ออมเงินล้านฉบับมนุษย์เงินเดือน .. คุณก็ทำได้


ขอนำบทความดี ๆ สำหรับการออมเงินของข้าราชการอย่างเรามาฝากกันครับ   จะได้วางแผนสำหรับการเกษียณอายุราชการได้อย่างมีคุณภาพ  มีเงินเก็บกินดอกเบี้ย  มีเงินบำนาญ  ที่สำคัญคือต้องมีวินัยในการออม  เพราะต้องใช้เวลานับสิบปี  มาดูกันครับว่าจะต้องออมเงินสูตรไหน  จึงจะบรรลุตามเป้าหมาย

     ทุกวันนี้ กับสภาพเศรษฐกิจแบบ "รวยกระจุก จนกระจาย" หลาย ๆ คนมีรายได้ชักหน้าไม่ถึงหลัง  เงินออมที่มีก็น้อยนิด  ไม่สามารถงอกเงยให้เก็บดอกผลได้อย่างเพียงพอ   ดู ๆ แล้วอนาคตคงมีหนี้สินยันเกษียณแน่ ๆ 

     วันนี้ผมขอเสนอวิธีการออมเงินให้ถึงหลักล้านบาท ในแบบที่มนุษย์เงินเดือนทุกคนก็สามารถทำได้  อาจใช้เวลาแตกต่างกันออกไปบ้าง  ตามแต่กระบวนการ หรือเครื่องมือที่คุณเลือก  และเมื่อคุณได้ 1 ล้านบาทแรกแล้ว  การเก็บเงินออมเพิ่มเพื่อเป้าหมายที่ใหญ่กว่า ก็ไม่ใช่เรื่องยาก  มาดูกันครับ

     การออมเงิน ก็เหมือนการลงทุนในรูปแบบหนึ่ง  ถ้าเราเอาเงินไปฝากธนาคาร เราก็มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ธนาคาร  โดยธนาคารก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยให้กับเรา   หันมาดูดอกเบี้ยเงินฝากปัจจุบันไม่ถึง 2 %   เก็บเงินแบบนี้ไม่ไหว  เกษียณแล้วอาจยังมีเงินไม่ถึงล้าน  เพราะฉะนั้นตัดเรื่องการฝากเงินกับธนาคารออกไปได้เลยครับ  แล้วมีทางไหนเป็นตัวเลือกอีกบ้างนะ ?


     การซื้อหุ้นกับสหกรณ์ออมทรัพย์  ในแวดวงราชการเกือบทุกที จะมีสหกรณ์ออมทรัพย์ของตัวเอง  เราก็สามารถสมัครได้(คนนอกหน่วยเขา สมัครไม่ได้นะครับ)  โดยให้หักเก็บเงินในจำนวนที่เท่า ๆ กันในแต่ละเดือน  แล้วพอสิ้นปีเราก็จะได้ เงินปันผล  ก็คือดอกเบี้ยที่สหกรณ์นั้น ๆ ดำเนินการจนได้กำไร  แล้วเอามาแบ่งกับสมาชิกนั่นเอง    เงินปันผล สหกรณ์จะอยู่ที่ประมาณ 4 - 7 %   มาลองคิดเลขกันดูครับ  ระหว่างการออมด้วยเงิน 2,000 บาท/เดือน  กับ 6,000 บาท/เดือน  ในระยะเวลาเท่า ๆ กัน  และด้วยรูปแบบการออมแบบต่าง ๆ ผลลัพธ์จะแตกต่างกันขนาดไหน


     ต้องอธิบายก่อนนะครับว่า  ตามตารางข้างต้นนี้ เป็นการคิดแบบดอกเบี้ยทบต้น  คือเมื่อคุณได้ดอกเบี้ยมาเท่าไหร่  คุณก็ต้องนำกลับไปใส่ในการออมรูปแบบนั้น ๆ ทันที  เช่น สมมุติว่าปีนี้ได้ปันผลสหกรณ์มา 5,000 บาท  คุณก็ต้องนำเงินนี้กลับไปซื้อหุ้นออมต่อทันที  ไม่ใช่เอาดอกผลมาใช้จ่ายครับ

     จะเห็นได้ว่าภายใน 10 ปี  ด้วยการออมที่ถูกต้อง  มนุษย์เงินเดือนอย่างเรา ก็สามารถมีเงินเก็บถึง 1 ล้านบาทได้   ในรูปแบบการเก็บเดือนละ 6,000 บาท 120 งวด นั่นคือเราลงเงินจริง ๆ ไป 720,000 บาท  ที่เหลือคือดอกผล  เป็นพลังแห่งดอกเบี้ยทบต้นครับ





     การเก็บเงินกับสหกรณ์ หรืออย่างน้อยพันธบัตรรัฐบาล  มันก็ดีอย่างนะครับ  คือมันถอนออกมาใช้ยาก  ถ้าจะถอนต้องทำหลายขั้นตอน  อาจเสียผลประโยชน์ที่ควรได้จากดอกเบี้ยด้วย  ถ้าสหกรณ์ฯ สามารถหักเงินเดือนไปเลยได้  ก็จะดีมาก  คือถ้าปล่อยให้เงินมาอยู่กับเรา  รอใช้เหลือแล้วค่อยเก็บ  ส่วนใหญ่จะไม่เหลือไปถึงปลายเดือนแน่ ๆ  มีเท่าไหร่ก็ใช้หมด 555

     นอกจากสหกรณ์ออมทรัพย์แล้วก็ยังมี กบข.(กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ) ที่หลาย ๆ คนเป็นสมาชิกอยู่  นั่นก็ถือเป็นการออมเงินรูปแบบหนึ่งเช่นกัน ขั้นต่ำ 3 % ของเงินเดือน สูงสุด 15 %  แล้วรัฐบาลช่วยเติมให้ด้วย 3 %  เงินเราก็หักไปเขาก็เขาก็มีผู้บริหารกองทุน ไปบริหารให้ได้กำไรเพิ่ม  ส่วนรายละเอียดไปหาอ่านเอาเองในเว็บไซต์ของ กบข. นะครับ

     สำหรับท่านที่เป็นพนักงานอื่นที่ไม่มีสหกรณ์ออมทรัพย์  ก็ยังมีทางเลือกการออมอื่น ๆ ได้ครับ  ไม่แน่อาจได้ผลตอบแทนดีกว่า 7% อีกนะครับ   ตอนหน้ามาคุยต่อ


ขอบคุณบทความจาก .. Ecoman    https://thaisituation.blogspot.com/2019/06/blog-post_29.html



อ่านเรื่องอื่น ๆ เกี่ยวกับการออมเงิน และ Personal Finance

     ออมเงินล้าน ฉบับมนุษย์เงินเดือน .. คุณก็ทำได้

     เส้นทางการออมเงินเพื่อการเกษียณอย่างมีคุณภาพ

     กองทุนลดหย่อนภาษี LTF และ RMF จะซื้อกองไหนดี ?


ความคิดเห็น