Police i lert U ชักเยอะ .. ลามไปบังคับประชาชนแล้ว !


มีเรื่องให้บ่นกันอยู่เรื่อย สำหรับการสั่งการของผู้บังคับบัญชาระดับ ตร. ที่ออกโครงการมาให้ลูกน้องวุ่นวายไม่รู้จบ ล่าสุดกับแอพพลิเคชั่น Police i lert U ที่เปิดตัวมาเป็นปี ๆ แล้ว  แต่ยอดดาวน์โหลด และการใช้งานแจ้งเหตุของประชาชนนั้นน้อยมาก  ถ้าเป็นแอพฯ เอกชนแบบอื่น ๆ ต้องถือว่าไม่คุ้มค่าแก่การลงทุน   โดยน่าจะมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย อาทิ  การใช้งานเลขหมาย 191 ยังคงเป็นการแจ้งเหตุที่เร็วที่สุด และสะดวกที่สุด  ถ้าเทียบระยะเวลาในการแจ้งเหตุระหว่าง กดโทรศัพท์ 191 กับ กดเข้าแจ้งในแอพฯ  ยังไง ๆ กดโทรศัพท์ก็เร็วกว่าแน่นอน

     ก็ยังงงงงอยู่เหมือนกันที่ ตร. พยายามจะผลักดันเลขหมาย 191 ให้เป็นเลขหมายแจ้งเหตุฉุกเฉินแห่งชาติ  เลขหมายเดียวเหมือนอารยะประเทศทั้งหลาย  ไม่ต้องจำเยอะ จะไฟไหม้ รถชน เจ็บป่วย เหตุด่วน เหตุร้าย ก็จำแค่เบอร์เดียวพอ จบ  และก็กำลังสร้างมาตรฐานการไปถึงที่เกิดเหตุให้เป็นที่ยอมรับ   อยู่ ๆ ก็เกิดแอพฯ Police i lert U ขึ้นมา  บอกให้ใช้งานควบคู่กันไปอีกช่องทางหนึ่ง

     ตอนแรกก็ให้ออกประชาสัมพันธ์พร้อม ๆ กับการออกตรวจ  ต่อมาก็ให้รายงานการ ปชส. พร้อมภาพถ่าย  ตำรวจโรงพักก็ต้องทำป้ายยืนถ่ายรูปคู่กับประชาชนว่าเราได้ ปชส. แล้วนะ   ซึ่งก็ยังไม่ค่อยมีคนโหลดใช้งานกันเท่าไหร่  แม้แต่ตำรวจเองก็ยังไม่ใช้(ก็มีวิทยุ มีไลน์ มีโทรศัพท์แล้วนี่หว่า)  ก็สั่งให้ตำรวจโรงพัก โดยเฉพาะสาย ป. โหลดใช้ และกดแจ้งที่อยู่เข้ามาในระบบทุกวัน

     ยัง ยังไม่พอ  ตอนนี้เริ่มมีการสั่งการ บังคับ ไปยังประชาชนในทุกสถานีตำรวจ อย่างน้อยโรงพักละ 2 - 3 คน  ให้โหลดแอพฯ Police i lert U มาใช้งาน และต้องแจ้งเหตุเข้ามาในระบบทุกวัน !  คือ มึงคิดได้ไง ให้บังคับประชาชน  สงสัยอยู่กับเผด็จการจนเริ่มเสพติดอำนาจ (ถ้าของมันดี มันมีประโยชน์ ไม่ต้องบังคับ เดี๋ยวเขาก็โหลดมาใช้เอง)

     ผมขอตั้งข้อสังเหตุเกี่ยวกับแอพฯ Police i lert U นี่สักหน่อย  เผื่อใครที่สามารถตอบได้ ช่วยตอบมาในช่องคอมเมนท์ที
  • ริเริ่มโครงการโดยใคร ใช้งบฯ เท่าไหร่  มีการประกวดราคาจัดจ้างหรือไม่  เพราะตัวแอพฯ  i lert U นี้ไม่ได้มีเฉพาะตำรวจนะครับ มีอีกหลายหน่วยงาน เช่น AIS , ศอ.บต. , ทางหลวงชนบท , การบินไทย ฯลฯ (ดูคำตอบจากผู้พัฒนาในช่องคอมเมนท์ด้านล่างครับ)
  • ใช้งบประมาณในการดูแลระบบต่อเดือนเท่าไหร่  ทำสัญญากันกี่ปี (ดูคำตอบจากผู้พัฒนาในช่องคอมเมนท์ด้านล่างครับ)
  • ในสัญญามีการกำหนดหรือไม่ว่า ถ้าระบบไม่สามารถทำงานได้ ต้องดำเนินการอย่างไรเพื่อชดเชยความเสียหาย  เพราะที่ผ่านมา มีบ่อยครั้งที่ระบบไม่อัพเดทในการแจ้งเหตุของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ต้องรอนานกว่าการแจ้งจะขึ้น  ถ้าเป็นเหตุของประชาชนจะเสียหายหนักนะ(ดูคำตอบจากผู้พัฒนาในช่องคอมเมนท์ด้านล่างครับ)
  • แอพฯ ต้องติดตั้งบนสมาร์ทโฟน ซึ่งเป็นของ "ส่วนตัว" มึงต้องเกรงใจเจ้าของเครื่องโว้ย  หน้าด้านบังคับเขาได้ยังไง  เขาจ่ายเงินซื้อเอง รายเดือนก็จ่ายเอง แพ็คเกจไม่ได้อลังการขนาดที่ว่าใช้เน็ตเท่าไหร่ก็ได้นะครับ(ก็กรูจน จะเอาเน็ตไว้ดู BNK48)
  • มีสิทธิ์อะไรไปบังคับประชาชน ให้แจ้งเหตุผ่านแอพฯ วันละ 2 ครั้ง ทุกสถานีตำรวจ(เชื่อเถอะ ตำรวจไทยจัดให้ได้หมด เพราะประเทศนี้ชอบตอแหลตัวเลข ดูสถิติคดีอาญาเกิด-จับ แม่งจะร้อยเปอร์เซนต์อยู่แล้ว)
  • ก่อนหน้านี้ทุกจังหวัดจะมีคอมพิวเตอร์ 1 ตัวในศูนย์ 191 ในกรณีที่มีผู้แจ้งเหตุในพื้นที่ มันจะขึ้นเตือน  แล้วจะได้ส่งต่อไปยังสถานีตำรวจที่เกิดเหตุ  ตอนนี้ โยนความรับผิดชอบในการรับแจ้งเหตุมาให้ระดับโรงพักอีก   กลายเป็นว่าทุกโรงพักต้องจัดหาคอมฯ 1 ตัว เปิด 24 ชม. ทุกวัน(ไว้ในห้องวิทยุ) เพื่อรอรับเหตุ Police i lert U   ไหนตอนแรกบอกไม่เป็นภาระกับผู้ปฏิบัติไง  ถ้าคอมฯ พังเพราะเปิดตลอดนี่ใครรับผิดชอบวะครับ



     ที่ผ่านมามีโปรแกรม หรือแอพฯ อะไรกี่อย่างแล้ว  ที่สั่งมาให้ตำรวจโรงพักทำ  แล้วแม่งง่อย ๆ ปัญญาอ่อน  จนต้องเลิกไป ปิดตัวไป  กี่ครั้ง กี่อย่าง จำกันได้บ้างมั๊ย  หมดงบประมาณไปเท่าไหร่ พี่น้องตำรวจทั่วประเทศต้องเป็นหนูทดลองของพวกท่าน  เสียเวลา เหนื่อยฟรี กันมากมาย  ถ้าจำไม่ได้ จะทบทวนให้ 
  • e Inspector  อันนี้ของ จเรตำรวจ(ยุคใครว้า จำไม่ได้แระ)  นั่งกรอกกันเป็นบ้าเป็นหลัง ถ่ายรูปอัพโหลด  ไม่ต้องทำงานอื่นกันเลย  สุดท้ายใช้ได้ไม่ถึงปี ฆวย ! ดีแล้วที่เลิก  ไร้สาระชิบหาย
  • Home Guard นี่ก็คล้าย ๆ Police i lert U นั่นแหละ  โหลดกันมาใช้รึยังล่ะ  แม่งอยู่ ๆ ก็เลิกไป ไร้ร่องรอย  อะไรของมันว่ะ  อุตส่าไปโฆษณาซะทั่ว  กรูอายเขานะ

     ตำรวจโรงพัก นอกจากคนน้อยลง  ภาระงานยังเพิ่มขึ้นอีก  ไอ้ที่เป็นงานจริง ๆ น่ะพอรับได้  แต่งานที่เพิ่มขึ้นจากนโยบายบรรเจิดของผู้บังคับบัญชา  ขอล่ะ พอซะทีเหอะ  เชื่อแล้วว่าโรงพักเป็นจุดแตกหัก 

ปล. ณ วันที่เขียนบทความ(20 ต.ค. 61 เชลซี เสมอ แมนฯ ยู 2-2) ก็มีผู้ดาวน์โหลดในระกับ แสนกว่าคนเท่านั้นเอง  นั่นหมายความว่าเป็นพี่น้องตำรวจโรงพักนั่นแหละที่ ต้อง โหลดมาตามคำสั่ง

by ... ตำรวจหอกหัก



ความคิดเห็น

  1. ผมเป็นผู้พัฒนา police ilertu สิ่งที่คุณเขียนมานี้ คุณเป็นตำรวจที่ไม่สอบหาความจริงอะไรเลย เขียนเอาเองผิดๆ ไม่ทราบแม้กระทั่งว่า police ilertu สร้างขึ้นมาโดยใคร เพื่อใคร เมื่อไร

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ริเริ่มโครงการโดยใคร ใช้งบฯ เท่าไหร่ มีการประกวดราคาจัดจ้างหรือไม่ ?
      ใช้งบประมาณในการดูแลระบบต่อเดือนเท่าไหร่ ทำสัญญากันกี่ปี ?

      ลบ
    2. โดยสรุป ilertu เป็นโ๕รงการที่ผมทำถวาย ในหลวง ร9 มาตั้งแต่ปี 84 พรรษาแล้วครับ โดยไม่เก็บค่าบริการใดใดทั้งสิ้น
      โครงการไม่ได้ใช้งบประมาณจากใครเลย บริษัทรับผิดชอบค่าใช้จ่ายการพัฒนา server อบรม ทำงาน เดินทาง ไปทำงานให้กับตำรวจทั่วประเทศ
      เราสัญญากับประชาชนทั้งประเทศว่าเราจะทำงานนี้ต่อไปโดยไม่มีค่าใช้จ่าย

      ดู clip ตามนี้นะครับ แล้วจะเข้าใจ

      https://www.youtube.com/watch?v=USRb2xCEgHU

      https://www.youtube.com/watch?v=ukP7W50gqyc

      https://www.facebook.com/claimdi/videos/1088807511294668/

      https://www.facebook.com/claimdi/videos/248543765776334/



      ลบ
    3. ต้องชื่นชมจริง ๆ ไม่ทราบชื่อบริษัทอะไร เป็นเจ้าของ ผู้พัฒนาครับ
      ในหน้าแรกของบล็อก เชคชั่นดาวน์โหลด ก็มีโฆษณาแอพฯ police i lert u ไว้แล้ว ติดมาเป็นปี ๆ นั่นแหละครับ
      ไม่เถียงว่ามันเป็นแอพฯ ที่ดี แต่ต้องไม่สร้างภาระให้กับเจ้าหน้าที่เหมือนอย่างปัจจุบันที่ได้เขียนไป แล้วยังบังคับให้ประชาชนต้องโหลด ต้อง lert จุดประสงค์ของการเขียนแอพฯ เป็นแบบนี้รึเปล่า ผมว่าไม่ใช่แน่
      ปัญหาอยู่ที่คนนำมาใช้ โดยเฉพาะผู้บังคับบัญชา ที่จะเอาอะไรต้องได้ดั่งใจ รวดเร็ว ไม่เป็นธรรมชาติ มีแอพฯ ไหนในกูเกิ้ลเพลย์บังคับยูเซอร์อย่างนี้บ้างไหม ที่เขียนมาทั้งหมด ไม่ได้ตำหนิแอพฯ นะครับ ตำหนิเจ้านายมากกว่า

      ลบ
    4. ผมว่าการสื่อสารคงผิดพลาดครับ เราไม่เคยออกคำสั่งให้บอกประชาชนให้กดครับ เราอยากให้เขาได้ทดลองเท่านั้น เมื่อเขาทดลองและมีตำรวจโทรกลับ เขาจะเกิดความมั่นใจว่าเราตำรวจไทย ทำงานนี้กันอย่างจริงจังครับ ไม่ใช่ออกมาแล้วไม่รับผิดชอบปล่อยให้ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือรอแล้วไม่มีตำรวจมาช่วยครับ
      สรุปว่าสื่อสารผิดพลาดครับ เราไม่เคยสั่งการแบบนั้น

      ลบ

แสดงความคิดเห็น