ชื่อเรียกตำรวจของไทยนั้น มีหลายคำที่เราได้ยินกันมาแล้วอาจจะยังไม่รู้ว่ามันมีที่มาที่ไปอย่างไร เช่น โปลิศ , หมาต๋า , Cop วันนี้มาดูกันครับ ว่าชื่อเรียกตำรวจที่เคยได้ยินกันมานั้น มีความเป็นมาอย่างไร
คำว่า โปลิศ เป็นคำที่มาจากภาษาอังกฤษคือ Police ใช้เรียกผู้ทำหน้าที่ตำรวจที่จัดตั้งอย่างเป็นองค์กรเป็นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยได้ทรงพระกรุณาฯโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้นายร้อยเอก แซมมวล โยเซฟ เบิร์ด เอมส์ เป็นผู้จัดตั้งกองโปลิศเมื่อ พ.ศ. 2403 มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศแทนข้าหลวงกองจับและกองตระเวนซ้ายขวา องค์กรตำรวจที่ตั้งขึ้นใหม่นี้โดยมากจ้างพวกแขกมลายูและแขกอินเดียมาเป็นตำรวจเรียกกองตำรวจนี้ว่ากองโปลิศคอนสเตเบิ้ล ต่อมาจึงมาใช้คนไทย
คำว่า พลตระเวน เป็นคำที่แปลงคำเรียกตำรวจอีกคำหนึ่งคือ COP ย่อมาจาก Constable of Patrol เป็นคำภาษาอังกฤษ แปลว่า ตำรวจลาดตระเวน หรือ พลตระเวน โดยหลังจากที่ทรงพระกรุณาฯโปรดเกล้าฯตั้งกองโปลิศ เมื่อปี พ.ศ. 2403 แล้ว ต่อมาก็ได้เปลี่ยนชื่อกองโปลิศ เป็นกองพลตระเวน ซึ่งในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 นี้ มีองค์กรที่ทำหน้าที่ตำรวจ 2 หน่วย คือ กองพลตระเวนขึ้นกับกระทรวงนครบาล กับกรมตำรวจภูธร ขึ้นกับกระทรวงมหาดไทย ทั้ง 2 หน่วยนี้ต่างทำหน้าที่เป็นตำรวจเช่นเดียวกัน ต่อมา พ.ศ. 2458 สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้ทรงโปรดเกล้าฯ รวมกองพลตรวะเวนกับกรมตำรวจภูธร เรียกชื่อว่า "กรมตำรวจ"
คำว่า หมาต๋า เป็นภาษาจีน แปลว่า ตำรวจ
คำว่า "ตำรวจ" เป็นคำที่ยืมมาจากภาษาเขมรคือคำว่า ตรวจ
ขอบคุณข้อมูล ไทยวิกิพีเดีย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น