พลังโซเชี่ยล กับการกำหนดนโยบายตำรวจ

ทุกวันนี้การใช้สื่อโซเชี่ยลมีเดียมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนเป็นอย่างมาก  เรียกว่าในปัจจุบันเราออนไลน์กันตลอด 24 ชั่วโมง  ใช้เวลาในโลกโซเชี่ยลวันนึงหลายชั่วโมง  การส่งข่าวสารทางโซเชี่ยลแพร่ไปไวยิ่งกว่าสื่อใด ๆ ซึ่งก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย

     วงการตำรวจในปัจจุบันก็มีการใช้สื่อโซเชี่ยลมีเดียเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน เช่น การประชาสัมพันธ์ทางเฟซบุ๊ค เว็บไซต์ ไลน์  หรือการ รายงานผลการปฏิบัติงานผ่าน ไลน์ เป็นต้น  ดังนั้น ความคิดเห็นของตำรวจในระดับต่าง ๆ จึงส่งถึงกันได้อย่างง่ายดาย และรวดเร็ว

     กระแสความคิดเห็นของเหล่าตำรวจชั้นผู้น้อย  ต่อนโยบาย คำสั่ง หรือตัวผู้บังคับบัญชาเอง  สามารถสะท้อนถึงผู้บังคับบัญชาหรือสังคมได้อย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน  ยุคนี้เสียงของตำรวจชั้นผู้น้อย  ไม่ใช่เสียงที่ไร้ความหมาย หรือไม่มีใครได้ยิน อีกต่อไป




     ยกตัวอย่างกรณีคลาสสิกที่เกิดขึ้น คือ กรณี การงุบงิบรับสมัคร ตั๊น จิตรภัสร์ เข้ามาเป็นรองสารวัตร 191  เมื่อมีการเผยแพร่เอกสารการรับสมัครทางโซเชี่ยล  เกิดกระแสต่อต้านจากพี่น้องข้าราชการตำรวจในระดับกระหึ่ม สั่นสะเทือน จนผู้มีอำนาจต้องถอย

     อีกกรณีหนึ่งคือ การที่ รรท.ผบช.น.  ลงบันทึกตรวจเยี่ยมห้ามนายร้อย 53 ตั้งด่าน  ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์เป็นวงกว้าง เพราะนายร้อย 53 มีอยู่ทุกสถานีตำรวจ  จะดีชั่วไม่ใช่มาเหมารวม  นี่ก็เป็นประเด็นระดับที่ทำให้สื่อทีวีต้องเกาะติดเหมือนกัน

     ต่อจากนี้ ผู้บังคับบัญชาไม่ว่าจะระดับไหน  จะออกนโยบาย หรือแนวปฏิบัติงี่เง่า ปัญญาอ่อน  คงไม่ได้ง่าย ๆ อีกแล้ว  เพราะจะถูกตรวจสอบจากผู้ปฏิบัติ   ส่วนผู้ปฏิบัติก็จะถูกตรวจสอบจากประชาชน และผู้บังคับบัญชาอยู่แล้ว  จึงนับว่าเป็นการถ่วงดุลได้ในระดับหนึ่ง

ขอบคุณภาพจาก http://thumbsup.in.th/2014/09/youtube-converts-more-customers-than-anyone-else/

ความคิดเห็น