รายงานข่าวแจ้งว่าเมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 61 ที่ผ่านมา พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร. ได้เดินทางจากประเทศไทยโดยสายการบินไทย เที่ยวบิน TG 930 ไปยังกรุงปารีส ฝรั่งเศส ในภารกิจติดตามตัว อดีตพระพรหมเมธี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศารามวรวิหาร ผู้ต้องหาคดีเงินทอนวัด ที่หลบหนีและขอลี้ภัยที่ประเทศเยอรมนี
ถือเป็นการบินไปประสานขอตัวผู้ต้องหาดังกล่าวเป็นครั้งที่ 2 ในระยะเวลาห่างกันไม่กี่วัน หลังจากที่ครั้งแรกทางการเยอรมนีปฏิเสธการมอบตัวผู้ต้องหา และรับเข้าสู่กระบวนการพิจารณาขอลี้ภัยทางการเมือง
โดยคาดว่าในครั้งนี้ทาง ผบ.ตร. จะได้ขอประสานความช่วยเหลือจากตำรวจสากล ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองลียง ประเทศฝรั่งเศส เพื่อให้ช่วยเจรจาขอความร่วมมือกับทางการเยอรมนีในการรับตัว อดีตพระพรหมเมธี มาดำเนินคดีในประเทศไทย
น่าสนใจว่าคดีนี้ระดับ ผบ.ตร. ต้องบินไปถึง 2 ครั้ง 2 ครา ในเวลาห่างกันไม่กี่วัน อดีตพระพรหมเมธี เป็นผู้ต้องหาสำคัญระดับนั้นเลยหรือ ดูจากข้อกล่าวหาที่ตั้งมาก็ไม่น่าจะใช่ ถึงเป็นผู้ก่อความไม่สงบในภาคใต้ การประสานรับตัวอาจไม่ถึงระดับ ผบ.ตร. ด้วยซ้ำ จึงเป็นที่กังขาของสังคมถึงท่าที และความกระตือรือร้นของ ผบ.ตร. ในครั้งนี้
ส่วนสาเหตุที่พระพรหมเมธี ต้องหลบหนีและต้องขอสิทธิ์เป็นผู้ลี้ภัยให้ได้ เนื่องจากรู้ตัวว่ากระทำผิดร้ายแรง ไม่ใช่แค่คดีทุจริตเงินทอนวัดเท่านั้น แต่ยังมีเรื่องเสื่อมเสียอื่นๆ โดยเฉพาะประเด็นมลทินที่มีสีกาใกล้ชิด ไปไหนมาไหนด้วยกันบ่อยครั้ง และยังพาออกงานสำคัญๆ รวมถึงงานพิธีด้วย ทำให้เมื่อตกเป็นผู้ต้องหาคดีเงินทอนวัด จึงตัดสินใจหลบหนีทันที
สำหรับประวัติพระพรหมเมธี (จำนงค์ ธมฺมจารี) นามเดิม จำนงค์ เอี่ยมอินทรา อายุ 77 ปี เป็นชาวต.บางระทึก อ.สามพราน จ.นครปฐม บรรพชาเมื่อวันที่ 16 มิ.ย. 2495 ที่วัดราษฎร์บำรุง แขวงหลักสอง เขตบางแค กรุงเทพฯ อุปสมบทเมื่อวันที่ 26 พ.ย. 2504 ที่วัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ ต่อมาเป็นกรรมการสนามหลวง แผนกธรรม, เป็นเลขานุการวัดสัมพันธวงศ์, เป็นครูพระปริยัติธรรมประจำสำนักเรียนวัดสัมพันธวงศ์, เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ และเป็นกรรมการสงฆ์, เป็นกรรมการเถรสมาคมธรรมยุต ตั้งแต่ปี 2535 ปี 2544 เป็นเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต ปี 2546 เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม สมณศักดิ์ล่าสุด ปี 2553 เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ ในราชทินนามที่ "พระพรหมเมธี สีลาจารวัตรวิมล โสภณปริยัติดิลก สาธกธรรมวิจิตร พิพิธศาสนกิจจาทร ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี"
กระทั่งมีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ปลดออกจากสมณศักดิ์ เมื่อวันที่ 29 พ.ค.ที่ผ่านมา พร้อมกับ พระพรหมสิทธิ (ธงชัย สุขโข) วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร, พระพรหมดิลก (เอื้อน กลิ่นสาลี) วัดสามพระยา, พระราชอุปเสณาภรณ์ (สมณศักดิ์เดิมคือ พระเมธีสุทธิกร) (สังคม สังฆะพัฒน์) วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร, พระราชกิจจาภรณ์ (สมณ ศักดิ์เดิมคือ พระวิจิตรธรรมาภรณ์) (เทอด วงศ์ชะอุ่ม) วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร, พระอรรถกิจโสภณ (สมทรง อรรถกฤษณ์) วัดสามพระยา และพระศรีคุณาภรณ์ (บุญทวี คํามา) วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร รวม 7 รูป
ส่วนสาเหตุที่พระพรหมเมธี ต้องหลบหนีและต้องขอสิทธิ์เป็นผู้ลี้ภัยให้ได้ เนื่องจากรู้ตัวว่ากระทำผิดร้ายแรง ไม่ใช่แค่คดีทุจริตเงินทอนวัดเท่านั้น แต่ยังมีเรื่องเสื่อมเสียอื่นๆ โดยเฉพาะประเด็นมลทินที่มีสีกาใกล้ชิด ไปไหนมาไหนด้วยกันบ่อยครั้ง และยังพาออกงานสำคัญๆ รวมถึงงานพิธีด้วย ทำให้เมื่อตกเป็นผู้ต้องหาคดีเงินทอนวัด จึงตัดสินใจหลบหนีทันที
สำหรับประวัติพระพรหมเมธี (จำนงค์ ธมฺมจารี) นามเดิม จำนงค์ เอี่ยมอินทรา อายุ 77 ปี เป็นชาวต.บางระทึก อ.สามพราน จ.นครปฐม บรรพชาเมื่อวันที่ 16 มิ.ย. 2495 ที่วัดราษฎร์บำรุง แขวงหลักสอง เขตบางแค กรุงเทพฯ อุปสมบทเมื่อวันที่ 26 พ.ย. 2504 ที่วัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ ต่อมาเป็นกรรมการสนามหลวง แผนกธรรม, เป็นเลขานุการวัดสัมพันธวงศ์, เป็นครูพระปริยัติธรรมประจำสำนักเรียนวัดสัมพันธวงศ์, เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ และเป็นกรรมการสงฆ์, เป็นกรรมการเถรสมาคมธรรมยุต ตั้งแต่ปี 2535 ปี 2544 เป็นเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต ปี 2546 เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม สมณศักดิ์ล่าสุด ปี 2553 เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ ในราชทินนามที่ "พระพรหมเมธี สีลาจารวัตรวิมล โสภณปริยัติดิลก สาธกธรรมวิจิตร พิพิธศาสนกิจจาทร ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี"
กระทั่งมีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ปลดออกจากสมณศักดิ์ เมื่อวันที่ 29 พ.ค.ที่ผ่านมา พร้อมกับ พระพรหมสิทธิ (ธงชัย สุขโข) วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร, พระพรหมดิลก (เอื้อน กลิ่นสาลี) วัดสามพระยา, พระราชอุปเสณาภรณ์ (สมณศักดิ์เดิมคือ พระเมธีสุทธิกร) (สังคม สังฆะพัฒน์) วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร, พระราชกิจจาภรณ์ (สมณ ศักดิ์เดิมคือ พระวิจิตรธรรมาภรณ์) (เทอด วงศ์ชะอุ่ม) วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร, พระอรรถกิจโสภณ (สมทรง อรรถกฤษณ์) วัดสามพระยา และพระศรีคุณาภรณ์ (บุญทวี คํามา) วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร รวม 7 รูป
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น