พนักงานสอบสวนทุกท่านคงเคยส่งปัสสาวะตรวจที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ ในกรณีเสพสารเสพติดขณะขับรถ หรือจากเหตุอื่น ๆ ซึ่งมันมีค่าใช้จ่ายในการตรวจที่แพงกว่าแต่ก่อนมาก จากเดิมประมาณ 300 บาท พุ่งพรวดเดียว ปรับราคาใหม่เป็น 800 บาท โดยที่ไม่ต้องแจ้ง สคบ. หรือกระทรวงพาณิชย์ และค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ทางสถานีตำรวจ(หรือพนักงานสอบสวน)ต้องเป็นผู้จ่าย โดยที่ไม่สามารถเบิกงบประมาณได้เลย
ในภารกิจที่ต้องตรวจกับศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ ก็ล้วนแล้วแต่เป็นงานของทางราชการทั้งนั้น มันจึงมีข้อสงสัยกับการเก็บเงินดังกล่าวหลายประการ อาทิ
ในการระดมกวาดล้างอาชญากรรมครั้งหนึ่ง ๆ จะมีการตรวจจับ และส่งปัสสาวะตรวจจำนวนไม่น้อย สมควรหรือไม่ที่ผู้ปฏิบัติต้องมารับภาระตรงจุดนี้ ท่านนายพล ท่านผู้บังคับบัญชา ช่วยคิด ช่วยดำเนินการแก้ไขปัญหาให้ผู้ปฏิบัติซักหน่อย อย่ามัวแต่ห่วงเรื่องทรงผม เอาเนื้องานจริง ๆ ดีกว่า
ในภารกิจที่ต้องตรวจกับศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ ก็ล้วนแล้วแต่เป็นงานของทางราชการทั้งนั้น มันจึงมีข้อสงสัยกับการเก็บเงินดังกล่าวหลายประการ อาทิ
- ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นหน่วยงานราชการ ที่ตั้งขึ้นโดยใช้งบประมาณรัฐ และบุคลากร รวมถึงเครื่องมือ รัฐเป็นผู้จัดหาดำเนินการทั้งสิ้น เอาเหตุผลอะไรมาเก็บเงินกับหน่วยงานรัฐด้วยกันในงานของทางราชการ ถ้าจะอ้างว่ามีค่าใช้จ่ายเรื่องน้ำยาตรวจ คงต้องถามถึงการตั้งงบประมาณเรื่องน้ำยา และเงินที่เก็บไปเอาไปทำอะไรบ้าง สัดส่วนของเงินที่เก็บไป กับปริมาณน้ำยาที่ใช้เหมาะสมกันหรือไม่ อย่างไร
- ภารกิจตรวจวิเคราะห์สารต่าง ๆ ของทางราชการ หากมีค่าใช้จ่าย เหตุใดไม่ส่งบิลค่าใช้จ่ายเรียกเก็บกับรัฐบาล หรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
- ผู้บริหารสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือผู้บังคับบัญชาระดับ บก.-บช. จะแก้ไขปัญหาตรงนี้อย่างไร หรือจะปล่อยให้ทับถมผู้ปฏิบัติไปเรื่อย ๆ สร้างความเครียด ความกดดันต่อไป เอาอย่างนั้นหรือ ?
ในการระดมกวาดล้างอาชญากรรมครั้งหนึ่ง ๆ จะมีการตรวจจับ และส่งปัสสาวะตรวจจำนวนไม่น้อย สมควรหรือไม่ที่ผู้ปฏิบัติต้องมารับภาระตรงจุดนี้ ท่านนายพล ท่านผู้บังคับบัญชา ช่วยคิด ช่วยดำเนินการแก้ไขปัญหาให้ผู้ปฏิบัติซักหน่อย อย่ามัวแต่ห่วงเรื่องทรงผม เอาเนื้องานจริง ๆ ดีกว่า
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น