ในเรื่องของการปฏิรูปตำรวจ ที่มีการกล่าวถึง พูดถึงกันอย่างมาก และถึงขนาดมีการบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญกันเลยทีเดียว เอาให้ถูกใจพี่น้อง กปปส. เพราะในเมื่อจะเป็นคนดี ก็ต้องมีคนเลว เป็นเป้าให้โจมตี พอมีเป้าด่าแล้ว ตัวเองก็เลยดูดีขึ้มาอย่างไม่น่าเชื่อ การตำหนิตำรวจนั้นเป็นเรื่องง่ายมาก ๆ ครับ เพราะการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจนั้น ต้องสัมผัสกับประชาชนตลอด และส่วนมากก็เป็นเรื่องให้โทษ คอยจับผิดประชาชน โดยเฉพาะเรื่องจราจร ถัดมาคือการแจ้งความร้องทุกข์ ที่มีคู่กรณีสองฝ่าย ซึ่งแน่นอนว่าไม่สามารถทำให้ถูกใจทั้งสองฝ่ายพร้อมกันได้แน่
เรื่องที่เป็นภาพลบของตำรวจในสายตาประชาชน คือเรื่องการทุจริตคอรัปชั่น เรียกรับผลประโยชน์ จากพี่น้องประชาชน ซึ่งเป็นเรื่องที่สมควรจะต้องแก้ไข และสามารถแก้ไขได้ง่าย ๆ คือการ "ไม่จ่ายเงินอันมิชอบให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ" แต่ถ้าจะกล่าวถึง การทุจริตคอรัปชั่น ที่มีการสำรวจกันมาโดยองค์กรต่าง ๆ นั้น มีผลการสำรวจที่น่าสนใจดังนี้
ป.ป.ช. เผยผลสำรวจการให้สินบนหน่วยงานรัฐ พบ สำนักงานที่ดินรับสินบนมากสุด ส่วนโรงเรียนรัฐบาล จ่ายสินบนต่อหัวมากที่สุด
เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2557 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เปิดเผยผลสำรวจ เรื่อง คอร์รัปชั่นในระบบราชการไทย การสำรวจทัศนคติและประสบการณ์ของหัวหน้าครัวเรือน ซึ่งจัดทำขึ้นโดยนางผาสุก พงษ์ไพจิตร อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะ ทั้งนี้ ผลการสำรวจได้สำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง 6,000 ครัวเรือน ผลมีดังนี้
หน่วยงานที่ไปติดต่อแล้วถูกเรียกสินบนมากที่สุด
สำนักงานที่ดิน ร้อยละ 39
สถานีตำรวจ ร้อยละ 36
โรงเรียนรัฐบาล ร้อยละ 13
กรมการขนส่ง ร้อยละ 4
กรมศุลกากร ร้อยละ 3
มูลค่าเฉลี่ยของการเรียกสินบนเป็นรายครัวเรือน มากที่สุด ได้แก่
โรงเรียนรัฐบาล มูลค่าเฉลี่ย 11,796 บาท
กรมศุลกากร มูลค่าเฉลี่ย 10,538 บาท
หน่วยงานที่เรียกสินบนก้อนใหญ่ เกิน 100,000 บาทต่อราย ได้แก่ สำนักงานที่ดิน
หน่วยงานที่เรียกสินบนก้อนใหญ่ ตั้งแต่ 10,000-100,000 บาทต่อราย ได้แก่ กรมศุลกากร ตำรวจ และกรมสรรพากร
หัวหน้าครัวเรือน มองหน่วยงานใดไม่สุจริตมากที่สุด 5 ลำดับแรก ได้แก่ ตำรวจ, นักการเมือง, สภา กทม., สภาเขต และกระทรวงพาณิชย์
สถาบันที่หัวหน้าครอบครัวมีความเชื่อถือน้อยลง ได้แก่ สื่อมวลชน ระบบศาล และข้าราชการ
อย่างไรก็ตาม ในผลสำรวจนี้พบว่า มูลค่ารวมของเงินสินบนปี 2557 ลดลงจากปี 2542 ถึง 3 เท่า อยู่ที่มูลค่า 15,400 ล้านบาท โดยเหตุผลน่าจะเป็นเพราะ ข่าวสารการต่อต้านการทุจริต ทำให้ผู้ตอบระมัดระวังตัวมากขึ้น อีกทั้งการให้สินบนอาจจะให้เป็นอย่างอื่นที่ไม่ใช่ตัวเงิน ดังนั้น แม้ว่ามูลค่าเงินจะลดลง แต่ปัญหาร้ายแรงของการทุจริตก็ยังคงมีอยู่ในบางจุด
สำหรับวิธีแก้ไขปัญหา ควรให้หน่วยงานและองค์กร หรือบุคคลสาธารณะ ใส่ใจกับการปฏิรูปเร่งด่วน มีการสำรวจแบบเดียวกันในระดับชาติทุก 5 หรือ 10 ปี ทั้งนี้ การให้สินบนก้อนใหญ่ ส่วนหนึ่งมีเหตุผลคือ ผู้ให้สมยอมเพราะได้ประโยชน์มากกว่าเสีย จึงยากที่จะแก้ไข ดังนั้น ควรเฝ้าระวังด้วยวิธีอื่น เช่น การกำกับควบคุมข้าราชการที่ร่ำรวยผิดปกติแบบต่าง ๆ ปรับให้เหมาะสมตามกฎหมายไทย(ข้อมูลจาก http://hilight.kapook.com/view/111500)
มาดูอีกข่าวหนึ่งกันก่อนครับ
กรมศุลกากร ติดทุกโผ หน่วยงานคอร์รัปชั่นมากสุด
นักเศรษฐศาสตร์ เปิดผลงานวิจัยพบ 3 กระทรวงคมนาคม เกษตรฯ มหาดไทย มีมีมูลค่าเสียหายคิดเป็นตัวเงินจากการทุจริตคอร์รัปชั่นมากที่สุด
วันที่ 25 กันยายน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) จัดเสวนาวิชาการ เรื่องการยกระดับการขยายตัวทางเศรษฐกิจระยะยาวของไทย ณ ห้องประชุมชั้น 2 ทีดีอาร์ไอ ภายในงานมีการนำเสนอโครงการวิจัยหลายชิ้น ทั้งเรื่องคอร์รัปชั่นกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ,ตลาดแรงงานในบริบทการพัฒนาประเทศ, สังคมผู้สูงอายุ, การปรับโครงสร้างการผลิตก้าวข้ามพ้นกับดักรายได้ปานกลาง และการปฏิรูประบบสถาบันทางเศรษฐกิจสู่โมเดลการพัฒนาใหม่
สำหรับงานวิจัย “การคอร์รัปชั่นกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ “ โดยดร.พรเทพ เบญญาอภิกุล และนายธร ปีติดล อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำเสนอผลกระทบจากการคอร์รัปชั่นในรูปแบบต่างๆ นั้นส่งผลต่อการการเติบโตทางเศรษฐกิจ กระทบต่อการลงทุนภาคเอกชนและการลงทุนจากต่างประเทศ รวมไปถึงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน
โดยประเด็นน่าสนใจอยู่ที่ลักษณะการคอร์รัปชั่นในประเทศไทย ในงานวิจัยได้ระบุหน่วยงานที่คอร์รัปชั่นมากที่สุด วัดจากสัดส่วนต่องบประมาณของมูลค่าความเสียหายทางการเงิน จากการตรวจสอบของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) 2550-2551 ใน 18 กระทรวง พบว่า 3 กระทรวง ที่มีมีมูลค่าเสียหายคิดเป็นตัวเงินจากการทุจริตคอร์รัปชั่นมากที่สุด คือ กระทรวงคมนาคม มูลค่า 3,240 ล้านบาท รองลงมากระทรวงมหาดไทย (ไม่รวมส่วนราชการท้องถิ่น) มูลค่า 1,721 ล้านบาท และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีมูลค่าความเสียหายเป็นตัวเงิน 1,464 ล้านบาท
ส่วนกระทรวงพลังงาน กระทรวงยุติธรรม และกระทรวงวัฒนธรรม อยู่ลำดับท้ายๆ
- หน่วยงานราชการหรือรัฐวิสาหกิจนักธุรกิจเห็นว่ามีการคอร์รัปชั่นมากที่สุด คือ กรมศุลกากร กรมตำรวจ และกรมสรรพากร
- หน่วยงานที่ธุรกิจจ่ายเงินพิเศษเฉลี่ยต่อปีสูงสุด คือ กรมศุลกากร หน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ และกรมสรรพากร
- หน่วยงานที่ผู้ติดต่อมักถูกเรียกกร้องสินบนบ่อยครั้งที่สุด คือ สำนักงานกรมที่ดิน กรมศุลกากร และกรมตำรวจ
นอกจากนี้ งานวิจัยดังกล่าวยังอ้างอิงรายงานประจำปีของป.ป.ช. โดยระบุถึงจำนวนเฉลี่ย ต่อปีของเรื่องร้องเรียน และเรื่องที่ถูกป.ป.ช.ชี้มูลความผิดระหว่างปี 2551-2553 พบว่า กระทรวงมหาดไทยมีเรื่องร้องเรียนเข้ามาสูงสุด เฉลี่ยปีละ 1,544 เรื่อง และสามารถชี้มูลความผิดปีละประมาณ 36.7 เรื่อง ไม่สังกัดกระทรวง 512 เรื่อง ชี้มูลความผิดปีละ 11 เรื่อง กระทรวงศึกษาธิการ 199 เรื่อง ชี้มูลปีละ 7 เรื่อง กระทรวงคมนาคม 75 เรื่อง ชี้มูลปีละ 1.7 เรื่อง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ 70.7 เรื่อง ชี้มูลความผิดปีละ 1.3 เรื่อง
ส่วนจำนวนข้าราชการ ที่ถูกร้องเรียนต่อป.ป.ช.ต่อสัดส่วนบุคลากร 1,000 คนระหว่างปื 2550-2552 พบว่า กระทรวงเทคโนโลยีฯ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อยู่ในลำดับต้นๆ
สุดท้ายลักษณะการคอร์รัปชั่นในประเทศไทย จากการศึกษาตามหน่วยงานพบว่า ตำรวจนครบาล ศุลกากร กรมทางหลวง กระทรวงเกษตรฯ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คอร์รัปชั่นผ่าน "กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง" มากที่สุด การคอร์รัปชั่นในรูปแบบการเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมต่างๆ พบใน 2 หน่วยงาน คือ กรมศุลกากร และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ขณะที่การปราบปรามสิ่งผิดกฎหมาย พบการคอร์รัปชั่นในหน่วยงานของตำรวจนครบาล และกรมศุลกากร และการคอร์รัปชั่นครบวงจรผ่านโครงการขนาดใหญ่จะพบที่ กรมทางหลวง ส่วนการการทุจริตฯผ่านการฉวยโอกาสจากกระบวนการช่วยเหลือของรัฐพบที่กระทรวงเกษตรฯ การคอร์รัปชั่นประเภทการเอื้อประโยชน์ให้พวกพ้องและกลุ่มทุนผ่านการจัดสรรงบประมาณ พบว่า กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นและอปท. และสุดท้ายการทุจริตด้วยผ่านการออกกฎหมายในการสัมปทานและการแปรรูป พบว่า เป็นการคอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย
ด้านรศ.ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงรูปแบบคอร์รัปชั่นว่า มีบางงานวิจัยที่ระบุ การคอร์รัปชั่นก็อาจส่งผลดีต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในประเทศที่ยากจน หรือเริ่มต้นการพัฒนา จะพบว่า หน่วยงานราชการถือเป็นหน่วยงานที่ไม่มีประสิทธิภาพมากสุด ทั้งเรื่องการอนุมัติ อนุญาติ ช้าไปหมด ตัวอย่างเช่น กรมศุลกากรของไทยในอดีต ที่กว่าจะนำสินค้าเข้า ออก จากท่าเรือมาได้นั้นใช้เวลานานมาก
"หรือแม้แต่กรมศุลกากรบางประเทศก็ใช้เวลานับอาทิตย์ ฉะนั้น กระบวนการจ่ายเงิน หล่อลื่น หรือจ่ายใต้โต๊ะ ทำให้กระบวนการทำงานเร็วขึ้น ประกอบกับข้าราชการยากจน มีเงินเดือนน้อย"ดร.นวลน้อย กล่าว และว่า แม้การคอร์รัปชั่นอาจส่งบวกบ้างต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ก็ไม่ใช่การแก้ไขปัญหาระยะยาว ซึ่งภาครัฐถูกกดดันให้ปรับปรุง มีประสิทธิภาพดีขึ้น
ดร.นวลน้อย กล่าวด้วยว่า สำหรับประเทศไทยช่วงเริ่มต้นพัฒนาประเทศ ธุรกิจหรือบริษัทที่เข้ามาแข่งขันไม่ได้ต่างกันมาก แต่การที่มีการเสนอเงินคอร์รัปชั่น จ่ายใต้โต๊ะแล้วอาจได้งานนั้นไป อาจทำให้กลายเป็นบริษัที่แข็งแกร่งอย่างในปัจจุบันก็ได้ พร้อมกันนี้ยังเชื่อว่า หากไปเช็คประวัติดูบริษัทในประเทศไทยจะพบน้อยรายมากที่เกิดขึ้นมาจากการมีนวัตกรรม หรือเก่งก่อน แต่เป็นเพราะเคยได้รับการเอื้อประโยชน์บางประการทำให้กลายเป็นแข็งแกร่ง หากเห็นภาพพลวัตรแบบนี้การจัดการกับเรื่องนี้อาจมีข้อเสนอที่แตกต่างกว่าการมองมิติเดียว
เริ่มจากข่าวกรณีการสำรวจของ ป.ป.ช. พบว่าหน่วยงานที่ไปติดต่อแล้วถูกเรียกสินบนมากที่สุดคือ กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย และเป็นหน่วยงานที่เรียกสินบนก้อนใหญ่ เกินหนึ่งแสนบาทต่อราย อีกด้วย ส่วนงานวิจัยของ ทีดีอาร์ไอ ในข่าวที่สองนั้น พบว่า 3 กระทรวง คือ คมนาคม เกษตรฯ และ มหาดไทย มีมีมูลค่าเสียหายคิดเป็นตัวเงินจากการทุจริตคอร์รัปชั่นมากที่สุด
แม้ตำรวจจะติดทุกโผ แต่ก็ไม่ใช่อันดับหนึ่งในเรื่องของการทุจริต คอรัปชั่น นี่ยังไม่รวมหน่วยงานที่ไม่สามารถตรวจสอบได้นะครับ ไม่งั้นจะหนาว 555 หลายหน่วยงานเค้าทุจริตกันเงียบ ๆ นะครับ หักเปอร์เซ็นกันสนุกสนาน แต่สมประโยชน์กัน เลยไม่มีเรื่อง( ผวจ.แพร่เด้งปลัด อ.วังชิ้น โดนผู้ใหญ่บ้านร้องเรียนเก็บหัวคิวประชารัฐ , สั่งตรวจสอบหักหัวคิวงบประชารัฐ หลัง “ผู้ใหญ่บ้านสิชล” ก้มกราบ ) ลองแอบถามกำนัน ผญบ. ทั่วประเทศดูก็ได้ครับ งบ คสช. นี่โดนหักกันไปเท่าไหร่
ถ้าทำใจให้เป็นกลางแล้วลองตอบคำถามจริง ๆ กันดูว่าเหตุใดไม่คิดจะปฏิรูปหน่วยงานอื่น ๆ ที่ติดโผสุดยอดทุจริตคอรัปชั่น กันบ้าง บางหน่วยสร้างภาพการทำงานดี๊ดี มีงบประมาณละเลงกันสนุกมือ เปรียบเทียบผลการปฏิบัติกับงบประมาณระหว่างหน่วยงานกันดูสักทีก็ดีเหมือนกันนะครับ
ทุกวันนี้ทุกโรงพักไม่สามารถจ่ายค่าไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ ตามงบประมาณที่ตั้งมาได้ ต้องนำเงินเบี้ยเลี้ยงมาจ่ายแทน ทำให้การทำงานนอกเวลาของตำรวจไม่มีเงินเพิ่มเหมือนอย่างหน่วยงานอื่น จะหยุดงานก็ไม่ได้ ตรงนี้คนจะปฏิรูปเคยลงมาดูปัญหาของสถานีตำรวจกันบ้างหรือเปล่า
สำนักงานตำรวจแห่งชาติจะปฏิรูปงานสอบสวน บอกให้ทำโน่น ทำนี่ แต่ไม่มีงบประมาณ ถึงเวลามาตรวจ มาตำหนิกันอีก กำลังพลก็ย้ายกันซะเละ พนักงานสอบสวนมีไม่พอ(ย้ายออกนอกสายกันมากมาย) แต่เสือกจะให้ปฏิรูป เอาแต่ใจจริง ๆ
บทความที่เกี่ยวข้อง ปฏิรูปตำรวจฉบับผู้ปฏิบัติ
แม้ตำรวจจะติดทุกโผ แต่ก็ไม่ใช่อันดับหนึ่งในเรื่องของการทุจริต คอรัปชั่น นี่ยังไม่รวมหน่วยงานที่ไม่สามารถตรวจสอบได้นะครับ ไม่งั้นจะหนาว 555 หลายหน่วยงานเค้าทุจริตกันเงียบ ๆ นะครับ หักเปอร์เซ็นกันสนุกสนาน แต่สมประโยชน์กัน เลยไม่มีเรื่อง( ผวจ.แพร่เด้งปลัด อ.วังชิ้น โดนผู้ใหญ่บ้านร้องเรียนเก็บหัวคิวประชารัฐ , สั่งตรวจสอบหักหัวคิวงบประชารัฐ หลัง “ผู้ใหญ่บ้านสิชล” ก้มกราบ ) ลองแอบถามกำนัน ผญบ. ทั่วประเทศดูก็ได้ครับ งบ คสช. นี่โดนหักกันไปเท่าไหร่
ถ้าทำใจให้เป็นกลางแล้วลองตอบคำถามจริง ๆ กันดูว่าเหตุใดไม่คิดจะปฏิรูปหน่วยงานอื่น ๆ ที่ติดโผสุดยอดทุจริตคอรัปชั่น กันบ้าง บางหน่วยสร้างภาพการทำงานดี๊ดี มีงบประมาณละเลงกันสนุกมือ เปรียบเทียบผลการปฏิบัติกับงบประมาณระหว่างหน่วยงานกันดูสักทีก็ดีเหมือนกันนะครับ
ทุกวันนี้ทุกโรงพักไม่สามารถจ่ายค่าไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ ตามงบประมาณที่ตั้งมาได้ ต้องนำเงินเบี้ยเลี้ยงมาจ่ายแทน ทำให้การทำงานนอกเวลาของตำรวจไม่มีเงินเพิ่มเหมือนอย่างหน่วยงานอื่น จะหยุดงานก็ไม่ได้ ตรงนี้คนจะปฏิรูปเคยลงมาดูปัญหาของสถานีตำรวจกันบ้างหรือเปล่า
สำนักงานตำรวจแห่งชาติจะปฏิรูปงานสอบสวน บอกให้ทำโน่น ทำนี่ แต่ไม่มีงบประมาณ ถึงเวลามาตรวจ มาตำหนิกันอีก กำลังพลก็ย้ายกันซะเละ พนักงานสอบสวนมีไม่พอ(ย้ายออกนอกสายกันมากมาย) แต่เสือกจะให้ปฏิรูป เอาแต่ใจจริง ๆ
บทความที่เกี่ยวข้อง ปฏิรูปตำรวจฉบับผู้ปฏิบัติ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น