งามไส้จริง ๆ กับแนวทางการปราบปรามยาเสพติดของรัฐบาลชุดนี้ นอกจากคำสั่ง คสช. ที่ 108/58 ที่คนเสพ และครอบครองเล็กน้อย ไม่ต้องถูกดำเนินคดี ให้เอาไปบำบัด แถมยังหนีบำบัดได้แบบไม่ผิดอีก ซึ่งเชื่อว่าสร้างผู้ค้ารายย่อย ผู้เสพหน้าใหม่ ได้ง่าย ๆ ส่วนเจ้าหน้าที่ตำรวจ ก็จับดำเนินคดีได้ยากขึ้นอีก ดูเผิน ๆ เหมือนว่าคดียาเสพติดลดลงไปกว่าครึ่ง แต่แท้จริงแล้วคือการที่ไม่สามารถดำเนินคดีกับผู้ครอบครองเล็กน้อย และผู้เสพ ได้นั่นเอง
ล่าสุดมีแนวคิดจาก พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รมว.ยุติธรรม ที่ออกมายอมรับว่า โลกจำนนให้ยาเสพติด และมีแนวคิดจะเปลี่ยนยาบ้า ซึ่งเป็นยาเสพติดรุนแรง ให้เป็นยาปกติ โดยมีเนื้อข่าวจาก เดลินิวส์ ออนไลน์ ดังนี้
พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รมว.ยุติธรรม ได้กล่าวถึงวิวัฒนาการแก้ไขยาเสพติดเมื่อ 28 ปีที่ผ่านมาว่า มีแนวคิดทำให้โลกปราศจากยาเสพติดด้วยการประกาศสงคราม แต่เมื่อทำงานร่วมกับยาเสพติดมายาวนานจนถึงปัจจุบัน โลกยอมจำนนให้ยาเสพติด และกลับมาคิดว่าจะอยู่ร่วมกับยาเสพติดได้อย่างไร เปรียบเทียบได้กับคนเป็นมะเร็งที่ไม่มียารักษา ต้องใช้ชีวิตอยู่กับมะเร็งต่อไปให้ได้อย่างมีความสุข ขณะนี้ทิศทางเกี่ยวกับยาเสพติดกำลังเปลี่ยนไป หลายประเทศพูดถึงการแก้ไขปัญหายาเสพติดในเรื่องสิทธิเสรีภาพ และการดูแลสุขภาพอนามัยของผู้เสพ ทิศทางของการใช้ยาเสพติดเพื่อรักษาอาการป่วย แต่ยูเอ็นยังไม่กล้าเขียนและไม่กล้ายอมรับ ทั้งที่มีผลงานวิจัยยืนยันและมีทิศทางของการยอมรับมากกว่า 70% แล้ว
โดยในที่ประชุม UNGASS ไทยเป็นประเทศหนึ่งที่เรียกร้องให้คำนึงถึงการลงโทษที่ได้สัดส่วน เช่น อันตรายของสารกระตุ้นในกลุ่มแอมเฟตามีน ที่มีต่อตนเองและผู้อื่นในสังคม บทบาทของผู้กระทำผิด มาตรการอื่นแทนการลงโทษจำคุก หลายประเทศนำแนวคิดของประเทศไทยไปใช้ แต่ในไทยทำไม่ได้เพราะติดขัดที่กฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด ถ้าไม่แก้กฎหมายก็เดินต่อไปไม่ได้ ตนจึงผลักดันให้ยกร่างประมวลกฎหมายยาเสพติดเป็นการปฏิรูปกฎหมายยาเสพติดทั้งระบบ
ขณะนี้กฎหมายดังกล่าวอยู่ระหว่างขั้นตอนคณะกรรมการกฤษฎีกา กฎหมายใหม่จะเปิดช่องให้ศาลมีโอกาสใช้ดุลยพินิจในการลงโทษจำคุก หรือการปรับที่น้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น เมื่อมีเหตุอันสมควรเฉพาะราย โดยพิเคราะห์ถึงความร้ายแรงของการกระทำความผิด ฐานะของผู้กระทำความผิด และพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้อง การแก้ไขปัญหายาเสพติดต้องดำเนินการให้ครบทั้ง 3 ด้าน คือ ปราบปราม ป้องกัน และบำบัด แต่ที่ผ่านมาการบำบัดทำไม่ได้ ติดขัดที่กฎหมาย ดังนั้นถึงเวลาแล้วหรือไม่ที่จะเปลี่ยนเมทแอมเฟตามีนจากยาเสพติดรุนแรงเป็นยาปกติ เพราะในทางการแพทย์ เมทแอมเฟตามีน มีผลทำลายสุขภาพและสมองน้อยกว่าบุหรี่และสุรา แต่สังคมกลับยอมรับบุหรี่และสุรา หลังจากนี้จะหารือกับกระทรวงสาธารณสุข ศาล อัยการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เพื่อหาแนวทางที่เป็นไปได้ในการยกเลิกเมทแอมเฟตามีนจากบัญชียาเสพติด
สำหรับยาบ้า ชัดเจนนะครับว่า มันให้โทษกับสังคมอย่างไร มีผู้คนบริสุทธิ์ต้องสังเวยชีวิตให้กับผู้เสพยาบ้าจนเพ้อคลั่งไปจำนวนมาก ลองเข้ากูเกิ้ล ค้นคำว่า "เมายาบ้า" ก็จะเห็นรูปมากมาย คนเป็นทหารมาทั้งชีวิต มาเป็น รมต.ยุติธรรม ไม่รู้ว่าเอาความเชี่ยวชาญอะไร หรือใครให้คำปรึกษา จะทำตัวให้เป็นขวัญใจของประชาชนผู้เกลียดยาเสพติด หรือจะเป็นรัฐมนตรีขวัญใจพ่อค้ายา เลือกเอา
พี่น้องตำรวจที่ต่อสู้กับยาเสพติดมาทั้งชีวิตราชการ กับนายพลเอก ใครมันมีประสบการณ์ปราบปรามยาเสพติดมากกว่ากัน อยากเห็นหน้ากุนซือจริง ๆ การที่ปราบปรามไม่หมด ไม่ใช่ข้ออ้างที่จะยอมแพ้ งั้นวันหนึ่ง ฝิ่น หรือ เฮโรอีน ก็คงสามารถหาเสพกันได้อย่างถูกกฎหมาย ในข้ออ้างเดียวกัน แล้วที่อ้างว่าทางการแพทย์ เมทแอมเฟตามีน มีผลทำลายสุขภาพและสมองน้อยกว่าบุหรี่และสุรา นั้น ขอหลักฐานหน่อยว่าเสพในปริมาณเท่ากัน ในระยะเวลาเท่ากัน หรือไม่ อย่างไร อย่าอ้างลอย ๆ มั่ว ๆ มีใครเคยเห็นคนสูบบุหรี่เอามีดจ่อคอเด็กมั๊ยล่ะ
ยาบ้าไม่ได้ผลิตได้ในประเทศนะครับ แต่มันถูกส่งลอดรั้วของชาติเข้ามาทำลายคนในชาติ อันนี้คงต้องถามกันหน่อยว่า คนที่ยืนอยู่ริมรั้วทำไมปล่อยให้เล็ดลอดเข้ามาได้ หรือว่าทิ้งรั้วมาอยู่ในเมืองกันหมด ไม่เดินป่า มาอยู่ตึก ปล่อยเฝ้ารั้วไม่กี่คน(แบบอด ๆ อยาก ๆ)
ที่ปราบปรามไม่สำเร็จ แล้วการฟื้นฟู หรือสมัครใจบำบัด นี่มันสำเร็จรึเปล่า เคยเอาสถิติมาดูบ้างมั๊ยว่าพวกที่ผ่านฟื้นฟู กลับมาเสพ มาค้า อีกเท่าไหร่ , ตำรวจไปฝากขังผู้ค้าซ้ำซาก แล้วได้ประกันตัวจากศาล ออกมาขายยาต่อ เอาเงินสู้คดี , ตร.ชุดจับกุม มีเครื่องไม้เครื่องมือเพียงพอมั๊ย ทันสมัยมั๊ย , กฎหมายเป็นอุปสรรคในการปราบปรามมั๊ย ตรงนี้ไม่มาดู ละลายงบประมาณไปกับเรื่องไม่เป็นเรื่องมานานแล้ว ตำรวจทำงานปราบปรามยาเสพติด แต่ปกครองได้ขั้น อย่างนี้คนทำงานเขาหมดใจไปเรื่อย ๆ อีกหน่อยใครมันจะทำงาน เสี่ยงก็เสี่ยง หนีไปทำงานอื่นดีกว่า เงินเดือนก็ได้เหมือนกัน ว่ามะ
อ้อ .. ตอนเรียนเคยมีคนตะโกนใส่ท่านบ้างมั๊ยครับ ที่ว่า "ทำไม่ได้ก็ลาออกไป" น่ะ
ยาบ้าไม่ได้ผลิตได้ในประเทศนะครับ แต่มันถูกส่งลอดรั้วของชาติเข้ามาทำลายคนในชาติ อันนี้คงต้องถามกันหน่อยว่า คนที่ยืนอยู่ริมรั้วทำไมปล่อยให้เล็ดลอดเข้ามาได้ หรือว่าทิ้งรั้วมาอยู่ในเมืองกันหมด ไม่เดินป่า มาอยู่ตึก ปล่อยเฝ้ารั้วไม่กี่คน(แบบอด ๆ อยาก ๆ)
ที่ปราบปรามไม่สำเร็จ แล้วการฟื้นฟู หรือสมัครใจบำบัด นี่มันสำเร็จรึเปล่า เคยเอาสถิติมาดูบ้างมั๊ยว่าพวกที่ผ่านฟื้นฟู กลับมาเสพ มาค้า อีกเท่าไหร่ , ตำรวจไปฝากขังผู้ค้าซ้ำซาก แล้วได้ประกันตัวจากศาล ออกมาขายยาต่อ เอาเงินสู้คดี , ตร.ชุดจับกุม มีเครื่องไม้เครื่องมือเพียงพอมั๊ย ทันสมัยมั๊ย , กฎหมายเป็นอุปสรรคในการปราบปรามมั๊ย ตรงนี้ไม่มาดู ละลายงบประมาณไปกับเรื่องไม่เป็นเรื่องมานานแล้ว ตำรวจทำงานปราบปรามยาเสพติด แต่ปกครองได้ขั้น อย่างนี้คนทำงานเขาหมดใจไปเรื่อย ๆ อีกหน่อยใครมันจะทำงาน เสี่ยงก็เสี่ยง หนีไปทำงานอื่นดีกว่า เงินเดือนก็ได้เหมือนกัน ว่ามะ
อ้อ .. ตอนเรียนเคยมีคนตะโกนใส่ท่านบ้างมั๊ยครับ ที่ว่า "ทำไม่ได้ก็ลาออกไป" น่ะ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น