วานนี้(18 ก.พ. 59) ได้มี ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 216/2559 เกี่ยวกับ"คำสั่ง ตร.ที่ 419/56 ลง 1 ก.ค.2556" กับ "ข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยระเบียบการดำเนินคดีอาญา พ.ศ.2523" โดยมีเอกสารหลายหน้า ซึ่งสามารถสรุปความได้ ดังนี้
"คำสั่ง ตร.ที่ 419/56 มีผลใช้บังคับเฉพาะการสอบสวนในส่วนของตำรวจเท่านั้น ในกรณีที่เนื้อหาในข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยระเบียบการดำเนินคดีอาญา พ.ศ.2523 เฉพาะส่วนที่เป็นการกำหนดระเบียบแบบแผนการปฎิบัติราชการของตำรวจขัดหรือแย้งกับคำสั่ง ตร.ดังกล่าว เนื้อหาในส่วนนั้นก็ย่อมสิ้นผลใช้บังคับลงตามหลักกฎหมายใหม่ยกเลิกกฎหมายเก่า..แต่สำหรับเนื้อหาในส่วนที่เป็นการกำหนดระเบียบแบบแผนการปฎิบัติราชการร่วมกันระหว่าง พงส.ฝ่ายปกครองและ พงส.ฝ่ายตำรวจ ตามข้อ 12.4-12.6 นั้น ผบ.ตร.ย่อมไม่อาจใช้อำนาจตามมาตรา 11(4) แห่ง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติฯออกคำสั่งเพื่อให้มีผลเป็นการยกเลิกข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยในส่วนดังกล่าวได้ เป็นไปตามความเห็นที่เคยให้ไว้ในเรื่องเสร็จที่ 66/2553
ในส่วนข้อหารือที่ว่า "ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ แล้วแต่กรณี จะใช้ดุลพินิจเข้าควบคุมการสอบสวนคดีความผิดเกี่ยวกับป่าไม้และทรัพยากรของชาติ ในฐานะเป็น หน.พงส.ผู้รับผิดชอบและเป็น พงส.ผู้รับผิดชอบในคดีที่ พงส.ฝ่ายตำรวจดำเนินการสอบสวนอยู่ได้อีกหรือไม่?" นั้น เห็นว่า แม้ข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยระเบียบการดำเนินคดีอาญา พ.ศ.2523 ในส่วนที่เป็นการกำหนดระเบียบแบบแผนการปฎิบัติราชการร่วมกันระหว่างพนักงานฝ่ายปกครองและ พงส.ฝ่ายตำรวจนั้น จะทำให้ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ มีอำนาจเข้าควบคุมการสอบสวนในฐานะเป็น หน.พงส.ผู้รับผิดชอบและเป็น พงส.ผู้รับผิดชอบในคดีที่ พงส.ฝ่ายตำรวจดำเนินการสอบสวนอยู่ได้ก็ตาม
แต่การที่ฝ่ายปกครองจะเข้าควบคุมการสอบสวนในฐานะเป็น หน.พงส.ผู้รับผิดชอบ และเป็น พงส.ผู้รับผิดชอบได้นั้น ฝ่ายปกครองจะต้องเป็นผู้มีอำนาจสอบสวนในคดีความผิดอาญาในประเภทนั้นเสียก่อน..การที่มาตรา 18 แห่ง ป.วิอาญา กำหนดให้ฝ่ายปกครองและตำรวจต่างมีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาในจังหวัดอื่นนอกจาก กทม.ได้ แต่ต่อมานายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.ให้ใช้ ป.วิอาญา (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2548 ออกกฎกระทรวงกำหนดการสอบสวนความผิดอาญาบางประเภทในจังหวัดอื่นนอกจาก กทม.โดย พงส.ฝ่ายปกครอง พ.ศ.2554 เพื่อกำหนดความผิดอาญาที่ให้ พงส.ฝ่ายปกครองสอบสวนได้ จึงมีผลเป็นการจำกัดอำนาจสอบสวนในคดีความผิดอาญาอื่นนอกจาก กทม.ของฝ่ายปกครองไว้เพียง 16 ประเภท เมื่อกรณีคดีความผิดเกี่ยวกับป่าไม้และทรัพยากรของชาติตามที่ สตช.ขอหารือดังกล่าว มิได้เป็นคดีความผิดที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงดังกล่าว ฝ่ายปกครองอันได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ แล้วแต่กรณี จึงมิใช่ผู้มีอำนาจในการสอบสวนในคดีอื่นนอกเหนือจากคดี 16 ประเภทดังกล่าว และเมื่อไม่มีอำนาจสอบสวนแล้วจึงย่อมไม่มีอำนาจเข้าควบคุมการสอบสวนในฐานะเป็น หน.พงส.ผู้รับผิดชอบและเป็น พงส.ผู้รับผิดชอบในคดีความผิดเกี่ยวกับป่าไม้และทรัพยากรของชาติได้"
ตอนนี้ ตร. ต้องดำเนินการสร้างความชัดเจนให้กับผู้ปฏิบัติโดยเร็ว ก่อนจะมีความขัดแย้งกับหน่วยงานข้างเคียง จะส่งความเห็นดังกล่าวไปยังมหาดไทยเลย หรือจะประชุมหารือ ชี้แจงการปฏิบัติระหว่างหน่วยงานก็ทำซะ โดยเฉพาะงานกฎหมายและคดี ตร. และ สนง.ผบ.ตร.
และระหว่างนี้หากมีคดีป่าไม้ และทรัพยากรธรรมชาติเกิดขึ้น ทางปกครองจะเข้าควบคุมการสอบสวน จะให้ทำอย่างไร เรื่องนี้ต้องมีคำตอบโดยเร็ว ใครที่อยุ่สำนักงานผู้บังคับบัญชาก็ช่วยเร่งให้หน่อย ไม่งั้นเป็นเดือน ๆ แน่กว่าเรื่องจะตกมาถึงสถานีตำรวจ ยุคนี้มันยุคดิจิตอล ก็ไม่น่าจะเกิดเหตุการณ์แบบนั้นแล้วนะครับ
ปล. กลายเป็นว่าการต่อสู้ของ ตร. ในประเด็น กฎหมายใหม่ ยกเลิกกฎหมายเก่า นั้นหลงทาง ไม่ได้ดูกฎกระทรวง ปี 54 ที่เป็นสาระสำคัญของการวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกา ในครั้งนี้
แต่การที่ฝ่ายปกครองจะเข้าควบคุมการสอบสวนในฐานะเป็น หน.พงส.ผู้รับผิดชอบ และเป็น พงส.ผู้รับผิดชอบได้นั้น ฝ่ายปกครองจะต้องเป็นผู้มีอำนาจสอบสวนในคดีความผิดอาญาในประเภทนั้นเสียก่อน..การที่มาตรา 18 แห่ง ป.วิอาญา กำหนดให้ฝ่ายปกครองและตำรวจต่างมีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาในจังหวัดอื่นนอกจาก กทม.ได้ แต่ต่อมานายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.ให้ใช้ ป.วิอาญา (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2548 ออกกฎกระทรวงกำหนดการสอบสวนความผิดอาญาบางประเภทในจังหวัดอื่นนอกจาก กทม.โดย พงส.ฝ่ายปกครอง พ.ศ.2554 เพื่อกำหนดความผิดอาญาที่ให้ พงส.ฝ่ายปกครองสอบสวนได้ จึงมีผลเป็นการจำกัดอำนาจสอบสวนในคดีความผิดอาญาอื่นนอกจาก กทม.ของฝ่ายปกครองไว้เพียง 16 ประเภท เมื่อกรณีคดีความผิดเกี่ยวกับป่าไม้และทรัพยากรของชาติตามที่ สตช.ขอหารือดังกล่าว มิได้เป็นคดีความผิดที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงดังกล่าว ฝ่ายปกครองอันได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ แล้วแต่กรณี จึงมิใช่ผู้มีอำนาจในการสอบสวนในคดีอื่นนอกเหนือจากคดี 16 ประเภทดังกล่าว และเมื่อไม่มีอำนาจสอบสวนแล้วจึงย่อมไม่มีอำนาจเข้าควบคุมการสอบสวนในฐานะเป็น หน.พงส.ผู้รับผิดชอบและเป็น พงส.ผู้รับผิดชอบในคดีความผิดเกี่ยวกับป่าไม้และทรัพยากรของชาติได้"
ตอนนี้ ตร. ต้องดำเนินการสร้างความชัดเจนให้กับผู้ปฏิบัติโดยเร็ว ก่อนจะมีความขัดแย้งกับหน่วยงานข้างเคียง จะส่งความเห็นดังกล่าวไปยังมหาดไทยเลย หรือจะประชุมหารือ ชี้แจงการปฏิบัติระหว่างหน่วยงานก็ทำซะ โดยเฉพาะงานกฎหมายและคดี ตร. และ สนง.ผบ.ตร.
และระหว่างนี้หากมีคดีป่าไม้ และทรัพยากรธรรมชาติเกิดขึ้น ทางปกครองจะเข้าควบคุมการสอบสวน จะให้ทำอย่างไร เรื่องนี้ต้องมีคำตอบโดยเร็ว ใครที่อยุ่สำนักงานผู้บังคับบัญชาก็ช่วยเร่งให้หน่อย ไม่งั้นเป็นเดือน ๆ แน่กว่าเรื่องจะตกมาถึงสถานีตำรวจ ยุคนี้มันยุคดิจิตอล ก็ไม่น่าจะเกิดเหตุการณ์แบบนั้นแล้วนะครับ
ปล. กลายเป็นว่าการต่อสู้ของ ตร. ในประเด็น กฎหมายใหม่ ยกเลิกกฎหมายเก่า นั้นหลงทาง ไม่ได้ดูกฎกระทรวง ปี 54 ที่เป็นสาระสำคัญของการวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกา ในครั้งนี้
ในเวปสอบสวน599 ของตำรวจ เขาแสดงความเห็นเรื่องกฎกระทรวง 16 พรบ มีผลเป็นการยกเลิกอำนาจการควบคุมตามข้อบังคับมานานแล้ว ตั้งแต่ กฎกระทรวง 16 พรบ มีผลใช้บังคับ เขาฟันธงไปตั้งนานแล้วว่า ข้อบังคับ ข้อ 12 อำนาจควบคุมการสอบสวนขัดแย้งกับอำนาจของฝ่่ายปกครองตามกฎกระทรวง ต้องบังคับตามกฎกระทรวง คุมสอบสวนไม่ได้ในคดีที่ตำรวจสอบสวนรับผิดชอบ
ตอบลบ