คืนความสุข ตอน อวสานพนักงานสอบสวน - ไม่เยียวยา !

วานนี้(5 ก.พ. 59) ได้มีคำสั่ง คสช. ที่ 6/59 เรื่อง การคัดเลือกหรือการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ และ คำสั่ง คสช. ที่ 7/59 เรื่อง การกำหนดตำแหน่งของข้าราชการตำรวจซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการสอบสวน  ซึ่งได้สร้างผลกระทบในวงกว้างต่อข้าราชการตำรวจจำนวนมาก   มีการส่งข้อมูลและวิจารณ์กันมากมายในโซเชี่ยลมีเดีย

     แต่ไหนแต่ไร การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจก็ยุ่งวุ่นวายกันทุกยุค ทุกสมัย  แต่อย่างน้อยหลังการแต่งตั้ง หากใครไม่ได้รับความเป็นธรรม ก็สามารถยื่นเรื่อง ต่อ กต.ตร. เพื่อขอรับการเยียวยาได้  เช่นในการแต่งตั้งรอบปี 57 ที่ผ่านมา ในส่วนของระดับ รอง ผบก. - สว. นั้น  มีการ "ถีบ" คนจาก บช.น. , บช.ก.  ออกนอกหน่วยจำนวนมาก  เพื่อจัดที่ว่างให้กับ "คนของกู" เข้าไปแทน   โดยที่ถูกถึบออกนั้น ไม่ได้สมัครใจ ไม่ได้มีความผิดใด ๆ   การสับเปลียนตำแหน่ง แต่งตั้ง แต่ละครั้ง นั่นหมายถึงผลประโยชน์ไม่ทางใด ก็ทางหนึ่ง   ซึ่งผลของการแต่งตั้งคราวนั้น  สะท้อนให้เห็นจากหน้าสื่อ ถึงปัญหาที่แต่ละสถานีใน บช.น.  ไล่เรียงดูหัวหน้าสถานีที่มีปัญหา  เป็นผู้ที่เพิ่งย้ายเข้าใช่หรือไม่

     ผลของคำสั่งที่ 6/59 คือ  การแต่งตั้ง ตร. ตั้งแต่ 22 พ.ค. 57 - ปัจจุบัน และอนาคต(จนกว่า คสช. จะออกไป !)  เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย  ไม่สามารถร้องทุกข์ กล่าวโทษ ใด ๆ ได้อีก  รวมทั้งที่อยู่ระหว่างร้องทุกข์ , อุทธรณ์ หรือ เยียวยา ก็ตาม    กล่าวคือหลักการแต่งตั้ง ในเรื่องคุณธรรม หรือ ธรรมาภิบาล นั้นไม่จำเป็นต้องมีภายใต้เผด็จการ  หลักกฎหมายทุกอย่าง ถ้าขัดกับหลักกู ถือว่ากฎหมายนั้นสิ้นผลบังคับ  ส่วนคนที่เป็นต้นเหตุให้ต้องเยียวยา ก็ไม่ต้องรับผิดชอบอะไร แถมได้ตำแหน่งสูงขึ้นอีกด้วย  เทวดาชัด ๆ




     คำสั่งถัดมาที่คลอดในวันเดียวกันนั้นคือ คำสั่งที่ 7/59 เรื่อง การกำหนดตำแหน่งของข้าราชการตำรวจซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการสอบสวน   โดยอ้างเรื่องการปฏิรูปกระบวยอะไรซักอย่าง  ยกเลิกคำว่าพนักงานสอบสวน และ ตำแหน่งต่าง ๆ ของพนักงานสอบสวนส ออกจาก พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547  โดยจะใช้ชื่อเรียกอื่น ๆ ตามแต่ที่ ก.ตร. ที่ประดิษฐ์คำเรียก  และยังคงให้ทำงานอย่างเดิม พร้อมรับเงินประจำตำแหน่งเช่นเดิมไปก่อนจนกว่าจะบัญญัติกฎ ก.ตร.ใหม่แล้วเสร็จ ภายใน 90 วัน

     สรุปคือเชื่อว่าจากนี้สายงานสอบสวนจะไม่มีการเลื่อนไหล  ใช้การแต่งตั้งตามปกติ  มีเพียง 3 ระดับ คือ รองสารวัตร - สารวัตร - รองผู้กำกับการ   โดยให้ผู้ที่มีตำแหน่งสูงสุด และอาวุโสสุดเป็นหัวหน้างานสอบสวน  ซึ่งทั้งสามระดับนี้ต้องเข้าเวรปฏิบัติงานจริง และจะได้รับเงินประจำตำแหน่งตามเดิม  ส่วนระดับ สบ.4 ขึ้นไปนั้น  จะถูกตัดโอนตำแหน่งมาไว้ที่ บก. - บช.  เป็นนิติกรประจำ(เอาไปทำเขืออะไรตั้งเยอะ  ที่ทำงานจะนั่งตรงไหน มีงานอะไรให้ทำ หรือจะเลียนแบบบางหน่วย มี เสธ. มีผู้ทรงคุณวุฒิ เดินกันยั้วเยี้ย ฯลฯ)




     ถือเป็นบทอวสานพนักงานสอบสวน ที่อุตสาห์สร้างเป็นสถาบัน ประวัติศาสตร์ 15 ปี  ที่พยายามสร้างมาตรฐาน  มีใบประกอบวิชาชีพ  มีการอบรม  มีการเลื่อนไหลที่เป็นธรรม  มีอนาคตที่มองเห็นได้ ฯลฯ  พนักงานสอบสวนปัจจุบัน ถือว่ามีพัฒนาการ แม้จะยังไม่ถูกใจ หรือดีพอ  แต่ก็ยังถือว่าดีขึ้น  แล้วที่อุตสาห์ไปเรียน เนฯ  อ่านหนังสือเตรียมสอบเพื่อความก้าวหน้าล่ะ  งานนี้มีสมองไหลออกนอกสายงานแน่ ๆ  หรืออาจไหลไปอยู่ อัยการ ผู้พิพากษาเลยก็เป็นได้ 

     ทั้ง 2 คำสั่งนี้ ถือเป็นอีกครั้งที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นผู้ทำร้ายบุคลากร ของตนเองให้เจ็บช้ำ  โดยที่ไม่มีปี่มีขลุ่ย  ไม่มีการศึกษา หรือถกเถียงกันอย่างเปิดเผย ถึงผลดีผลเสีย  นี่หรือคือการปฏิรูปตำรวจ   คุณจะตอบคำถามผู้ใต้บังคับบัญชาได้อย่างไร  ชมรมพนักงานสอบสวนล่ะครับ จะมีท่าทีอย่างไร(ฟ้องก็ไม่ได้  นิรโทษกรรมตัวเองแบบสุดซอยไปแล้ว  เรียนกฎหมายไปทำไมครับ 55)

     ดูท่าแล้วคำสั่งแต่งตั้งอาจต้องยืดออกไปพร้อมกับการจัดการ สบ.4 - สบ.5 นี้ด้วย ซึ่งแปลว่าอาจหลุดไปถึงเมษายน 59 !! .... เอาที่พี่สบายใจเลยครับ

ปล. ขอบคุณภาพคำสั่งพร้อมคำอธิบายของ พ.ต.อ.วีร์พล  ใหญ่อรุณ ครับ
ปล.2  ได้การถอยกลับไปของ พงส. นี่ยังไม่รู้ฐานคิดของ ตร. ที่ให้ คสช. ออกคำสั่งนี้ออกมา  และไม่รู้ว่าตกลงมันจะดีขึ้น หรือเลวลงกันแน่

ความคิดเห็น