การหลวงลวง ฉ้อโกง ของมิจฉาชีพมีมานานนับร้อยปี และได้พัฒนาการวิธีใหม่ ๆ อยู่เสมอ โดยอาศัยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ความกลัว ความโลภ ของเหยื่อ ยิ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น ทำให้ตัวมิจฉาชีพ ไม่ต้องพบเจอ หรือเห็นหน้าเหยื่อด้วยซ้ำ ใช้ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีนี่แหละ เป็นเครื่องมือในการก่ออาชญากรรม
ที่ทำกันบ่อยมาก ๆ ในยุคนี้คือการโทรศัพท์ไปหาเหยื่อ โดยอ้างว่าเป็นคนของรัฐ ไม่ว่าจะเป็น ตำรวจ DSI อัยการ ศาล หน่วยงานต่าง ๆ หลอกเหยื่อว่ามีเงินยาเสพติดโอนเข้าบัญชี หรือว่า เป็นผู้โชคดีได้รับเงินรางวัล หรือด้วยวิธีการ เล่ห์อุบายใด ๆ ให้เหยื่อไปที่ตู้ ATM แล้วกดตามที่คนร้ายสั่งทางโทรศัพท์ โดยมันไม่ยอมวางสาย และเร่งเร้าให้ทำรายการโดยเร็ว ส่วนมากจะให้ทำรายการหน้าภาษาอังกฤษ
เหยื่อจะมาเอะใจ และฉุกคิดได้ ก็เมื่อโอนเงินไปยังบัญชีคนร้ายแล้ว บางคนโดนกันหลักหมื่น ถึงหลักแสนก็มี พอมาแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตำรวจก็จะทำได้แค่เพียงออกหมายจับตัวเจ้าของบัญชีปลายทาง ซึ่งบางครั้งก็จะเจอพวกรับจ้างเปิดบัญชี หรืออาจเป็นกรณีอย่าง คุณณิชา ที่บัตรประชาชนถูกคนร้ายเอาไปเปิดบัญชี
อาชญากรรมที่อาศัยการโอนเงินเข้าบัญชีคนร้าย สามารถป้องกันได้ตั้งแต่ต้นทาง จากการเข้มงวดของฝ่ายธนาคารเอง โดยเฉพาะธนาคารแห่งประเทศไทย ดังนี้
- ยืนยันตัวตนของผู้เปิดบัญชี ให้ถูกต้อง(ไม่ใช่ปิดหน้ามาเปิดบัญชีก็ได้) กรอกเบอร์โทรศัพท์ และตรวจสอบกับผู้ให้บริการเครือข่าย ว่าเบอร์นี้เป็นบุคคลเดียวกับที่มาเปิดบัญชีจริงหรือไม่ ส่ง sms รหัสยืนยันการเปิดบัญชี ตัวธนาคารเองอย่าโลภ เอาแต่จำนวนบัญชีที่เพิ่มขึ้น ต้องช่วยคัดกรองตรงนี้ด้วย
- ตรวจสอบกับธนาคารตนเอง ว่าผู้เปิดบัญชีนี้ มีบัญชีเดิมกับธนาคารตนเอง กี่บัญชีแล้ว แจ้งให้เจ้าตัวทราบว่าจะยืนยันการเปิดบัญชีเพิ่มหรือไม่
- ธนาคาแห่งประเทศไทย ต้องมีบัญชีธุรกรรรมของทุกคนที่เปิดบัญชี เพราะมิจฉาชีพ อาจเปิดบัญชีกับธนาคารอื่น ๆ ในสาขาอื่น ๆ ใครที่มีจำนวนบัญชีมากผิดปกติ ต้องจับตาดูเป็นพิเศษ
- พนักงานสอบสวน หรือธนาคาร เมื่อพบความเสียหาย ต้องสามารถอายัดทุกบัญชี(ในทุกธนาคาร) ของบุคคลที่ถูกกล่าวหา และให้มาแสดงความบริสุทธิ์ใจ เพราะปกติแล้วเมื่อเกิดการหลวงลวง ตำรวจตามรอยบัญชีที่กระทำผิด ก็จะพบว่าแทบไม่มีเงินเหลือแล้ว ผู้เสียหายก็จะไม่ได้รับการชดใช้ใด ๆ แต่ตัวมิจฉาชีพ ยังอาจใช้บัญชีอื่น ๆ ในการหลวงลวงผู้อื่นต่อไปได้อีก
ถ้าทำได้แบบนี้จะสามารถลดปัญหาการหลวงลวงให้โอนเงินไปได้เยอะทีเดียวครับ แม้ว่าในปัจจุบันทางธนาคารจะมีการทำป้ายเตือนการรับจ้างเปิดบัญชีติดไว้ที่เคาท์เตอร์แล้วก็ตาม ต้องมีหลาย ๆ มาตรการทำควบคู่กันไป เพื่อให้เกิดการป้องกันปราบปรามที่มีประสิทธิภาพ
ในส่วนของพนักงานสอบสวน เมื่อได้รับแจ้งแล้ว คงต้องถามธนาคารเจ้าของบัญชีที่กระทำผิดเพิ่มเติมว่า บุคคลที่เปิดบัญชีธนาคารยืนยันว่าเป็นบุคคลเดียวกับบัตรประชาชนหรือไม่ มีภาพจากกล้องวงจรปิดหรือไม่ เพื่อป้องกันการสวมรอยบัตรประชาชนผู้อื่นไปเปิดบัญชี และถ้ามีธนาคารนั้น ๆ ก็ควรต้องรับผิดชอบด้วยไม่มากก็น้อยนะครับ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น