เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ประกาศ ราชกิจจานุเบก เล่ม 133 ตอนที่ 60 ก ลงวันที่ 15กรกฎาคม 2559 กฎ ก.ตร.ว่าด้วยการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ พ.ศ. 2559 ประกอบด้วย 4 หมวด 30 ข้อ ความว่า
อาศัยอำนาจตาม พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ซึ่งแก้ ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประกอบกับมติ ก.ตร. ในการประชุมครั้งที่ 7/2559 เมื่อวันที่22 มิถุนายน พ.ศ.2559 จึงออกกฎ ก.ตร. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 กฎ ก.ตร. นี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ 2 กฎ ก.ตร. นี้ ให้ใช้บังคับในการคัดเลือก การทำความตกลงกัน การให้ความเห็นชอบและการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับจเรตำรวจแห่งชาติและรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติลงมาถึงผู้บังคับหมู่
ข้อ 3 ให้ยกเลิกกฎ ก.ตร. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งและโยกย้ายข้าราชการตำรวจระดับสารวัตรถึงจเรตำรวจแห่งชาติและรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2549 และกฎ ก.ตร.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ พ.ศ. 2558บรรดากฎ ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง หลักเกณฑ์ แนวทางปฏิบัติหรือการดำเนินการอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในกฎ ก.ตร. นี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับกฎ ก.ตร. นี้ ให้ใช้กฎ ก.ตร. นี้แทน
ข้อ 6 การคัดเลือกหรือแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ให้คำนึงถึงหน้าที่ความรับผิดชอบในการดูแลทุกข์สุขของราษฎรเป็นสำคัญ โดยยึดในหลักการที่ว่า ทุกพื้นที่ในราชอาณาจักรไทยจำเป็นที่ข้าราชการตำรวจมีภารกิจที่จะต้องปฏิบัติราชการทั้งสิ้น จึงให้ผู้มีอำนาจสามารถดำเนินการคัดเลือกหรือแต่งตั้งข้าราชการตำรวจไปดำรงตำแหน่งในลักษณะงานหรือพื้นที่อื่นที่ต่างจากเดิมได้ เพื่อให้ข้าราชการตำรวจเกิดการเรียนรู้ การทำงานรอบด้าน หรือพื้นที่ที่หลากหลาย อันจะเกิดประโยชน์ต่อทางราชการ
ข้อ 7 ให้มีการคัดเลือกหรือแต่งตั้งข้าราชการตำรวจในทุกระดับตำแหน่งพร้อมกันปีละหนึ่งครั้ง เรียกว่า “วาระประจำปี” โดยการคัดเลือกแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำเนินการตามห้วงระยะเวลาของทุกปี ดังนี้
(1) ตำแหน่งระดับผู้บังคับการถึงจเรตำรวจแห่งชาติและรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติให้แล้วเสร็จ
ภายในวันที่ 31 สิงหาคม
(2) ตำแหน่งระดับสารวัตรถึงรองผู้บังคับการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน
(3) ตำแหน่งระดับรองสารวัตรลงมาให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 มกราคม
การแต่งตั้งนอกวาระประจำปีตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่เป็นกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็น ต้องดำเนินการแต่งตั้งซึ่งไม่อาจรอวาระประจำปีได้ โดยได้รับความเห็นชอบจากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติก่อนการคัดเลือกหรือการแต่งตั้งที่ได้เริ่มดำเนินการแต่ไม่แล้วเสร็จภายในเวลาตามวรรคหนึ่งให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเสนอ ก.ตร. เพื่อขอรับความเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการดำเนินการ และไม่ถือว่าการดำเนินการที่ทำมาแล้วต้องเสียไป
ข้อ 8 ให้ข้าราชการตำรวจซึ่งดำรงตำแหน่งระดับรองผู้บังคับการลงมา แจ้งภูมิลำเนาและจังหวัดที่ครอบครัวพักอาศัยตามรูปแบบที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติกำหนดไปยังหัวหน้าหน่วยต้นสังกัดภายในวันที่ 31 กรกฎาคม ของทุกปีในกรณีที่ผู้ใดไม่ได้แจ้งภูมิลำเนาและจังหวัดที่ครอบครัวพักอาศัย หรือไม่ได้แจ้งเปลี่ยนแปลงสถานที่ไปจากที่ได้แจ้งไว้เดิมภายในระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าผู้นั้นมีภูมิลำเนาและจังหวัดที่ครอบครัวพักอาศัย ณ ที่อยู่ ซึ่งปรากฏตามหลักฐานของทางราชการหรือตามที่อยู่ที่ได้แจ้งไว้เดิมแล้วแต่กรณี โดยไม่ประสงค์ที่จะโต้แย้งหรือเรียกร้องสิทธิจากผู้บังคับบัญชา
หมวด 2 หลักเกณฑ์การคัดเลือกหรือแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ
บทที่ 1การคัดเลือกหรือแต่งตั้งเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น
ข้อ 16 การคัดเลือกหรือแต่งตั้งข้าราชการตำรวจเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นตั้งแต่ระดับจเรตำรวจแห่งชาติและรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติลงมาถึงระดับสารวัตร ให้ผู้มีอำนาจพิจารณาจากผู้ที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
- ระดับตำแหน่ง ผู้ช่วย ผบ.ตร. เลื่อนเป็น จตช. และ รอง ผบ.ตร.ต้องมียศ พล.ต.ท. ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งในแต่ละระดับไม่น้อย 1 ปี
- ผบช. เลื่อนเป็น ผู้ช่วย ผบ.ตร. ยศ พล.ต.ท.ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งในแต่ละระดับไม่น้อย 1 ปี
- รอง ผบช. เลื่อนเป็น ผบช. ยศ พล.ต.ต.ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งในแต่ละระดับไม่น้อย 1ปี
- ผบก. เลื่อนเป็น รอง ผบช. ยศ พล.ต.ต.ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งในแต่ละระดับไม่น้อย 2 ปี
- รอง ผบก. เลื่อนเป็น ผบก. ยศ พ.ต.อ.(พิเศษ) ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งในแต่ละระดับไม่น้อย 5 ปี และมีคุณสมบัติ ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์การเลื่อนยศเป็น พล.ต.ต.
- ผกก. เลื่อนเป็น รอง ผบก. ยศ พ.ต.อ. ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งในแต่ละระดับไม่น้อย 5 ปี
- รอง ผกก. เลื่อนเป็น ผกก. ยศ พ.ต.ท. ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งในแต่ละระดับไม่น้อย4 ปี
- สว. เลื่อนเป็น รอง ผกก. ยศ พ.ต.ท.ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งในแต่ละระดับไม่น้อย 6 ปี
- รอง สว. เลื่อนเป็น สว. ยศ ร.ต.อ. ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งในแต่ละระดับไม่น้อย 7 ปี
ในกรณีที่เป็นการเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นในตำแหน่งควบปรับระดับเพิ่ม – ลดได้ในตัวเองทุกกรณีให้มีระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง เป็นไปตามระเบียบหรือหลักเกณฑ์ว่าด้วยการนั้น
ข้อ 18 ข้าราชการตำรวจระดับรองผู้บังคับการลงมาที่จะร้องขอรับการแต่งตั้งสับเปลี่ยนหมุนเวียน
ในระดับตำแหน่งเท่าเดิม ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
(1) มีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งครั้งสุดท้ายไม่น้อยกว่าสองปี
(2) ดำรงตำแหน่งที่ได้รับการบรรจุแต่งตั้งเป็นข้าราชการตำรวจครั้งแรกหรือแต่งตั้งเลื่อนชั้น
เป็นข้าราชการตำรวจชั้นประทวนหรือชั้นสัญญาบัตรครั้งแรกไม่น้อยกว่าสองปี
(3) ไม่อยู่ภายใต้เงื่อนไขท้ายคำสั่งบรรจุแต่งตั้งข้าราชการตำรวจครั้งแรก
(4) ไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาปรับให้ได้รับอัตราเงินเดือนตามคุณวุฒิ
ข้อ20ผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าสถานีตำรวจระดับผู้กำกับการ เมื่อดำรงตำแหน่งเดียวติดต่อกันครบสี่ปี ให้แต่งตั้งสับเปลี่ยนหมุนเวียนไปดำรงตำแหน่งอื่นทุกราย
สำหรับข้าราชการตำรวจตามวรรคหนึ่ง ที่จะครบกำหนดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนอกวาระประจำปีให้ดำเนินการในวาระประจำปีถัดไป
วิธีการคัดเลือกหรือแต่งตั้งของผู้มีอำนาจ
ข้อ 28 การคัดเลือกหรือแต่งตั้งข้าราชการตำรวจเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นให้พิจารณา ดังนี้
(๑) ข้าราชการตำรวจที่จะคัดเลือกแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับจเรตำรวจแห่งชาติและรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติลงมาถึงระดับผู้บังคับการ ให้พิจารณาเรียงตามลำดับอาวุโสจำนวนร้อยละ 33 ของจำนวนตำแหน่งว่างในแต่ละระดับตำแหน่งในภาพรวมของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
(2) ข้าราชการตำรวจที่จะแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับรองผู้บังคับการลงมาถึงระดับสารวัตรให้พิจารณาเรียงตามลำดับอาวุโสจำนวนร้อยละ 33ของจำนวนตำแหน่งว่างในแต่ละระดับตำแหน่ง ของหน่วยนั้น ทั้งนี้ ในการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจดังกล่าว ให้ใช้บังคับกับการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจซึ่งดำรงตำแหน่งทั่วไป ที่มิใช่ตำแหน่งเฉพาะทาง เว้นแต่ผู้นั้นได้ดำรงตำแหน่งระดับสูงสุดของตำแหน่งเฉพาะทางในหน่วยนั้นแล้ว
ข้อ 29 การแต่งตั้งนายเวรและหรือผู้ช่วยนายเวรของผู้บังคับบัญชาระดับผู้ช่วยผู้บัญชาการ ตำรวจแห่งชาติขึ้นไปและผู้บัญชาการประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือจเรตำรวจไปดำรงตำแหน่งอื่นให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมีอำนาจพิจารณาจัดสรรตำแหน่งในหน่วยต่าง ๆ เพื่อใช้รองรับการแต่งตั้งแล้วให้หน่วยที่เกี่ยวข้องแต่งตั้งไปดำรงตำแหน่งในสังกัดตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป โดยให้พิจารณา ดังนี้
(1) กรณีผู้บังคับบัญชาเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น ให้แต่งตั้งผู้นั้นไปดำรงตำแหน่งในหน่วยเดิมเป็นลำดับแรกหากมีตำแหน่งไม่เพียงพอรองรับการแต่งตั้งหรือกระทบกับการบริหารงานบุคคลของหน่วยเดิมให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติพิจารณาจัดสรรตำแหน่งในหน่วยอื่นได้ตามความเหมาะสม
(2) กรณีผู้บังคับบัญชาพ้นจากราชการไม่ว่ากรณีใด ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติพิจารณา
จัดสรรตำแหน่งในหน่วยต่าง ๆ ได้ตามความเหมาะสม
หมวด 4 การทำความตกลงกัน
ข้อ 30 การทำความตกลงกันในการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจระดับรองผู้บังคับการลงมาให้หัวหน้าหน่วยระหว่างหน่วยต้นสังกัดกับหน่วยที่ประสงค์จะแต่งตั้งข้าราชการตำรวจประสานทำความตกลงกันให้ปรากฏเป็นหลักฐานไว้
ให้ไว้ ณ วันที่ 6กรกฎาคม พ.ศ.2559
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ
รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
ประธานกรรมการข้าราชการตำรวจ
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.ตร. ฉบับนี้ คือ โดยที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้มีคำสั่งที่ 44/2558 ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2558 แก้ไขมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติพ.ศ. 2547โดยให้ ก.ตร. ออกกฎ ก.ตร. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งและโยกย้ายข้าราชการตำรวจไว้ให้ชัดเจนแน่นอนเพื่อรักษาความเที่ยงธรรมในการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ ประกอบกับกฎ ก.ตร. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ พ.ศ. 2558 ซึ่งกำหนดให้นำกฎ ก.ตร. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งและโยกย้ายข้าราชการตำรวจระดับสารวัตร ถึงจเรตำรวจแห่งชาติและรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติพ.ศ. 2549มาใช้บังคับ ได้ประกาศใช้มาเป็นระยะเวลานาน สมควรได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องเหมาะสมกับการบริหารงานบุคคลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.ตร. ฉบับนี้
ข้อสังเกตุ การเติบโตของข้าราชการตำรวจตั้งแต่ระดับ รองสารวัตร - รองผู้บังคับการ ถูกขยายเวลาออกไป ส่วนระดับผู้บังคับการ - ผบ.ตร. นั้นการครองตำแหน่งแทบจะตำแหน่งละปีเลยทีเดียว เหมือนชักบันไดหนี เพราะมีผู้การบางท่านที่เพิ่งขึ้นได้ประโยชน์เต็ม ๆ ทำให้คนที่จะตามมาต้องทอดเวลาออกไปอีก เรียกว่าผู้การท่านนั้นมีโอกาสเป็น ผบ.ตร. ในอีก 10 ปีข้างหน้าสูงมาก ๆ .... หิวล่ะ ไปกินโจ๊กดีกว่า 555
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น