ว่าด้วย "ตำรวจเกณฑ์" ดีไม่ดีอย่างไร

เป็นอันว่าร่าง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2558  น่าจะผ่านออกมาบังคับใช้กันในไม่นานนี้แน่ ๆ และมีประเด็นที่เคยได้ยินกันมาแล้วในเรื่อง "ตำรวจเกณฑ์" ที่จะทำการเกณฑ์มาประจำการ ซึ่งจะใช้วิธีเดียวกับการเกณฑ์ทหาร จากเดิม ชายไทยที่มีอายุ ครบ 20 ปี จะต้องเข้ารับการเกณฑ์ทหาร ซึ่งมี 3 เหล่า คือ กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ ก็จะเพิ่มตำรวจ เข้าไป โดย จะเริ่มในเดือน พ.ค ปี 58 นี้ เบื้องต้นต้องการกำลังพล 5,000 - 10,000 นาย ขึ้นอยู่กับงบประมาณ โดยจะได้รับเงินค่าตอบแทน 9 พันบาท ต่อเดือน 2 ปี ปลดประจำการ และจะมีโควต้าบรรจุเป็นข้าราชการตำรวจชั้นประทวน โดยดูจากการปฎิบัติงานและพฤติกรรมในการเป็นตำรวจกองประจำการ

ตำรวจเกณคืออะไร  เหตุผลความจำเป็น
     1.ตำรวจ มีภารกิจด้าน ถปภ. งานป้องกันปราบปรามอาชญากรรม การรักษาความสงบเรียบร้อยภายใน งานด้านความมั่นคงและการให้บริการประชาชน
     2.ลักษณะงานบางอย่าง ไม่จำเป็นต้องใช้ผู้ที่ได้รับการฝึกอบรบด้านการสืบสวนสอบสวนป้องกันปราบปรามโดยตรง
     3.ปัจจุบันมีปัญหาการขาดแคลนกำลังพล และกำลังพลที่มีอายุสูงขึ้น
     4.การสรรหาบุคคลากรในอดีตมี
          4.1การคัดเลือกและบรรจุบุคคลข้าราชการตำรวจ
          4.2 การเกณฑ์บุคคลเข้ารับราชการเป็นตำรวจกองประจำการ(ตำรวจเกณฑ์) ตาม พรบ.รับข้าราชการทหาร พ.ศ.2497 และ พรบ.ระเบียบข้าราชการตำรวจ พ.ศ.2521
     5.พรบ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2557 ยกเลิกชั้น พลตำรวจ

     เงินเดือน เบี๊ยงเลี้ยงเงินเพิ่มค่าครองชีพ ไม่เกินเดือนละ 9,000 บาท ค่าใช่จ่ายอื่นๆในเกณฑ์ได้แก่ ค่าแบบพิมพ์ , ค่าใช้จ่ายในการส่งตัวเข้าหน่วยและเครื่องแต่งกาย ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรบหลักสูตรเช่นเดียวกับการฝึกทหาร ระยะเวลา 10 สัปดาห์  ส่วนหลักสูตรเพิ่มเติมอื่นๆ ที่มีค่าใช้จ่ายเฉพาะอุปกรณ์เครื่องช่วยฝึก วัสดุ ค่าใช้สอย หรือค่าใช้จ่ายสำหรับการฝึกนอกที่ตั้งส่วนค่าอาหารจะรวมอยู่ในเบี๊ยเลี้ยง เช่นเดียวกับการกรณีทหารเกณฑ์





วิธีการสรรหาและคัดเลือกบุคคลเข้าเป็นตำรวจกองประจำการ
     ดำเนินการเช่นเดียวกับการเรียนและการตรวจเลือกคนเข้าเป็นทหารกองประจำการหรือการเกณฑ์ทหาร  โดยตำรวจ จะต้องทำความตกลงกับกระทรวงกลาโหม เพื่อกำหนดจำนวนที่จะตรวจเลือกในแต่ละปีให้ฝ่ายทหารเป็นผู้เรียกและตรวจเลือก แล้วส่งบุคคลดังกล่าว ให้ฝ่ายตำรวจรับตัวเพื่อฝึกอบรมและปฏิบัติงานต่อไป  วางกรอบจำนวนกำลังพลประมาณ 5000-10000 นายต่อปี

ข้อดี(พยายามคิดให้นะครับ)

  • มีกำลังพลวัยหนุ่มทดแทนสำหรับงานเฉพาะด้านบางประการ เช่น การควบคุมฝูงชน , การช่วยเหลือผู้ประสบภัย , การเสริมกำลังปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในการระดมกำลังในงานต่าง ๆ เช่น ถปภ. , รักษาความปลอดภัย ฯลฯ
  • สามารถคัดบุคลากรที่จะมาเป็นนักเรียนนายสิบตำรวจได้ส่วนหนึ่ง
  • มีกำลังพลพร้อมรับสถานการณ์พิเศษต่าง ๆ ข้างต้น


ข้อเสีย

  • กำลังพลที่ได้มานั้นไม่สามารถทำงานอย่างตำรวจได้จริง เนื่องจากไม่มีความรู้ความชำนาญเฉพาะด้าน  จึงทำได้แต่งานที่ต้องทำตามคำสั่ง และมีการควบคุมใกล้ชิด
  • สิ้นเปลืองงบประมาณ เพราะถ้าดูจากเงินเดือน 9,000 บาท/คน และให้รวมอยู่ในที่ตั้ง(อาจเป็น บช. หรือ ศฝร.) ซึ่งต้องมีการประกอบเลี้ยง 3 มื้อ และที่พัก  ดูแล้วเงินจำนวนเดียวกันนี้สามารถบรรจุ นายสิบตำรวจ ซึ่งเป็นข้าราชการได้เช่นกัน  อาจลดจำนวนลงมาเพื่อให้สอดคล้องกับงบประมาณได้
  • โอกาสที่จะใช้งานตำรวจเกณฑ์ มีไม่มาก  ไม่น่าจะคุ้มค่ากับการลงทุนแต่อย่างใด
  • เป็นการแก้ปัญหากำลังพลที่ไม่ตรงจุด(คันตีน เสือกเกาตูด ว่างั้น) การขาดแคลนกำลังพลส่วนหนึ่งเพราะบริหารจัดการไม่ดีพอ เช่น มีงานธุรการมากเกินไปทำให้ต้องลดกำลังสายตรวจ(ธุรการนี่ชี้เป็นชี้ตายในการตรวจงานเอกสาร) , มีกำลังพลแฝง ช่วยราชการ ตามนาย ตามนักการเมือง ตามผู้มีบารมี , เกลี่ยกำลังพลจาก บช. , กอ.รมน. มาอยู่โรงพัก มาทำงานตำรวจจริง ๆ
  • เปิดโอกาสให้มีการใช้เส้นสาย ระบบอุปถัมภ์ ในการคัดเลือกตำรวจเกณฑ์มาเป็นนายสิบตำรวจ
  • ปัญหาทหารเกณฑ์ ที่ออกจากค่ายมาสร้างปัญหาในพื้นที่ เป็นอย่างไร  ตำรวจเกณฑ์ อาจสร้างปัญหาหนักยิ่งกว่าก็เป็นได้
  • ถูกเกณฑ์มา เหมือนโดนบังคับ เมื่อใจไม่มา จะทำอะไรมันก็ไม่ได้ผลที่ดี  อาจสร้างความเสียหายต่อประชาชน และองค์กรได้

      เชื่อว่าหากมีการเปิดรับสมัครตำรวจเกณฑ์ ก็คงมีเด็กหนุ่มสมัครใจเลือกจนเต็มโควต้าแน่ ๆ เหลือจับสลากไว้ให้ทหารอีกสามเหล่า  เพราะอยู่กับตำรวจแน่นอนว่าเรื่องการฝึกไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน  แต่ตำรวจรู้จักกฎหมาย และสิทธิมนุษยชน  โอกาสที่จะทำเกินเลย ถ่อย ๆ จึงน้อย  อยู่กับครูฝึกตำรวจปลอดภัยกว่าเห็น ๆ   หากเป็นอย่างที่คาด คงโดนข้อหาหมั่นไส้จากสามเหล่าทัพผู้เกรียงไกร ใหญ่สุดในสามโลกอีกเป็นแน่
     หากโจทย์อยู่ที่การแก้ปัญหากำลังพล และไม่สามารถเพิ่มอัตราจาก กพ. ได้  ลองกลับมาทบทวน ตรวจสอบ ส่องกระจกกันดูหน่อยมั๊ยครับ  ว่าเราบริหารกำลังพลกันห่วยแตกเพียงใด  เอางบประมาณก้อนดังกล่าวมาบรรจุ "ตำรวจจริง" ดีกว่าครับ  มีน้อยหน่อย แต่ได้คุณภาพ บวกกับบริหารกำลังพล ลดงานธุรการ  เชื่อว่าเป็นแนวทางที่ถูกต้องครับ จ้าวนาย !!

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง ปฏิรูปตำรวจฉบับผู้ปฏิบัติ




ความคิดเห็น