จากกรณีปลัดอำเภอ ตั้งด่านตรวจค้นจับกุมเจ้าหน้าที่ตำรวจ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ที่กำลังขับรถกลับไปที่ตั้ง ในความผิดฐานมีอาวุธปืนสงครามไว้ในครอบครอง แม้จะเป็นอาวุธปืนของทางราชการที่เบิกมาอย่างถูกต้อง นำส่งพนักงานสอบสวนดำเนินคดี เป็นเหตุให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในสื่อต่าง ๆ มากมาย ส่วนใหญ่ออกมาในทำนองที่เห็นใจเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่ต้องเสี่ยงภัยใน 3 จังหวัดชายแดนใต้แล้ว ยังต้องมาผจญกับภัยของหน่วยงานรัฐด้วยกันอีก น่าใจะให้ชุดจับกุมลงใต้ไปอีกนิด ไปทำงานใน 3 จังหวัดชายแดนใต้กันดูบ้าง
ทางผู้บังคับบัญชาระดับสูง ทั้งระดับ ตร. และ มหาดไทย ก็เห็นว่าหากปล่อยไว้อาจบานปลายเป็นปัญหาระหว่างหน่วยงานได้ วันนี้(24 ก.ค. 60) พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมต.มหาดไทย และ นายกฤษฎา บุญราช ปลัด มท. ได้ให้สัมพาษณ์ลดกระแส โดยบอกว่าเป็นการเข้าใจผิดกัน และพร้อมขอโทษทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตัดจบดราม่าระหว่างหน่วยงาน ดับไฟก่อนที่จะลุกลามใหญ่โต
แต่มาดูการตีความการตั้งด่านของฝ่ายปกครองดูบ้างครับ ว่าสามารถทำได้หรือไม่ อย่างไร อยากให้อ่านและพิจารณากันดูครับ(ยาวนิ๊ดส์นึง)
คณะกรรมการกฤษฎีกา (กรรมการร่างกฎหมาย คณะที่ ๖) ได้พิจารณาปัญหาดังกล่าว โดยฟังคำชี้แจงจากผู้แทนกระทรวงมหาดไทย (กรมการปกครอง) แล้วมีความเห็นว่า ความในข้อ ๓๔[๒] และข้อ ๓๕[๓] แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๙๕ ลงวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕ และมาตรา ๑๑๔[๔] แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ นั้นได้บัญญัติขึ้นโดยประสงค์เพื่อมิให้มีการกระทำที่เกิดความเสียหายต่อทาง หลวง และเพื่อมิให้เกิดความไม่สะดวกและไม่ปลอดภัยแก่การจราจร จึงได้กำหนดให้การดำเนินการใดๆ ที่มีผลกระทบต่อทางหลวงหรือต่อการจราจรบนทางหลวงจะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการทางหลวงหรือเจ้าพนักงานจราจรเสียก่อน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้ต้องรับผิดชอบดูแลทางหลวงดังกล่าวสามารถควบคุมการกระทำนั้น ให้อยู่ในขอบเขตที่เหมาะสมได้
ฉะนั้น แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วบทบัญญัติดังกล่าวจะไม่บังคับถึงการปฏิบัติหน้าที่ของ เจ้าหน้าที่ของรัฐตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องปฏิบัติโดยเฉพาะก็ ตาม[๕] แต่ก็มิได้หมายความว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งปกติก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายจะ สามารถปฏิบัติการใดๆ บนทางหลวงอันเป็นการฝ่าฝืนข้อ ๓๔ และข้อ ๓๕ แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๙๕ ฯ และมาตรา ๑๑๔ แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้โดยไม่มีข้อจำกัด
เพราะถ้าหากเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกฝ่ายต่างจัดตั้งด่านตรวจบนทางหลวงได้โดย อ้างว่า เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการต่างๆ ตามอำนาจหน้าที่ของตน ก็ย่อมเห็นได้ว่าจะก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชน และไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าว การดำเนินการของเจ้าหน้าที่ของรัฐบนทางหลวงในลักษณะการจัดวางสิ่งของหรือปิด กั้นทางหลวงดังที่ข้อ ๓๔ และข้อ ๓๕ แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๙๕ ฯ และมาตรา ๑๑๔ แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ บัญญัติห้ามไว้ จึงต้องคำนึงถึงความจำเป็นและความสมควรในขอบเขตที่เหมาะสมตามอำนาจหน้าที่ ของเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น ซึ่งจะต้องปรากฏว่ามีภารกิจเกี่ยวเนื่องอย่างแท้จริงกับการปฏิบัติหน้าที่บน ทางหลวงโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงการปฏิบัติหน้าที่เช่นว่านั่นได้ ดังเช่นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ต้องมีภารกิจในการปราบปราม จับกุมผู้กระทำผิดกฎหมายและเป็นผู้ใช้อำนาจสืบสวนสอบสวนคดีอาญาทั่วไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งการปฏิบัติงานในลักษณะเช่นนั้นเป็นที่แน่ชัดว่าย่อมต้องมีการปฏิบัติ เกี่ยวเนื่องกับทางหลวงเสมอ ฉะนั้น ในกรณีจำเป็นเพื่อการปฏิบัติหน้าที่ให้บรรลุผลเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงจัดตั้ง ด่านตรวจบนทางหลวงได้โดยไม่อยู่ในบังคับของข้อ ๓๔ และข้อ ๓๕ แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๙๕ ฯ และมาตรา ๑๑๔ แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
สำหรับปลัดอำเภอนั้น คณะกรรมการกฤษฎีกา (กรรมการร่างกฎหมาย คณะที่ ๖) ได้เคยพิจารณาไว้แล้วว่า[๖] ในปัจจุบันปลัดอำเภอคงมีฐานะเป็นเพียงผู้ช่วยนายอำเภอตามนัยข้อ ๕๗[๗] และข้อ ๕๘[๘] แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ ๒๑๘ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๕ โดยมิได้มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการทางอาญาด้วยตนเองโดยตรงดังที่เคย บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช ๒๔๕๗[๙] อีกต่อไปแล้ว นอกจากนี้ อำนาจหน้าที่ของปลัดอำเภอในฐานะเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามมาตรา ๒ (๑๖)[๑๐] แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญานั้น ก็มิใช่ว่าปลัดอำเภอจะสามารถอ้างเพียงบทบัญญัติดังกล่าวเพื่อใช้อำนาจต่างๆ ที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาบัญญัติไว้ด้วยตนเองได้โดยอิสระแต่อย่าง ใด เพราะมาตรา ๑๖[๑๑] แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้บัญญัติไว้เป็นเงื่อนไขในการใช้ อำนาจหน้าที่ของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญานี้ว่าต้องเป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับอันว่าด้วยอำนาจ หน้าที่ของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจด้วย ซึ่งกรณีเช่นนี้ย่อมเข้าใจได้ว่า บทบัญญัติทั้งหลายในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญานั้นเป็นเพียงการกำหนด หลักการโดยทั่วไปว่า พนักงานฝ่ายปกครองและตำรวจเป็นผู้มีอำนาจสืบสวนและสอบสวนคดีอาญาและกำหนดแนว ทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่ดังกล่าว แต่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดจะใช้อำนาจหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ อาญาได้เพียงใดบ้างนั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากำหนดให้เป็นอำนาจของฝ่ายบริหารที่จะไป กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐแต่ละ ฝ่ายว่า ฝ่ายใดควรใช้อำนาจส่วนไหน เพียงไร เพื่อให้เกิดการประสานการปฏิบัติงานและมิให้เกิดความสับสนในการปฏิบัติ ราชการต่อไปได้
เมื่อในขณะนี้ได้มีข้อบังคับกระทรวง มหาดไทย ว่าด้วยระเบียบการดำเนินคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งเป็นข้อบังคับที่กระทรวงมหาดไทยกำหนดขึ้นตามนัยมาตรา ๑๖ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กำหนดอำนาจหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการในคดีอาญา ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ นายอำเภอและผู้ว่าราชการจังหวัดไว้โดยเฉพาะแล้วแต่ ผู้ใดมีภาระหน้าที่จะต้องปฏิบัติเพียงใดบ้าง โดยในส่วนของการใช้อำนาจในฐานะพนักงานฝ่ายปกครองที่จะสามารถเข้าเกี่ยวข้อง กับการดำเนินการทางอาญาและใช้อำนาจด้วยตนเองได้โดยตรงนั้น ก็ได้กำหนดให้อำนาจไว้แต่เพียงผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอเฉพาะแต่ใน กรณีที่ได้ประสบเหตุความผิดอาญาซึ่งควรจะกระทำการจับกุมได้เท่านั้น[๑๒] สำหรับตำแหน่งปลัดอำเภอมิได้มีการกำหนดให้เป็นผู้ใช้อำนาจในการดำเนินการทาง อาญาได้ด้วยตนเอง เมื่อได้พิจารณาบทกฎหมายดังกล่าวประกอบกันแล้วย่อมเข้าใจได้ว่า ในปัจจุบันนี้การใช้อำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ กฎหมายที่เกี่ยวข้องได้กำหนดให้มีการแบ่งแยกการปฏิบัติหน้าที่มิให้เกิดความ สับสน และได้จัดลำดับภาระหน้าที่ของเจ้าหน้าที่แต่ละระดับตามขั้นตอนการปฏิบัติ ราชการไว้แล้ว โดยให้ปลัดอำเภอมีบทบาทเป็นเพียงผู้ใต้บังคับบัญชาของนายอำเภอซึ่งปกติย่อม ต้องปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย โดยไม่มีหน้าที่ที่จะดำเนินการในทางอาญาได้ด้วยตนเองโดยลำพังอีก
ด้วยเหตุนี้ คณะกรรมการกฤษฎีกา (กรรมการร่างกฎหมาย คณะที่ ๖) จึงเห็นว่า ปลัดอำเภอมิได้มีภาระรับผิดชอบในด้านการควบคุมดูแลและปราบปรามการกระทำผิด อาญาโดยทั่วไปโดยตรงดังเช่นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ฉะนั้น แม้ว่าปลัดอำเภอจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายบาง ฉบับโดยเฉพาะ หรือได้รับมอบหมายหรือการสั่งการจากกระทรวงมหาดไทยให้ต้องปฏิบัติหน้าที่ใน บางเรื่องอันมีส่วนเกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อยในเขตท้องที่นั้นด้วย ก็ตาม แต่กฎหมายหรือคำสั่งที่กรมการปกครองอ้างมานั้นมิได้แสดงให้เห็นโดยชัดแจ้ง ว่าประสงค์จะให้ปลัดอำเภอปฏิบัติหน้าที่ใดๆ ในฐานะเช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทุกประการด้วยแต่อย่างใด ฉะนั้น การปฏิบัติหน้าที่ของปลัดอำเภอจึงย่อมมีอยู่เพียงในขอบเขตเท่าที่จำเป็น เพื่อการปฏิบัติตามกฎหมายหรือตามคำสั่งดังกล่าวเป็นการเฉพาะเรื่องเท่านั้น ซึ่งการปฏิบัติหน้าที่เช่นนี้ไม่มีผลทำให้ปลัดอำเภอจะสามารถอ้างอำนาจของตน เองจัดตั้งด่านตรวจบนทางหลวง โดยจะไม่ปฏิบัติตามระเบียบของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๙๕ ฯ และพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้ด้วย แต่อย่างใด
ส่วนในข้อที่กรมการปกครองอ้างว่า ปลัดอำเภอในฐานะเป็นผู้ช่วยเหลือนายอำเภอและในฐานะผู้รักษาราชการแทนนายอำเภอ ย่อมสามารถใช้อำนาจเช่นเดียวกับที่นายอำเภอมีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาได้ด้วยนั้น คณะกรรมการกฤษฎีกา(กรรมการร่างกฎหมาย คณะที่ ๖) เห็นว่า การที่ข้อ ๕๘ แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๑๘ ฯ บัญญัติให้ปลัดอำเภอเป็นผู้ช่วยเหลือนายอำเภอนั้น ย่อมแสดงให้เห็นแล้วว่า ปลัดอำเภอมีฐานะเป็นเพียงผู้ใต้บังคับบัญชาของนายอำเภอ การปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ย่อมเป็นไปตามที่นายอำเภอจะได้มอบหมายหรือสั่งการเท่านั้น และตำแหน่งนายอำเภอในฐานะพนักงานฝ่ายปกครองชั้นผู้ใหญ่ตามมาตรา ๒ (๑๗)[๑๓] แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญานั้น เมื่อกฎหมายได้บัญญัติระบุถึงตำแหน่งดังกล่าวโดยตรงจึงย่อมประสงค์จะให้เป็น ตำแหน่งเฉพาะตัวที่จะใช้อำนาจต่างๆ ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้ ฉะนั้น การมอบหมายให้บุคคลอื่นใช้อำนาจแทนจึงกระทำมิได้ สำหรับการรักษาราชการแทนนายอำเภอนั้นโดยที่วรรคสองของมาตรา ๒ (๑๗) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้บัญญัติไว้แล้วว่า พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่นั้น นอกจากเจ้าพนักงานผู้ดำรงตำแหน่งตามที่ระบุไว้โดยเฉพาะแล้ว ยังให้หมายความรวมถึงผู้รักษาการแทนเจ้าพนักงานดังกล่าวด้วย เมื่อนายอำเภอมีอำนาจหน้าที่อยู่เพียงใดปลัดอำเภอในฐานะผู้รักษาราชการแทน ย่อมมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกัน แต่สำหรับอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการทางอาญานั้นต้องอยู่ภายใต้ข้อบังคับ กระทรวงมหาดไทยที่ออกตามมาตรา ๑๖ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาด้วย
โดยสรุป คณะกรรมการกฤษฎีกา (กรรมการร่างกฎหมาย คณะที่ ๖)มีความเห็นว่า ปลัดอำเภอไม่มีหน้าที่โดยตรงที่จะต้องปฏิบัติการเกี่ยวกับคดีอาญาดังเช่นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ จึงไม่อาจใช้อำนาจหน้าที่ของตนเองไปจัดตั้งด่านตรวจบนทางหลวงได้ ดังที่ได้เคยให้ความเห็นไว้ครั้งหนึ่งแล้ว ปรากฏตามบันทึกความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา (กรรมการร่างกฎหมาย คณะที่ ๖) เรื่อง การตั้งด่านตรวจของปลัดอำเภอ เพื่อจับกุมผู้กระทำความผิดกฎหมายบนทางหลวง[๑๔]
(ลงชื่อ) อมร จันทรสมบูณณ์
(นายอมร จันทรสมบูรณ์)
เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น