หลายคนคงจะทราบกันดี ว่าปัญหาการร้องเรียนเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในช่องทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ศูนย์ดำรงธรรม กองบัญชาการกองบังคับการ ประมาณ 70% เป็นการร้องเรียนการปฏิบัติหน้าที่ ของพนักงานสอบสวน โดย ข้อร้องเรียน มีดังนี้ 1 ไม่แจ้งความคืบหน้า 2 ไม่ได้รับความเป็นธรรม 3 การพูดจาไม่สุภาพ
นี่คือปัญหา จากฝั่งประชาชน มาดูปัญหาของตัวพนักงานสอบสวนกันบ้าง ว่าเขามีปัญหาอะไร ที่ทำให้ไม่สามารถ บริการประชาชน ได้อย่างที่คาดหวัง โดยปัญหา มีมากมาย หลายข้อ เช่น
- พนักงานสอบสวนไม่เพียงพอ ด้วยปริมาณงานที่มากเกินกว่า 70 คดีต่อคนต่อปี ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติกำหนด จริงๆ 70 คดีนั้นไม่มาก แต่ ยังมีคดีจราจร คดีฟ้องใบแดง คดีมโนสาเร่ ที่เข้ามาในทุกทุกการเข้าเวร เรื่องนี้ ตร. รู้ดี รู้มาหลายปี แต่สิ่งที่ทำ คือการย้าย พนักงานสอบสวนออกนอกสาย เอาคนที่ไม่เป็นงานสอบสวน เข้ามา ไม่ให้ความดีความชอบตามสมควร ยุบแท่งพนักงานสอบสวน ขัดขวาง ความเจริญก้าวหน้าในชีวิตราชการ ทำสารพัดจนเละเทะ เป็นอย่างนี้มาหลายปี
- กลับมาสู่ระบบวิ่งเต้น ไม่มีการสอบเลื่อนไหล ความก้าวหน้าในชีวิตราชการ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้มีอำนาจ เพิ่งจะมากำหนดตำแหน่ง ให้โรงพักแต่ละระดับ ควรมี พนักงานสอบสวนเท่าไหร่ ระดับไหนบ้าง จริงๆควรทำให้ชัดเจน ตั้งแต่ ตอนเปิดให้มีการเลื่อนไหล แล้ว
- การติดต่อประสานงานกับหน่วยอื่นเช่นอัยการศาล ล้วนต้องทำตาม ข้อตกลงที่ไม่มีในระเบียบกฎหมาย เช่นส่งสำนวนปลายเดือนไม่ได้ มาฝากขังช่วงบ่ายไม่ได้ ทั้งที่จริงๆแต่ละคดีมีความจำเป็นแตกต่างกัน นี่เป็นปัญหาที่พนักงานสอบสวน ต้องพบเจอ และต่อรองอะไรไม่ได้เลย
- ความเครียดสะสม ทั้งจาก ระเบียบ ข้อบังคับกฎหมาย ที่มีมากมายเกินจะจำ ได้ ยังมีคำสั่งผู้บังคับบัญชา คาดโทษสารพัด มีเวลา ทำสำนวนจำกัด ไม่เหมือนศาลและอัยการ หรือองค์กรอิสระ จะดองสำนวนหรือทำช้าเท่าไหร่ก็ได้ไม่มีความผิด ไหนจะคดีนโยบาย ทั้งจาก ผู้บังคับบัญชาหรือ ผู้มีอำนาจรัฐ รวมทั้ง สถิติคดีอาญา คดีที่ไม่มีตัว หรือไม่รู้ตัวผู้กระทำผิด จะต้องจับให้ได้ไม่เช่นนั้น ต้องไปชี้แจง ให้ผู้บังคับบัญชาโขกสับ ก็เลยเลือก ที่จะ ไม่รับคดี เสียงเอา ดีกว่า อย่ากระนั้นเลย ไหนๆก็ต้องวิ่งเต้น เลื่อนตำแหน่งอยู่แล้ว ออกนอกสายงานสอบสวนดีกว่า ทำให้วนกลับไป เรื่องพนักงานสอบสวนขาดแคลน
- ไม่มีผู้ช่วยประจำ ในสถานีตำรวจจะมีธุรการคดีอยู่ไม่กี่คน รวมกับพลขับ ประจำวัน ที่มีหน้าที่ประจำอยู่แล้ว ก็ไม่มีใครมาทำงานผู้ช่วยพนักงานสอบสวน อย่างน้อยควรต้องมีผู้ช่วย 1 คน ต่อ พงส. 3 คน เพื่อจัดการเอกสารประกอบสำนวนต่าง ๆ เช่น คำร้องผัดฟ้อง ฝากขัง , หนังสือโต้ตอบ , ส่งของกลาง ฯลฯ แม้ก่อนหน้าที่ทาง ตร. จะมีคำสั่งให้จัดผู้ช่วยพนักงานสอบสวนทุกโรงพัก แต่ก็เป็นการสั่งแบบปัญญาอ่อน เพราะกำลังพลสถานีตำรวจขาดแคลนอยู่แล้ว จะจัดผู้ช่วย พงส. ได้อย่างไร แต่ระดับสถานีตำรวจก็จัดส่ง ๆ ไป(ไม่จัดเดี๋ยวโดนแดก รึไม่ก็อาจจะเจอคำพูดทีว่า "ถ้าคุณทำไม่ได้ เดี๋ยวผมให้คนอื่นมาทำแทน" ฆ้วย !! ) โดยเอาพวกประจำวัน เจ้าหน้าที่คดี มาออกคำสั่งรองรับ แต่ถามว่าทำหน้าที่ ผู้ช่วย พงส. จริง ๆ ได้หรือไม่ .. ก็ไม่
จะปฏิรูปตำรวจ จะแก้ไขปัญหาการให้บริการ ต้องมาดู ว่าสาเหตุมาจากอะไร ไม่ใช่นั่งมโนนั่งเทียน แดกเบี้ยประชุม เงินเดือน ไปวันๆ นอกจากไม่แก้แล้วยังมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มภาระ ด้วยการเอาอัยการเข้ามาร่วมสอบสวน จริงๆถ้าคิดว่า ใครมีความพร้อม ก็ลองเอาไปทำดู ยกไปทั้งหมด ฝ่ายปกครอง ก็เป็นพนักงานสอบสวนได้ให้เขาลองทำดูบ้าง หรือจะให้อัยการ เอาไปทำทั้งสำนวนเลยก็ได้
เชื่อว่าหากแก้ปัญหา ของพนักงานสอบสวน ได้แล้ว การให้บริการ ที่เป็นปัญหา ก็จะดีขึ้นอย่างแน่นอน เพราะผู้ปฏิบัติงาน มีเวลาไม่เครียด มีความก้าวหน้า ตามสมควร ผลงานย่อมออกมาดี แต่นี่อะไร มีการส่งโครงสร้างพนักงานสอบสวนระดับ ผบช. - ผบก. - ผกก. (ตามภาพด้านล่าง) ทุกครั้งที่จะปฏิรูปตำรวจ จะต้องสาละวนอยู่กับโครงสร้าง เพิ่มตำแหน่งระดับบน(หัวโต แขนขาลีบ) มีตำแหน่งเยอะ ๆ จะได้วิ่งเต้น จะได้หาผลประโยชน์กัน ทุกวันนี้สถานีตำรวจแปลน 2 - 3 ชั้น หรือ แปลนเก่าที่อาคารเป็นไม้ ไม่มีห้องทำงานให้ระดับ รอง ผกก. - สว. กันอยู่แล้ว พวกคิดเพิ่มตำแหน่ง ลองดูแปลนสถานีตำรวจบ้างซิ จะให้มันนั่งกันตรงไหนวะ ตอนนี้ก็ต่อเติม สร้างห้อง สร้างอาคารเสริมข้าง ๆ กันอยู่แล้ว และเพิ่มตำแหน่งพวกนี้ ก็ไม่ได้ส่งผลดีกับประชาชนอะไรเลย พิสูจน์มาแล้วหลายครั้ง ที่ต้องเพิ่มคือ ระดับปฏิบัติ จะได้เพียงพอต่อการบริการประชาชนไง ฟาย !!(นี่พูดแค่เรื่องงานสอบสวนนะ ฮึ)
ข้างล่างนี้โครงสร้างพนักงานสอบสวนที่ว่า ดูเอาแล้วกัน
ข้างล่างนี้โครงสร้างพนักงานสอบสวนที่ว่า ดูเอาแล้วกัน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น