- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
โพสต์แนะนำ
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
เมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2559 การประชุมคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ หรือ กรธ. นอกสถานที่ที่โรงแรมดิ อิมพีเรียล เลค วิว รีสอร์ท แอนด์ กอล์ฟ คลับ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี ในวันแรก มีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ (เนติบริกรขวัญใจเผด็จการ) เป็นประธาน เพื่อพิจารณารัฐธรรมนูญรายมาตรา ตั้งแต่ มาตราแรก บททั่วไป จนถึงมาตราสุดท้าย บทเฉพาะกาล โดยหวังให้เสร็จทั้งฉบับภายในสัปดาห์นี้
ในส่วนของหมดที่ 3 เรื่อง "สิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทย" มีเนื้อหาสำคัญคือ เรื่องใดที่ไม่ได้ห้ามหรือจำกัดไว้ในรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่น เป็นสิทธิที่ประชาชาชนกระทำได้ แต่ต้องไม่กระทบกระเทือนต่อผู้อื่น โดยในที่ประชุม ได้มีการอภิปรายถึงเนื้อหาดังกล่าวของรัฐธรรมนูญว่า จะส่งผลให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ ไม่สามารถนำตัวผู้ต้องหามาแถลงข่าวอีก เนื่องจากเป็นการละเมิดสิทธิของผู้ต้องหา เพราะบุคคลย่อมมีสิทธิเป็นส่วนตัว มีเกียรติยศ ชื่อเสียงและครอบครัว บุคคลอื่นจะละเมิดมิได้ อีกทั้งการแถลงข่าวในลักษณะนี้ เป็นผลงานของตำรวจ ไม่ได้ทำเพื่อประโยชน์สาธารณะ
นอกจากนี้ กรธ.ได้วางหลังการให้สิทธิประชาชนในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของรัฐได้โดยง่าย เพื่อให้ประชาชนช่วยในการตรวจสอบการทุจริต เบื้องต้นมีการคาดว่า การประชุม กรธ.รายมาตรานอกสถานที่ในวันนี้ จะเสร็จสิ้นเวลา 20.00 น.
เรื่องนี้ขอกล่าวถึงในประเด็นแรก เรื่องการแถลงข่าวนะครับ เข้าใจว่าในสากลเขาก็ไม่ค่อยนำผู้ต้องหามาแถลงข่าว โดยเฉพาะประเทศที่ให้ความสำคัญกับ สิทธิมนุษยชน เพราะมันเป็นการละเมิดสิทธิเขาอย่างร้ายแรง มีหลักในเรื่องผู้ถูกกล่าวหายังคงเป็นผู้บริสุทธิ์ตราบเท่าที่ศาลยังไม่ติดสิน และการนำผู้ต้องหาแถลงข่าวไม่มีประโยชน์ในทางคดีแต่อย่างใด ส่วนสาธารณะนั้นจะว่าไม่ได้ประโยชน์ก็ไม่เชิงนะครับ เพราะจะได้เป็นข่าวเตือนใจ เตือนสติให้ผู้ที่คิดจะกระทำผิดล้มเลิกเสีย หรือผู้คนปกติก็จะได้ระวังตัวกันมากขึ้น เป็นต้น
แต่ผู้ที่ได้ประโยชน์เต็ม ๆ ของการนำผู้ต้องหามาแถลงข่าวคือ ผู้สื่อข่าวต่าง ๆ เพราะจะได้ ข่าว เอาไปส่งต้นสังกัด เพื่อเบิกเป็นเงินมาดำรงชีพ ส่วนตัวเจ้าหน้าที่ตำรวจก็จะได้มีชื่อเสียงติดหู ติดตาเจ้านาย เอาไว้เป็นแรงเสริมในการแต่งตั้ง ^^ รวมทั้งองค์กรตำรวจ ก็จะได้ประชาสัมพันธ์หน่วยงาน สร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชนในทางหนึ่งด้วย
อีกประเด็นหนึ่งคือ ให้สิทธิประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของรัฐได้โดยง่าย เพื่อให้ช่วยตรวจสอบทุจริต แหม่ ไม่ทราบว่าลืมเรื่องอุทยานอะไรนั่นไปแล้วหรือไง ? ประชาชนอยากรู้ข้อมูลการบริจาคและการใช้เงินก็ทำไม่ได้ จะไปช่วยตรวจสอบทุจริต ยังโดนดำเนินคดี ช่างเป็นประเทศที่มันย้อนแย้งอะไรเช่นนี้ 555
ถ้า รัฐธรรมนวยพันล้าน ฉบับนี้ผ่านตำรวจจะปรับตัวอย่างไร คือตามหลักสิทธิมนุษยชนปัจจุบัน ก็ไม่ควรนำผู้ต้องหามาแถลงข่าวอยู่แล้ว เอาแค่ของกลาง และรายละเอียดคดี ทำเป็นเอกสาร เป็นชาร์ต มาก็พอ เห็นผู้ต้องหาระดับเจ้าพ่อ คนมีเงิน ก็ไม่เคยเอามานั่งแถลงข่าว ระวังจะถูกฟ้องกลับเรียกค่าเสียหายนะครับ เตือนไว้ก่อน
ปล. ค่าทำรัฐธรรมนูญฉบับหนึ่ง ๆ ที่ไม่ธรรมดานะครับ ฉบับบวรศักดิ์ ล่อไปกี่ร้อยล้าน เสียเวลาเป็นปี มาฉบับนี้อีกเป็นปีเหมือนกัน ยังไม่รวมประชามติอีก ค่าใช้จ่าย"คนดี" ผู้เสียสละ นี่มันสูงจริง ๆ อยากเป็นคนดีบ้างจัง
ปล.2 การนำผู้ต้องหาแถลงข่าว มันคล้าย ๆ กับพวกพรานล่าสัตว์ที่ชอบนำซากสัตว์ที่ล่าได้ มาวางถ่ายรูปโชว์เลย ว่ามะ
ปล.2 การนำผู้ต้องหาแถลงข่าว มันคล้าย ๆ กับพวกพรานล่าสัตว์ที่ชอบนำซากสัตว์ที่ล่าได้ มาวางถ่ายรูปโชว์เลย ว่ามะ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น