ถึงช่วงเทศกาลปีใหม่ หรือสงกรานต์ทีไร พี่น้องตำรวจทั่วประเทศก็เข้าสู่โหมดการทำงานแบบ "ห้ามลา ห้ามขาด ห้ามป่วย" ต้องอยู่ในพื้นที่ห้ามไปไหน และต้องทำทุกวิถีทางในการลดปริมาณอุบัติเหตุจราจรในพื้นที่ให้ได้ รวมทั้งต้องมีผลการจับกุม 10 ข้อหาหลัก ให้มากขึ้นกว่าปีก่อน ๆ อีกด้วย
มาดูความลำบากของพี่น้องตำรวจโรงพักกันหน่อย ว่าในช่วงเทศกาลเขาทำอะไรกันบ้าง กำลังตำรวจก็เท่าเดิมนั่นแหละ แต่เนื้องานจะมีมากขึ้นเป็นพิเศษกันเลยทีเดียว อาทิ
- ตั้งจุดบริการประชาชน ที่เห็นตามริมทางทั้งหลายนั่นแหละครับ ซึ่งท่านที่เดินทางก็สามารถเข้าไปใช้บริการสอบถามเส้นทาง ขอดื่มน้ำ กาแฟ(ฟรี) หรือเข้าห้องน้ำ ได้ตลอด
- ตั้งจุดบังคับใช้กฎหมาย ตรวจจับ กวดขันวินัยจราจร แน่นอนว่าต้องจับมากกว่าปีก่อนไว้ เผื่อมีอุบัติเหตุเสียชีวิต จะได้ไม่โดนด่า
- จัดชุดเคลื่อนที่เร็ว คอยแก้ปัญหาในเส้นทาง , จับกุมพวกเมาขับที่ได้รับแจ้งมา จัดพนักงานสอบสวนประจำบนถนนสายหลักสำหรับคดีจราจรโดยเฉพาะ นั่นคือต้องเข้าเวรกันมากขึ้นกว่าปกติ
- กวาดล้างอาชญากรรม ทุกเทศกาลก็จะมีห้วงระดมกวาดล้างแบบนี้ แน่นอนต้องมีผลการจับกุม ปืน , หมายจับ , ยาเสพติด ตามเป้าที่กำหนด อย่าให้ขาด
- รักษาความปลอดภัยงานรื่นเริง งานบุญต่าง ๆ ทั้งการจุดพลุ เคาท์ดาวน์ สวดมนข้ามปี ฯลฯ รวมทั้งสถานบริการ สถานบันเทิงต่าง ๆ
- ประชุมทางไกล ปรับแผนกันในแต่ละวัน ทั้งกับ ตร. เอง และกับมหาดไทย
- ออกตรวจตามโครงการฝากบ้านไว้กับตำรวจ
- สืบสวนหาข่าวการก่อการร้าย อาชญากรรม ต้องไม่เกิดในพื้นที่ รวมถึงการ "วิ่งไล่ลุง" ก็เช่นกัน
มีการคาดโทษกันต่าง ๆ นานา หากมีสถิติอุบัติเหตุมากกว่าปีก่อน ไม่ว่าจะเป็นจำนวนครั้ง จำนวนผู้บาดเจ็บ และผู้เสียชีวิต หรือ การที่รถติด ชะลอตัว จุดไหนต้องแก้ไขโดยเร็ว อย่าให้มีเสียงบ่นไปถึงหูเจ้านายเด็ดขาด
จริง ๆ แล้วเรื่องความปลอดภัยทางถนน มีหน่วยงานที่เป็นเจ้าภาพหลักอยู่แล้ว นั่นคือ .... กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) สังกัดกระทรวงมหาดไทย ที่มีทั้งงบประมาณ กำลังพลที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ และอุปกรณ์เครื่องมือต่าง ๆ ตำรวจเราเป็นเพียงหน่วยงานร่วมส่วนหนึ่งเท่านั้น
น่าแปลกที่ผู้บังคับบัญชาเราไปเอางานหน่วยอื่นมาทำเหมือนกับตัวเองเป็นเจ้าภาพหลักซะอย่างนั้น ดูเป็นเดือดเป็นร้อนเกินหน้าเกินตา ปภ. ถึงกับคาดโทษพื้นที่หากมีอุบัติเหตุเกิดและมีผู้เสียชีวิตมากกว่าปีที่ผ่านมา หน่วยงานเจ้าภาพเขายังไม่ทำร้ายกันเองแบบนี้เลย มีแต่ตำรวจนี่แหละ
ที่เรียกว่า "7 วันอันตราย" นั่นก็ถูกแล้วล่ะครับ ไม่ใช่แค่อันตรายกับประชาชนผู้เดินทางเท่านั้น ยังอันตรายกับตำรวจท้องที่อีกด้วยนะ
น่าแปลกที่ผู้บังคับบัญชาเราไปเอางานหน่วยอื่นมาทำเหมือนกับตัวเองเป็นเจ้าภาพหลักซะอย่างนั้น ดูเป็นเดือดเป็นร้อนเกินหน้าเกินตา ปภ. ถึงกับคาดโทษพื้นที่หากมีอุบัติเหตุเกิดและมีผู้เสียชีวิตมากกว่าปีที่ผ่านมา หน่วยงานเจ้าภาพเขายังไม่ทำร้ายกันเองแบบนี้เลย มีแต่ตำรวจนี่แหละ
ที่เรียกว่า "7 วันอันตราย" นั่นก็ถูกแล้วล่ะครับ ไม่ใช่แค่อันตรายกับประชาชนผู้เดินทางเท่านั้น ยังอันตรายกับตำรวจท้องที่อีกด้วยนะ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น