ข้อผิดพลาดร้ายแรง12ประการ
ที่ทำให้ตำรวจเสียชีวิตในขณะปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งรวบรวมและเรียบเรียงโดย พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง, วิลเลียม ดับเบิลยู โท๊ด(บิล)อดีตผู้บัญชาการตำรวจเมืองโอ๊คแลนด์ และ พ.ต.ท.ปฏิญญา บุญผดุง สว.ฝอ.บก.ป โดยมีรายละเอียดดังนี้
1.การขาดสติ หากท่านออกปฏิบัติหน้าที่โดยขาดสติหรือนำเอาปัญหาส่วนตัวมาคิดฟุ้งซ่านในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ ท่านได้เริ่มก่อความผิดพลาดซึ่งอาจทำให้ตัวท่านหรือเพื่อนร่วมงานประสบภัยถึงแก่ชีวิตได้
2.ความกล้าแบบบ้าบิ่น ใครๆก็รู้ว่าท่านเป็นคนกล้าแต่ในสถานการณ์ที่มีเวลาเพียงพอ ต้องรอกำลังสนับสนุน ท่านไม่ควรรีบจับกุมแบบเสี่ยงอันตรายโดยลำพัง และไม่มีกำลังสนับสนุน
3.การพักผ่อนไม่เพียงพอ การปฏิบัติหน้าที่ท่านจะต้องตื่นตัวอยู่เสมอ การมาทำงานด้วยความง่วงหาวนอนนั้นไม่เพียงแต่ผิดระเบียบแบบแผนเท่านั้น แต่ยังทำให้ตัวท่าน ชุมชนหรือเพื่อนร่วมงาน ทั้งหมดตกอยู่ในอันตราย
4.การอยู่ในตำแหน่งที่เสียเปรียบ อย่าปล่อยให้ผู้ต้องสงสัยที่ท่านกำลังซักถาม ตรวจสอบ หรือผู้ที่ท่านกำลังจับกุม อยู่ในตำแหน่งหรือทำเลที่ได้เปรียบเหนือท่านหรือยานพาหนะของท่าน เพราะสถานการณ์อันตรายอาจเกิดขึ้นได้ทุกขณะ
5.สัญญาณอันตราย ท่านจะรับรู้หรือรู้สึกได้เองถึงสัญญาณอันตราย ความเคลื่อนไหว รถแปลกๆสิ่งบอกเหตุที่เตือนให้ท่านระมัดระวังและดำเนินการด้วยความระมัดระวังทุกฝีก้าว รู้จังหวะของท่าน รู้จักชุมชนและสังเกตว่ามีอะไรแปลกไปจากเดิมหรือไม่
6.การไม่สังเกตมือผู้ต้องหา ต้องดูว่าผู้ต้องหากำลังเอื้อมมือไปหยิบอาวุธเพื่อทำร้ายท่านหรือไม่ คนร้ายที่ทำร้ายเจ้าหน้าที่มักจะใช้มือทั้งสิ้น
7.ความชะล่าใจ ความเคยชินกับสัญญาณเตือนภัยที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นจริง ต้องเฝ้าสังเกตความเคลื่อนไหว อย่าคิดว่าเป็นการปฏิบัติงานแบบจำเจหรืออย่าคิดว่าเป็นเพียงสัญญาณเตือนภัยที่อาจจะไม่เกิดขึ้นจริง ความหละหลวมจะทำให้ชีวิตของท่านตกอยู่ในอันตราย
8.การไม่ใช้กุญแจมือหรือใช้โดยผิดวิธี เมื่อท่านได้เข้าทำการจับกุม ต้องรีบสวมกุญแจมือผู้ต้องหา อย่างถูกวิธีในทันที(ควรนำมือไพล่หลัง)
9.การไม่ตรวจค้นตัวหรือตรวจค้นผู้ต้องหาไม่ละเอียด ผู้ต้องหาสามารถที่จะซ่อนอาวุธไว้ได้หลายที่ ทั้งในร่างกายและยานพาหนะซึ่งความผิดพลาดของท่านในการตรวจค้น เปรียบเสมือนเป็นอาชญากรรมต่อเพื่อนร่วมงาน อาชญากรจำนวนมากมักพกพาอาวุธหลายอย่างและพร้อมที่จะใช้อาวุธเหล่านั้นกับท่าน
10.อาวุธประจำกายที่ไม่ได้รับการดูแลรักษาหรือไม่สามารถใช้งานได้ อาวุธของท่านสะอาดหรือไม่ ปืนและลูกกระสุนใช้การได้หรือไม่ ท่านได้ทดสอบยิงปืนครั้งสุดท้ายเมื่อไร ท่านสามารถยิงถูกเป้าหมายในสถานการณ์ยิงต่อสู้ได้หรือไม่ จะมีประโยชน์อะไรถ้าพกพาอาวุธที่ใช้งานไม่ได้
11.ไม่ใช้ยุทธวิธีที่เหมาะสมกับสถานการณ์ ในการจับกุมตรวจค้น ต้องใช้ยุทธวิธีที่เหมาะสม ปกติจะใช้2คนต่อ1ทีม คือเจรจา-ตรวจค้น 1คน คุ้มกัน1คน แต่ในพื้นที่ที่มีสถานการณ์รุนแรงเช่นสามจังหวัดชายแดนใต้จึงปรับยุทธวิธีให้รัดกุมมาก คือ3คนต่อ1ทีม กรณีการตั้งจุดตรวจ ควรวางกำลังคุ้มกันด้านหลังจุดตรวจด้วย
12.ไม่ฝึกทบทวนยุทธวิธีอย่างสม่ำเสมอ เจ้าหน้าที่ต้องได้รับการฝึกทบทวนยุทธวิธีอยู่เสมอ(Contact and Cover) เช่นการใช้กุญแจมือ การต่อสู้ด้วยมือเปล่าและอาวุธ การขับรถ การตรวจค้นยานพาหนะ ตรวจค้นอาคาร สถานที่และการจับกุม เป็นต้น
ทั้ง12ข้อนี้เป็นการประมวลมาจากประสบการณ์จริงในการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจหลายร้อยนาย หากทำได้ทั้ง12ข้อ ก็จะช่วยให้ตำรวจไม่ต้องสูญเสียชีวิตโดยไม่จำเป็น
ปล. อันนี้ได้รับจากไลน์เพื่อน ๆ นะครับ บางคนอาจเคยเห็นมาแล้ว ผมเห็นว่ามีประโยชน์ เลยเอามาลงไว้ เผื่อจะได้ค้นหาได้ง่าย ๆ ยังไงก็นำไปใช้ หรือบอกต่อเพื่อนข้าราชการตำรวจกันบ้างนะครับ ถือว่าได้บุญ
8.การไม่ใช้กุญแจมือหรือใช้โดยผิดวิธี เมื่อท่านได้เข้าทำการจับกุม ต้องรีบสวมกุญแจมือผู้ต้องหา อย่างถูกวิธีในทันที(ควรนำมือไพล่หลัง)
ตอบลบวันขอ พท.คืนที่สะพานผ่านฟ้า จับแกนนำ อ.สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ได้แล้วนำมาควบคุมไว้ที่รถผู้ต้องขัง จนท.ถาม อ.สมเกียรติว่า อาจารย์ จะหนีไหม ถ้าผมจะแก้มัด อ.สมเกียรติบอกว่า ไม่หนี
ต่อมามีเสียงระเบิด ตามด้วยเสียงปืน จนท.ที่ประจำรถควบคุม หาที่หลบ มีชายชุดโม่ง2-3คนมาช่วยพา อ.สมเกียรติหนีออกไปได้
ข้อสังเกตุ
1.ทำไมไม่สวม กุญแจมือ ไพล่หลัง
2.บุคคลระดับแกนนำ ควรพาขึ้นรถหวอไปสถานีตำรวจทันที
ถ้าเสียงระเบิด และปืน มาจากแรงจูงใจที่ต้องการชิงผู้ต้องหา
ต้องถือการการปฏิการครั้งนี้ มีข้อผิดพลาดร้ายแรง สมควรสอบสวน ลงโทษทางวินัย จนท.