สมาคมผู้สื่อข่าวและช่างภาพอาชญากรรมแห่งประเทศไทย ได้ประชุมเครียด เค้นสมองกันอย่างหนัก เพื่อการตั้งฉายาตำรวจในแต่ละปี เป็นการสะท้อนมุมมองสื่อผู้ยิ่งใหญ่ว่าจะตราหน้าตำรวจไทยอย่างไรก็ได้ ส่วนรัฐบาลเผด็จการทหารนั้น "ไม่กล้า" มาดูฉายา ตำรวจประจำปี 2559 จำนวน 11 ฉายา กันครับ ว่ามีอะไรกันบ้าง
เมื่อวันที่ 11 ธ.ค.59 เวลา 12.00 น. ที่สมาคมผู้สื่อข่าวและช่างภาพอาชญากรรมแห่งประเทศไทย นายไพโรจน์ เทศนิยม นายกสมาคมผู้สื่อข่าวและช่างภาพอาชญากรรมแห่งประเทศไทย นายสมชาย จรรยา รองนายกสมาคมฯ นายธนากร ริตุ เลขาสมาคมฯ ได้ร่วมกันเปิดเผยฉายาตำรวจประจำปี 2559 โดยระบุว่า ทางสมาคมฯ ได้ทำงานใกล้ชิดกับแหล่งข่าวที่เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ และติดตามการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจก่อนจะนำผลงานต่าง ๆ มา เสนอต่อสายตาประชาชนจนเป็นที่ยอมรับของสังคม และตลอดเวลาที่ผ่านมาสื่อมวลชนได้ดูการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในรอบปี ทางสมาคมจึงได้ร่วมตั้งฉายาตำรวจประจำปีขึ้น ซึ่งเกณฑ์ในการตั้งได้ประชุมกับผู้สื่อข่าวซึ่งเป็นตัวแทนจากสื่อมวลชนจากสังกัดต่าง ๆ มีการเสนอชื่อนายตำรวจเข้ามาและคัดเหลือ 11 นายด้วยกันมีดังนี้
1. พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร. ฉายา “สุภาพบุรุษโล่เงิน” จากการทำงานในรอบปีที่ผ่านได้ เดินเครื่องเต็มสูบในการขับเคลื่อนการปฏิรูป การบริการประชาชน ทำให้คดีอาชญากรรมลดลง และองค์กรมีความสามัคคีขึ้น ล่าสุดได้สั่งการให้ตำรวจทั่วประเทศ ลงไปช่วยเหลือชาวนา บรรเทาความเดือดร้อน โดยใช้กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ไม่ติดราชการ และไม่ให้งานปกติเสียหาย ออกไปช่วยเกี่ยวข้าวในลักษณะจิตอาสา ขณะเดียวกัน เพื่อเพิ่มช่องทางขายข้าวให้ชาวนา สามารถนำข้าวไปวางขายที่สถานีตำรวจทุกแห่งทั่วประเทศ จนได้รับคำชมจากประชาชนว่าเป็นสุภาพบุรุษ จึงเป็นที่มาของ ฉายา “สภาพบุรุษโล่เงิน”
2. พล.ต.อ.เฉลิมเกียรติ ศรีวรขาน รอง ผบ.ตร. ฉายา “นายพลน้ำดี” ดูแลงานป้องกันและปราบปราม พร้อมลุยงานป้องกันทรัพยากรธรรมชาติ จากผลงานที่ผ่านมาไม่ว่า จะจับกุมคดีงาช้าง จับกุมคดีตัดไม้ทำลายป่า จนเป็นที่ยอมรับของประชาชน และเป็นตำรวจที่ทำงานผ่านมาโดยไม่มีประวัติด่างพร้อย จึงเป็นที่มาของ ฉายา “นายพลน้ำดี”
3. พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ฉายา “ผู้ว่าส้มหล่น” จากที่ผ่านมา เป็นรองผู้ว่าได้มุ่งเน้นที่จะให้กรุงเทพฯ อยู่อย่างสุขสงบ ไม่ว่าจะเป็นการจัดระเบียบสังคม หรืองานบรการด้านต่างๆการทำงานของ พล.ต.อ.อัศวินขวัญเมือ จึงเป็นที่โดดเด่นในสายตาของประชาชน ภายหลัง หม่อมหลวงสุขุมพันธ์ได้ถูกพักราชการ นายกรัฐมนตรีจึงได้ใช้ ม.44 แต่งตั้งให้ เป็นผู้ว่ากรุงเทพมหานคร โดยไม่ต้องมีการเลือกตั้งเหมือนผู้ว่าอื่นที่ผ่านมา จึงเป็นที่มาของ ฉายา “ผู้ว่าส้มหล่น”
4. พล.ต.ท.ดร.สุวีระ ทรงเมตตา รรท.(สบ10) ฉายา “นายพล วันสต๊อบเซอร์วิส” ที่ผ่านมา พล.ต.ท.ดร.สุวีระ จับกุมคดีสัมคัญๆ ที่ผ่านมา จนเป็นที่ไว้วางใจของ ผบ.ตร.จึงตั้งให้เป็นหัวหน้าคณะทำงาน ในการปฏิรูป การให้บริการประชาชนในสถานีตำรวจทั่วประเทศ ให้เสร็จสิ้น ณ จุดเดียว ด้วยการจัดทีมบูรณาการ รับแจ้งความอย่างรวดเร็ว และดูแลบริการประชาชนอย่างญาติมิตร ทั้งออกตรวจสถานที่เกิดเหตุ และติดตามจับกุมคนร้ายได้อย่างโดนใจประชาชนสมกับเป็นตำรวจยุคใหม่ จึงเป็นที่มาของ ฉายา “นายพล วันสต๊อบเซอร์วิส”
5. พล.ต.ท.ฐิติราช หนองหารพิทักษ์ ผู้บัญชาการสอบสวนกลาง ฉายา “หมอเฉพาะทาง” เนื่องจากว่า บช.ก. เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบครอบคลุมเกือบทุกด้าน มีความเชี่ยวชาญเฉพาะตัว เหมือนกับหมอที่เชี่ยวชาญเฉพาะโรค ถ้าเกิดคดีสัมคัญในท้องที่ต่างๆ บช.ก, ก็มีกำลังและหน่วยงานที่มีความสามารถและเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ เช่น กองปราบ บก.ปอท. บก.ปทส. จะลงไปไปแก้ไขปัญหาจนสามารถปิดคดีได้ อย่างโดนใจประชาชน จนเป็นที่ยอมรับของสื่อมวลชนและประชาชน จึงเป็นที่มาของฉายา “หมอเฉพาะทาง”
6. พล.ต.ท.ณัฐธร เพราะสุนทร ผบช.สตม. ฉายา “มือปราบอินเตอร์” หลังจากเข้ามาดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ก็นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาตรวจสอบประวัติอาชญากรข้ามชาติที่หลบหนี เข้ามาอยู่ในเมืองไทย จนนำไปสู่การจับกุมคนร้ายชาวต่างชาติเป็นจำนวนมากที่สุดในรอบ 5 ปี ที่ผ่านมา จึงได้รับ ฉายา “มือปราบอินเตอร์”
7. พล.ต.ท.ศานิตย์ ถาวร ผบช.น. ฉายา “น.1 บึ่งทุกที่” ส่วนใหญ่ประชาชนและสื่อมวลชนจะเห็ยการทำงานของ พล.ต.ท.ศานิตย์ อย่างขยันขันแข็ง โดยไม่สนใจว่าจะเป็นคดีเล็กหรือคดีใหญ่ ขอให้เป็นเรื่องที่ประชาชนเดือนร้อน จะลงไปกำกับดูแลคดี และบริการประชาชน ด้วยตัวเองทุกครั้ง จึงเป็นที่มาของ ฉายา “น.1 บึ่งทุกที่”
8. พล.ต.ต.ดร.อดุลย์ ณรงค์ศักดิ์ รอง ผบช.น. ฉายา “นายพลอกหัก” เนื่องจากที่ผ่านมามีการเสนอชื้อเข้าชิง ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ และเป็นที่ยอมรับของ สมาคมโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ทุกคนจึงคาดการว่า จะได้เป็น ผบช.รร.นรต. แต่ผลการแต่งตั้งออกมากลับไม่มีชื้อของ พล.ต.ต.ดร.อดุลย์ ณรงค์ศักดิ์ เป็น ผบช.รร.นรต.เจ้าตัวคิดว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม เหมือนโดนปล้นเก้าอี้ จึงทำหนังสือร้องสื่อมวลชนขอความเป็นธรรม ชี้การแต่งตั้งไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นที่มาของ ฉายา “นายพลอกหัก”
9. พ.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผกก.ปพ. ฉายา “มือปราบสายธรรมะ” เนื่องด้วย พ.ต.อ.ต่อศักดิ์ เป็นหัวหน้าหน่วยคอมมานโด ที่ดูแข็งแกร่งน่าเกลงขาม และปราบปราม กลุ่มมาเฟีย และผู้มีอิธิพล จนเป็นที่หวาดกลัวของคนร้าย แต่อีกด้านเมื่อว่างเว้นภารกิจมักจะพาผู้ใต้บังคับบัญชาเข้าวัดปฏิบัติธรรม ช่วยเหลืองานการกุศลไม่ขาดสาย ทั้งมอบทุนการศึกษา มอบจักรยานให้เด็กนักเรียนในถิ่นธุระกันดารและสร้าบ้านให้กับคนจน ถือว่าเป็นนายตำรวจตัวอย่างดังคำกล่าวที่ว่า งานบุญไม่ขาด งานราษฎ์ไม่เคยทิ้ง จึงเป็นที่มาของฉายา “มือปราบสายธรรมะ”
10. พ.ต.อ.เติมเผ่า สิริภูบาล ผกก.สน.สุทธิสาร ฉายา “ผู้กำกับปวดหาย” ตั้งแต่เข้ามาประจำการในตำแหน่ง ผู้กับกับใน.สังกัด บชน. เริ่มจากสน.ทุ่งสองห้อง ก็เกิดคดีการตรวจยึดรถหรูจำนวนกว่า 200 คัน และตามมาด้วยพนักงานสอบสวนที่ทำคดีเกิดแรงกดดันตัดสินใจยิงตัวคาแฟลตตำรวจ ก่อนจะย้ายมาดำรงตำแหน่ง ผกก.สน.สุทธิสาร ของเก่ายังไม่เคลียร์ แต่ก็ยังไม่วายเกิดเรื่องอื้อฉาวขึ้นมาอีก ผู้ใต้บังคับบัญชาไปทำร้ายร่างกายนักพนันจนเสียชีวิต ไม่ว่าจะย้ายไปที่ไหนงานก็เข้าทุกที่ จนต้องกินยาแก้ปวดหาย จึงเป็นที่มาของ ฉายา “ผู้กำกับปวดหาย”
11. ด.ต.มานะ จอกโคกสูง ผบ.หมู่งานจราจรโครงการพระราชดำริ กก. 6 บก.จร. ฉายา “หมอตำแยสายแว้น” เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีหน้าอำนวยความสะดวกการจราจรในพื้นที่ กทม. ประกอบหน่วยงานในสังกัดได้มีการจัดอบรมการทำคลอดฉุกเฉิน ซึ่งเมื่อมีเหตุหญิงท้องแก่ใกล้คลอดระหว่างนำส่งรพ.แต่ประสบปัญหาการจราจรติดขัด จนทำให้ด.ต.มานะ และเพื่อนในสังกัด บึ่งรถจักรยานยนต์คู่กาย ไปทำคลอดกลางถนนมาแล้วไม่ต่ำกว่า 100 ราย จนเป็นที่ยอมรับของประชาชน จึงให้ ฉายา “หมอตำแยสายแว้น”
*******************
ดูเหมือนว่าปีนี้สมาคมผู้สื่อข่าวและช่างภาพอาชญากรรมแห่งประเทศไทย จะนุ่มนวลกับตำรวจกว่าทุกปี ไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น หรือจะเป็นที่สถานการณ์บ้านเมืองยังอยู่ในช่วงโศกเศร้า + รัฐบาลเผด็จการทหาร เลยมาแบบเบา ๆ ไม่เหน็บแนมเหมือนก่อน
ข่าวอาชญากรรม ส่วนมากที่ได้เนื้อหาข่าว ก็มาจากการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นส่วนใหญ่ ที่รวบรวมเอาข้อมูล รายละเอียดมาให้ แถมบางทียังจัดให้ถ่ายภาพกันอีก นักข่าวได้ข่าวก็ส่งเข้าสำนักพิมพ์หรือทีวี ได้ "ค่าข่าว" ตามความน่าสนใจที่ต้นสังกัดจัดให้ เรียกว่าหากินกับตำรวจเป็นส่วนใหญ่ว่างั้น บางทีก็มีไถค่าน้ำมัน ค่าลงโฆษณาถวายพระพร เอากับตำรวจอีก พวกนั่งในสำนักงาน สำนักข่าว ควรต้องตระหนักมุมนี้ด้วย จะบอกว่าไม่รู้เรื่อง ไม่เกี่ยวอย่างนั้นหรือ ? .... ไม่ได้ว่าอะไร แค่บอกให้รู้เฉย ๆ อิอิ(ไม่มีใครดีหมด หรือชั่วหมด ควรทำความเข้าใจซึ่งกันและกันจะดีกว่า)
ข่าวอาชญากรรม ส่วนมากที่ได้เนื้อหาข่าว ก็มาจากการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นส่วนใหญ่ ที่รวบรวมเอาข้อมูล รายละเอียดมาให้ แถมบางทียังจัดให้ถ่ายภาพกันอีก นักข่าวได้ข่าวก็ส่งเข้าสำนักพิมพ์หรือทีวี ได้ "ค่าข่าว" ตามความน่าสนใจที่ต้นสังกัดจัดให้ เรียกว่าหากินกับตำรวจเป็นส่วนใหญ่ว่างั้น บางทีก็มีไถค่าน้ำมัน ค่าลงโฆษณาถวายพระพร เอากับตำรวจอีก พวกนั่งในสำนักงาน สำนักข่าว ควรต้องตระหนักมุมนี้ด้วย จะบอกว่าไม่รู้เรื่อง ไม่เกี่ยวอย่างนั้นหรือ ? .... ไม่ได้ว่าอะไร แค่บอกให้รู้เฉย ๆ อิอิ(ไม่มีใครดีหมด หรือชั่วหมด ควรทำความเข้าใจซึ่งกันและกันจะดีกว่า)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น