หน่วยงานรัฐหลาย ๆ หน่วยมีการจัดเก็บรายได้จากค่าบริการต่าง ๆ โดยไม่ต้องส่งเข้าคลัง แต่เก็บไว้เอง เพื่อนำมาเป็นกองทุนพัฒนาหน่วยงาน หรือเป็นสวัสดิการแก่เจ้าหน้าที่ โดยมีคณะกรรมการจัดสรรดูแลอย่างเป็นระบบ(ตามความเข้าใจของข้าน้อย ^^) เช่น
- สนามกอล์ฟในค่ายทหาร หัวหน้าหน่วยนั้น ๆ สามารถบริการเงินรายได้เอง ซึ่งมีทั้ง กรีนฟี , ค่าเช่ารถกอล์ฟ , ค่าแค้ดดี้ , สนามไดร์ฟ , คลับเฮาส์ ฯลฯ
- ตลาดนัด หรือการ ออกร้าน OTOP ในสถานที่ราชการ ก็เก็บค่าเช่าร้าน หรือค่าจอดรถ ค่าน้ำ ค่าไฟ ต่าง ๆ
- โรงพยาบาล เก็บค่ารักษา , คลินิคนอกเวลา , ค่ายาส่วนเกิน ฯลฯ
- สำนักงานที่ดิน เก็บค่ารังวัด , ค่าถ่ายเอกสาร , คัดสำเนา ฯลฯ
- ศาล มีการเก็บค่าธรรมเนียมต่าง ๆ
เหล่านี้เป็นต้น ซึ่งมีการจัดเก็บกันเป็นปกติ ประชาชนก็ไม่โต้แย้งใด ๆ จึงเห็นว่าหากตำรวจเราจะมีการจัดเก็บค่าบริการบ้างในงานบางงาน เพื่อวัตถุประสงค์ข้างต้นก็น่าจะทำได้ โดยจะต้องจัดเก็บในราคาที่ไม่ทำให้ประชาชนเดือดร้อน และเป็นไปตามสมควร ดังนี้
1.ค่าบริการเขียนประจำวันเอกสารหาย และ ลงประจำวันเป็นหลักฐาน(แต่ก่อนเห็นมีเก็บอยู่ แต่ก็ยกเลิกกันไปโดยปริยาย) แผ่นละ 10 - 20 บาท โดยแบ่งให้เจ้าหน้าที่ผู้เขียน 50 % เข้ากองทุนสถานี 30 % และ เข้ารัฐ 20 % ปัจจุบันบางแห่งก็เก็บบ้าง ไม่เก็บบ้าง ประชาชนให้เองบ้าง ไม่มีมาตรฐาน ทำให้อาจเกิดข้อขัดแย้งขึ้นได้
2.ค่าพิมพ์มือตรวจสอบประวัติ ก่อนนี้ไม่เก็บ ปัจจุบันเก็บ 100 บาท ส่งให้กับ กองทะเบียนประวัติ แต่คนพิมพ์มือ ทำเอกสารที่สถานี ไม่ได้อะไร แถมยังต้องเสียค่าไปรษณีย์ส่งไปกองทะเบียนประวัติ และเมื่อได้รับผลแล้วก็ส่งไปรษณีย์ต่อไปยังเจ้าตัวอีกต่อหนึ่ง เห็นควรเก็บเพิ่มเป็น 150 - 200 บาท โดยให้กองทะเบียน 100 บาท ส่วนต่าง ให้เจ้าหน้าที่พิมพ์มือ 50 % เข้ารัฐ 20 % เข้ากองทุนสถานี 30 % (เป็นค่าใช้จ่ายในการส่งไปรษณีย์ ซื้อสบู่ล้างมือใหักับผู้มาพิมพ์มือ/ใครเคยพิมพ์จะรู้ว่ามันล้างยากมาก)
3.ค่าพิมพ์แบบฟอร์มคำร้องขอประกันตัวผู้ต้องหา ปกตินายประกันต้องทำเอง แต่ทางตำรวจก็ทำให้มาตลอด น่าจะเรียกเก็บสัก 100 บาท โดยให้เจ้าหน้าที่ 50 บาท เข้ากองทุน 30 บาท และเข้าหลวง 20 บาท
ข้างต้นนี้คือตัวอย่างของการบริการที่สามารถเก็บค่าบริการได้(อาจมีอย่างอื่นอีก) สำหรับ กองทุนพัฒนาหน่วย นั้น ควรมีคณะกรรมการประจำหน่วยที่ชัดเจน ให้มีทั้งสัญญาบัตร , ชั้นประทวน และ กต.ตร. ที่เป็นบุคคลภายนอก เพื่อให้การใช้เงินเป็นไปอย่างโปร่งใส โดยมีหลักการเพื่อพัฒนาหน่วยในด้านต่าง ๆ เช่น
1.ปรับปรุงหน่วย เช่น ทำห้อง ศปก. , ทาสี , ติดแอร์ , ซื้อ-ซ่อม คอมพิวเตอร์ ฯลฯ
2.ทำป้าย แผ่นพับ สื่อ ประชาสัมพันธ์ ในโอกาสต่าง ๆ เช่น รณรงค์วินัยจราจร , วิธีการป้องกันทรัพย์สิน ฯลฯ
3.งานด้านอื่น ๆ ที่บรรดาเจ้านายสั่งมาให้ทำ แต่ไม่มีงบประมาณมาให้
4.ซ่อมแซมบ้านพัก
ยิ่งสถานีที่อยู่ในเมืองใหญ่ ก็จะยิ่งมีการจัดเก็บรายได้ดังกล่าวที่มากขึ้น และสามารถนำมาพัฒนาหน่วยได้หลายอย่าง เป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้ปฏิบัติ หน่วยงาน และยังได้ส่งเงินให้รัฐ โดยที่ผู้มาใช้บริการไม่เดือดร้อน น่าลองทำดูนะครับเจ้านาย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น