จากกรณีร่างรัฐธรรม นูญที่ได้รับเผยแพร่ออกมา ในส่วนการปฏิรูปด้านต่างๆ มาตรา 282 (8) ซึ่งระบุว่า ปฏิรูปโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยโอนภารกิจของสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ไม่ใช่ภารกิจหลักของตำรวจไปให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ กำหนดมาตรการเพื่อป้องกันการแทรกแซงของฝ่ายการเมืองในกระบวนการยุติธรรม กำหนดเกณฑ์มาตรฐานการแต่งตั้งหรือย้ายข้าราชการตำรวจให้เป็นไปตามหลักคุณธรรม กระจายอำนาจการบริหารงานตำรวจไปสู่ระดับจังหวัด และสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจการตำรวจ
ปรับปรุงระบบงานสอบสวนให้มีความเป็นอิสระแยกออกจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และให้พนักงานอัยการ ผู้ว่าราชการจังหวัด และนายอำเภอ มีอำนาจสอบสวนร่วมกับหน่วยงานด้านการสอบสวนในกรณีที่ประชาชนร้องขอความเป็นธรรม ปรับปรุงระบบงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ในสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้มีความเป็นอิสระและมีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีระบบบริหารงานบุคคลที่ยึดหลักความรู้ความชำนาญเฉพาะทางและจัดสรร และกระจายอำนาจการบริหารงบประมาณให้แก่หน่วยปฏิบัติงานในพื้นที่ให้เพียงพอและสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในวงการตำรวจ เนื่องจากการร่างรัฐธรรมนูญในประเด็นนี้ไม่เคยมีการหารือกับตำรวจมาก่อน และพบว่ามีเนื้อหารายละเอียดที่เป็นเรื่องยากในทางปฏิบัติ ซึ่งตำรวจอาจจะมีความเคลื่อนไหวคัดค้านมาตรานี้
พ.ต.อ.มานะ เผาะช่วย ผกก.สน.ท่าพระ ในฐานะเลขาธิการสมาคมพนักงานสอบสวน เปิดเผยว่า มาตราข้างต้นประเด็นหลักกำหนดให้หน่วยงานที่ไม่ใช่ภารกิจตำรวจ ไม่เกี่ยว ข้องกับการป้องกันและอาชญากรรม เอาหน่วยงานไม่เกี่ยวกับตำรวจ อาทิ รถไฟ ป่าไม้ โอนให้หน่วยงานอื่น
เลขาธิการสมาคมพนักงานสอบสวนกล่าวต่อว่า แต่ประเด็นที่สำคัญคือ ให้แยกงานสอบสวนเป็นอิสระจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยให้กระจายอำนาจการบริหารงานสู่จังหวัด ทำกระบวนการมีส่วนร่วมกิจการตำรวจปรับระบบงานสอบสวนให้เป็นอิสระ
เลขาธิการสมาคมพนักงานสอบสวนกล่าวอีกว่า การตั้งหน่วยงานใหม่มารับงานสอบสวนคดีอาญาขึ้นมาใหม่ ประชาชนจะได้รับผลกระทบโดยตรง เพราะงานกระบวนการของงานสอบสวน หรือการรับแจ้งความเพื่อรวบรวมจากชาวบ้าน หน่วยงานที่จะมารับทำงานสอบสวนใหม่จะต้องทำงานให้ได้ 24 ชั่วโมง มีสถานที่ทำงานทุกแห่งทั่วประเทศ ไทยเหมือนสถานีตำรวจ ซึ่งลักษณะของงานสอบสวนไม่ใช่รับแล้วตามอย่างเดียว ต้องเชื่อมกับฝ่ายอื่นๆ ด้วย คืองานสืบสวน งานป้องกันปราบปราม งานจราจร หากเกิดเหตุการณ์ต่างๆ ขึ้น เพื่อความสะดวกรวดเร็ว หน่วยงานที่จะมารับผิดชอบใหม่แทนงาน จะทำหน้าที่ดังกล่าวแทนได้หรือไม่
"ขณะนี้มีพนักงานสอบสวนทั้งหมดประมาณ 12,000 นาย การที่จะมาเป็นพนักงานสอบสวนได้จะต้องมีการฝึกฝนทดสอบมาใช้เวลาประมาณ 3-5 ปี ยังไม่รวมไปถึงอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ สถานที่คุมขังผู้ต้องหา งบประมาณ การที่จะเอางานสอบสวนไปรวมไว้ที่เดียวกับอำเภอหรือที่อื่นๆ ถือว่าคิดผิด เพราะถ้างานสอบสวนจะไม่สามารถเชื่อมโยงกับฝ่ายอื่นๆ ได้เลย ถ้าไม่สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ" พ.ต.อ.มานะกล่าว
เลขาธิการสมาคมพนักงานสอบสวนกล่าวด้วยว่า หากมีการปฏิรูปตำรวจในกรณี ดังกล่าวแล้ว จะต้องมีบทเฉพาะกาล เมื่อ ผู้มีหน้าที่นิติบัญญัติเห็นชอบว่าจะให้มีการเปลี่ยนแปลง ต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ด้วยว่าจะเป็นอย่างไรในอนาคต ประชาชนจะเป็นอย่างไร รวมถึงเรื่องงานนิติวิทยาศาสตร์ หากงานสอบสวนหยุดออกไปแล้วอาจจะทำให้งานด้อยประสิทธิภาพลงไปด้วย ทั้งนี้เมื่อ วันที่ 23 ก.พ.ที่ผ่านมา ทางสมาคมได้จัดเสวนาร่วมกับเนติบัณฑิตยสภา มีการทำแบบสอบถามพนักงานสอบสวน ร้อยละ 67 ไม่เห็นด้วยให้งานสอบสวนหลุดออกไป
ขอบคุณข่าวจาก ข่าวสดออนไลน์
ครับ เป็นอีกหนึ่งกฎหมายมึน ๆ ที่ลักหลับประเทศไทยของบรรดา "คนดี" ที่ไม่เคยมีการศึกษา หรือสอบถามผู้เกี่ยวข้อง เพียงแค่ตัวกูรู้สึกว่าควรจะเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ ก็เพียงพอแล้ว เพราะกรูคือ คนดี
ครับ เป็นอีกหนึ่งกฎหมายมึน ๆ ที่ลักหลับประเทศไทยของบรรดา "คนดี" ที่ไม่เคยมีการศึกษา หรือสอบถามผู้เกี่ยวข้อง เพียงแค่ตัวกูรู้สึกว่าควรจะเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ ก็เพียงพอแล้ว เพราะกรูคือ คนดี
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น