ในปัจจุบันประเทศไทยกำลังเข้าสู่ยุค "สังคมสูงวัย" นั่นคือเราจะมีสัดส่วนผู้สูงอายุมากขึ้น ในขณะที่ประชากรที่อยู่ในวัยแรงงาน(25-59 ปี) ลดลง ทางภาครัฐจึงได้พยายามแก้ปัญหา โดยให้มีการจ้างงานกับผู้สูงอายุที่ยังมีความรู้ ความสามารถ และสุขภาพดีพอจะปฏิบัติงานได้ เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถเลี้ยงตนเองได้ ไม่เป็นภาระกับผู้อื่น หลังจากรัฐประหารยึดอำนาจมาแล้วก็ได้แต่งตั้ง สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่อายุเกิน 60 เข้ามาทำงานเพียบ จนทำให้ สนช. มีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 64 ปี(อายุมากสุดคือ สมพร เทพสิทธา อดีตรองปลัดกระทรวงเศรษฐการ อายุ 92 ปี ... ว่าว) ข้อมูลจาก ilaw
ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติก็เช่นกัน มีแนวคิดจะจ้างงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจวัยเกษียณ โดยเริ่มจากการจ้างมาทำหน้าที่ พนักงานวิทยุ โดยเป็นตำแหน่งหน้าที่ ที่ไม่ต้องใช้กำลังกายอะไรมากมาย มีความชำนาญในการสื่อสารพอสมควร แต่ยังไงก็ต้องพร้อมรับหน้าที่และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เพิ่มเข้ามา เพราะนอกจากใช้วิทยุสื่อสารเป็นหลักแล้ว ยังมีคอมพิวเตอร์ สำหรับสื่อสารในรูปแบบอื่น ๆ อาทิ ไลน์ , อีเมล รวมทั้งการค้นหาหมายจับออนไลน์ การส่งแฟกซ์ ฯลฯ
ในสถานีตำรวจหนึ่ง ๆ ก็จะมีพนักงานวิทยุประจำอยู่ 3 คน ผลัดเวรกัน ส่วนมากจะเข้า 24 ชม. ต้องดูว่าบุคคลที่อายุเกินกว่า 60 ปี จะทำงานไหวหรือไม่ ถ้าได้ก็น่าจะช่วยจ้างงานได้มากกว่า 5,000 อัตรา ทั่วประเทศเลยทีเดียว(รวมศูนย์ 191) โดยลักษณะการจ้างน่าจะเป็นแบบลูกจ้างชั่วคราว มีสัญญาจ้างรายละไม่เกิน 1 ปี มีการประเมินผลงานทุกปี อาจจำกัดอายุที่ไม่เกิน 70 ปี
ก็ต้องรอดูกันต่อไปครับว่าสิ่งที่คิดไว้จะเป็นจริงได้ขนาดไหน เพราะหลายอย่างที่ทาง ตร. ตั้งใจดำเนินการ ก็ยังไม่สำเร็จหลายอย่าง อาทิ ตำรวจเกณฑ์ , เบอร์เดียวแจ้งเหตุ 191 เอาเป็นว่าถ้าชัดเจนเมื่อไหร่จะแจ้งให้ทราบอีกทีครับ
นายอดิศักดิ์ ธานีเนียม
ตอบลบก็เพราะเป็นแผนกงานที่ 1. มีความจำเจ อยู่แต่ในห้องสี่เหลี่ยมทั้งวัน 2. ผู้บังคับบัญชาไม่ค่อยเห็นหรือไม่ให้ความสำคัญ หรือไม่ค่อยให้ความสนใจ 3.บางโรงพักก็ทำเหมือนเป็นแผนกงานที่ไว้ลงโทษตำรวจที่ทำผิด
ตอบลบ