำ ขยันคิดอะไรประหลาด ๆ ออกมา ไม่เคยถามผู้ปฏิบัติ ได้เรื่องตัวชี้วัดการจับกุม 5 ข้อหาสำคัญ 20 % ของคดียาเสพติดทั้งหมด นี่ก็อีก เจอคำสั่ง 108 นี่อีก จะทำงานกันอย่างไร ไอ้จุดยืนเอ๊ย !
กรอบแนวคิดตามคำสั่ง คสช. 108 นี้ ถูกเสนอโดย ปปส. เนื่องจากที่ผ่านมา ตร. จับคดีเสพยาเสพติดปีนึงแสนกว่าราย แต่ไม่สามารถนำเข้าค่ายบำบัดได้ เพราะศักยภาพของค่ายบำบัดรองรับได้เพียง 40,000 คน/ปี ที่เหลือจึงตกหนักที่พนักงานคุมประพฤติ และไม่สามารถแก้ไขปัญหายาเสพติดได้ จึงได้ฟุ้งความคิดนี้ขึ้นมา แว่ว ๆ ว่า ปปส. จะออกเดินสายไปยังภาคต่าง ๆ ก็ช่วยสรรเสริญกันด้วยนะครับ พี่น้อง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น