หากจะกล่าวถึงเทคโนโลยีในการปราบปรามคนร้าย ที่ปลอดภัยต่อตัวคนร้ายเอง และเจ้าหน้าที่ตำรวจ Taser Gun ก็ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ได้รับการยอมรับ และเจ้าหน้าที่รัฐมีใช้งานในหลายประเทศ เพราะประสิทธิภาพที่สามารถหยุดยั้งผู้ก่อเหตุ โดยไม่ทำอันตรายมากนัก สามารถจับกุมดำเนินคดีได้ตามกฎหมาย หากใช้อาวุธปืนบางกรณีมันก็จะเกินกว่าเหตุไป
ปืนช็อตไฟฟ้า หรือ Taser Gun นั้น คิดค้นโดยนาย แจ๊ค โคเวอร์ นักวิจัยจากนาซ่า ตั้งแต่ปี ค.ศ.1969 และมาสำเร็จเอาในปี 1974 โดยชื่อ Taser นั้นมาจากหนังสือนิยายเรื่อง "Thomas A. Swift's Electric Rifle" ซึ่งเป็นนิยายที่ โคเวอร์ ชื่นชอบในวัยเด็ก
Taser Gun ได้รับการยอมรับและถูกบรรจุเข้าเป็นอุปกรณ์ประจำกายของเจ้าหน้าที่รัฐ โดยเฉพาะตำรวจในสหรัฐอเมริกา , หลายประเทศในยุโรป , ออสเตรเลีย , นิวซีแลนด์ , ญี่ปุ่น , เกาหลีใต้ ฯลฯ ในอาเซี่ยนก็มี ฟิลิปปินส์ , มาเลเซีย , สิงคโปร์(ตามข้อมูลจาก www.taser.com )
Taser Gun รุ่นมาตรฐาน จะยิงได้ทีละนัด(ตามคลิปด้านล่างนี้) โดยเป็นการยิงหัวลูกดอกออกไป 2 หัว มีสายลวดเส้นบางนำกระแสไฟฟ้าจากตัวปืนไปสู่เป้าหมายที่หัวลูกดอกไปปักอยู่ การควบคุมการช็อตก็อยู่ที่ผู้ยิงเป็นผู้กำหนดว่าจะกดไกปืนนานเท่าใด ซึ่งผู้ยิงก็ต้องฝึกเช่นกัน หากกดนานเกินอาจทำให้ช็อค หัวใจล้มเหลวได้ โดยกระแสไฟจาก Taser Gun นั้นแม้จะสูงถึง 20,000 โวลท์ แต่จะไม่ได้ปล่อยต่อเนื่องตลอด จึงไม่ทำให้ผิวหนังหรืออวัยวะใดได้รับความเสียหาย เพียงแต่ทำให้ไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อได้ และล้มลง เพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้าไปทำการปลออาวุธและจับกุมตัว
ปัจจุบัน Taser Gun ได้พัฒนารุ่นที่สามารถยิงได้ต่อเนื่อง 3 นัด ในขนาดเท่าเดิม เพื่อให้เจ้าหน้าที่ใช้งานได้มากขึ้น ในระยะการยิงประมาณ 10 เมตร และอีกรุ่นเป็นกระสุนช็อตไฟฟ้าใช้กับปืนลูกซอง ทำให้มีระยะการยิงที่ไกลขึ้นอีก
ปัจจุบันในประเทศไทยยังไม่มี Taser Gun ใช้อย่างเป็นทางการ แต่จากประโยชน์ของมันที่ทำให้เจ้าหน้าที่ไม่ต้องใช้อาวุธปืน ซึ่งมีอานุภาพร้ายแรง ลดการสูญเสียชีวิตในการทำงานทั้งตัวผู้ก่อเหตุ และเจ้าหน้าที่เองก็มีความมั่นใจในการใช้งานมากกว่าอาวุธปืนแน่นอน
การใช้งานต้องให้เจ้าหน้าที่ผู้ใช้งานมีการฝึกฝน ทั้งเป็นผู้ใช้ Taser Gun เอง และเป็นผู้ถูกยิงด้วย Taser Gun เพื่อให้รู้ว่าจะต้องกดปล่อยกระแสไฟในปริมาณเท่าใด จึงจะเพียงพอต่อการจับกุมผู้ก่อเหตุ ไม่ใช่กดเพราะอารมณ์ ไม่ยั้งคิด เพราะ Taser Gun เองก็มีรายงานว่ามีส่วนทำให้เกิดการเสียชีวิตโดยเจ้าหน้าที่(ประมาณ 5 % ข้อมูลจากวิกิพีเดีย)
จึงเป็นคำถามว่าถึงเวลาหรือยัง ที่ Taser Gun จะเป็นอาวุธประจำกายของเจ้าหน้าที่ตำรวจ อาจเริ่มจากหน่วยปฏิบัติการพิเศษของแต่ละกองบังคับการก่อนก็ได้ ราคาถูกกว่า GT200 ตั้งเยอะ ว่ามะ ?
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น