ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การกำหนดราคาชดใช้แทนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ไม่สามารถส่งคืนตามกฎหมาย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567-2569 กล่าวคือให้ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชฯ และเหรียญราชการ ต้องส่งคืนชั้นรอง เมื่อได้รับพระราชทานชั้นตราสูงขึ้น หรือผู้ที่ได้รับมรดกของผู้ได้รับเครื่องราชฯ ที่เสียชีวิต ก็มีหน้าที่ต้องส่งคืนเช่นเดียวกัน หรือในกรณีทรงเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ แล้วแต่กรณี หากไม่สามารถนำส่งคืนได้ จะต้องชดใช้ราคาเครื่องราชฯ ตามตารางด้านล่างนี้
กล่าวคือทางราชการไม่มีงบประมาณที่จะสามารถแจกจ่ายเครื่องราชฯ ได้อย่างเพียงพอกับจำนวนข้าราชการที่มีสิทธิ จึงต้องการให้เกิดการส่งคืน เพื่อทางราชการจะได้นำไปทำความสะอาด ปรับแต่งให้สวยงาม และส่งมอบให้กับข้าราชการที่มีสิทธิลำดับต่อ ๆ ไป เพราะอย่างไรเมื่อได้เครื่องราชฯ ในลำดับชั้นที่สูงขึ้น เครื่องราชฯ อันเก่าก็ไม่ได้ใช้อยู่แล้ว โดยที่สภาพนั้นก็ยังดูเหมือนใหม่ เพราะปี ๆ นึงจะใช้ไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น การส่งต่อจึงเป็นทางเลือกที่ดี และประหยัดงบประมาณ
แต่ถ้าหลงลืม ไม่เก็บรักษาให้ดีจนเกิดการสูยหาย ไม่สามารถส่งคืนได้ด้วยประการใด ๆ ก็จะต้องมีราคาชดใช้ที่จะต้องจ่ายในระดับที่แพงมาก เริ่มตั้งแต่สองพันกว่าบาท ไปจนถึง สามล้านห้า ตามระดับชั้นของเครื่องราชฯ ส่วนวิธีการส่งคืน และที่อยู่ที่จะส่งคืนนั้น คือ
- ส่งด้วยตนเองหรือมอบอำนาจมาคืนที่ กองเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตึกสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ถ.ราชดำเนินนอก (จะมีกล่องหรือไม่มีกล่องก็ได้) พร้อมทั้งนำสำเนาบัตรเจ้าของ มากรอกแบบฟอร์มการส่งคืน จากนั้นจะได้ใบเสร็จเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน
- ส่งคืนต้นสังกัดของตนเองที่ได้รับมา เช่น งานกำลังพล บก. และต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือติดตัวเราไว้ด้วยว่าได้ส่งคืนแล้ว ด้านงานธุรการกำลังพล ต้องทำทะเบียนคุมไว้ว่าใครได้รับไป และใครนำมาส่งคืนแล้วบ้าง เมื่อได้รับคืนแล้ว งานธุรการกำลังพลไม่สามารถส่งต่อให้คนอื่นใช้ได้ทันที ต้องรวบรวมส่งกลับไปยังกองเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เพื่อทำความสะอาด ซ่อมแซมเสียก่อน
การตรวจสอบว่าตนเองได้เครื่องราชฯ อะไรบ้าง ท่านสามารถตรวจสอบกับงานธุรการกำลังพลต้นสังกัดนะครับ อย่าไปถามกองเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เขานะ เขาไม่มีข้อมูลละเอียดขนาดนั้น
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น