หัวหน้าสถานีส่วนใหญ่คงเคยได้ไปประชุมที่เมืองทอง แล้วมีผู้บังคับบัญชาระดับ ตร. เคยกล่าวถึงการ "รับคดีตามจริง" เพื่อให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้รู้สถิติคดีอาญาที่แท้จริง แบบไม่มีการ ดำคดี เป่าคดี ซึ่งเชื่อว่าจะมีคดีจริงมากกว่าในปัจจุบันประมาณ 2 เท่า ! เป็นอย่างน้อย
เมื่อรู้คดีตามจริงว่ามีมากกว่าปัจจุบัน จะได้ทำเรื่องของบประมาณประจำปีให้ถูกต้อง สอดคล้องกับปริมาณงานที่เกิดขึ้น รวมทั้งขอกำลังพลด้านงานสอบสวนเพิ่มเติมจากปัจจุบัน ที่มีไม่เพียงพอ
ดังนั้นผู้บังคับบัญชาระดับ ตร. จึงแจ้งให้ทราบว่าทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีนโยบายที่จะให้พนักงานสอบสวนรับคดีตามที่เกิดขึ้นจริง โดยจะไม่มีการคำนวนตัวชี้วัดคดีเกิด-จับ แต่อย่างใด หัวหน้าสถานีตำรวจที่รับนโยบายมา ก็นำมาถ่ายทอดต่อยังพนักงานสอบสวนในสังกัด
แต่ในขณะเดียวกับในระดับ บช. ผู้บัญชาการนครบาล และ ภูธร 1 - 9 , ศชต. กลับนำสถิติตัวเลขคดีเกิด-จับ มาเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จ โดยตั้งค่าตามระบบ POLIS ที่คำนวนสถิติย้อนหลัง 3 ปี ทั้งในระดับกองบัญชาการ และสถานีตำรวจ จะต้องผ่านกลุ่มคดีอาญา กลุ่ม 1 ความผิดเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย และ กลุ่ม 2 ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์
หากมีสถานีตำรวจใด ไม่ผ่านเป้าในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งข้างต้น ก็จะถูกตรวจสอบ ไล่บี้กันทุกเดือน จนเกิดปัญหาสะท้อนมายังพนักงานสอบสวน ถ้าไม่อยากถูกไล่บี้ ก็ต้องรับความเสี่ยง "ไม่รับคดี" จนกว่าจะได้ตัวผู้ต้องหา
พอมีข้อร้องเรียนเข้ามา ก็ไปลงโทษลงทัณฑ์พนักงานสอบสวน - หัวหน้าสถานี ซึ่งทำตามนโยบายของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แต่กลับขัดกับนโยบายระดับกองบัญชาการ
เรื่องแบบนี้ทำให้พี่น้องตำรวจทั่วประเทศ ไม่รู้จะปฏิบัติตัวอย่างไรแน่ คนนึงจะเอาอย่าง อีกคนจะเอาอีกอย่าง ทำไมระดับ ตร. จึงไม่คุยกับระดับ บช. ให้รู้เรื่องว่าตกลงจะเอางบประมาณ + คนเพิ่ม หรือจะเอาตัวเลขสวย ๆ ไปคุยกันซะให้เรียบร้อยก่อนได้ไหมห๊ะ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น