ปัญหาการจัดการกำลังพลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีปัญหาอยู่ในทุกระดับ ปัญหาหนึ่งก็คือการ "ช่วยราชการ" โดยหน่วยเหนือได้เอากำลังพลของสถานีตำรวจไป ทำให้กำลังพลที่ปฏิบัติงานจริงขาดแคลน งานล้น คนไม่พอ พองานเสียหายก็ถูกตำหนิ ถูกลงโทษกันไปอีก มาดูลักษณะการช่วยราชการกันบ้างครับ ว่ามีแบบไหนบ้าง
- ย้ายเอาชื่อมาฝากไว้ ตัวไม่เคยมา พวกนี้ก็ประมาณว่าจะเอาค่าตอบแทนในตำแหน่ง ส่วนตัวก็ไปทำงานกับนาย
- โดนย้ายมาแบบไม่เต็มใจ บางทีข้ามจังหวัด ไกลบ้าน งานไม่ถนัด ฯลฯ พวกนี้ก็วิ่งสิครับ ไปอยู่สารพัดชุด ที่จะตั้งกันขึ้นมาหลังจากแต่งตั้งเสร็จ
- เอาคนเก่งของสถานีไป ใครมีหน่วยก้านดี ๆ เป็นตัวหลักของสถานีตำรวจ แม่งเอ๊ย ถูกดึงไปหมด เอาไปทำงานระดับ บก. หรือ บช. งานโรงพักมันก็ด้อยลงเห็น ๆ พอมาตรวจก็ด่ากูอีก สัส
- พวกมีเรื่อง มีปัญหา ไม่มีใครเอา ก็เอามาทิ้งไว้ให้โรงพักรับผิดชอบ 1212 พวกนี้อยู่ไหนก็มีปัญหาหมด แต่จะโยนมาโรงพัก อยู่พื้นที่ที่จะต้องพบประชาชน ทำอย่างนี้มันถูกหรือ ?
พวกนี้ไปในคำสั่งแบบ ไม่ขาดจากต้นสังกัด พอถึงวาระการพิจารณาความดีความชอบกลางปี พวกเฮีย ๆ นี่ก็จะ "ขอนาย" ให้ส่งชื่อมาที่สถานีตำรวจ เพื่อแย่งขั้นของผู้ปฏิบัติงานในสถานีอีก ความชอกช้ำจึงตกกับผู้ปฏิบัติงานในสถานีตำรวจ แทนที่จะได้ขั้นตามเนื้องานที่ผลิตให้กับหน่วย คนได้ขั้นของโรงพักกลายเป็นคนที่ไม่เคยทำงานให้โรงพัก มันเป็นเรื่องที่เข้าใจ ทำใจได้ยากจริง ๆ
การพิจารณาขั้น ใครอยู่ไหน ก็ควรให้หน่วยนั้นเป็นคนพิจารณาตามสัดส่วนของผู้ปฏิบัติหน้าที่จริง ไม่ใช่เอาผู้ที่ครองตำแหน่งแต่ตัวไม่อยู่ เช่น ถ้าไปช่วย บก. ทาง บก. ก็พิจารณารวมกับกำลังพลของตัวเองไปสิ ดีเด่นจริงก็เอาขั้น บก. ไป จะมาแย่งขั้นสถานีตำรวจทำไม บก. เอาคนไปเพิ่ม สัดส่วนก็เพิ่มอยู่แล้ว
ถ้าคิดว่างานมันมากจนต้องเอาคนมาล้นกรอบถึงจะทำงานได้ ก็ควรคิดหาวิธีลดภาระงานที่ซ้ำซ้อน ไม่จำเป็นลงบ้าง จะได้ไม่ต้องไปเบียดเบียนสถานีตำรวจ ทุกวันนี้คนทำงานเขาเซ็ง ท้อแท้ หมดกำลังใจแค่ไหน ลองตรองกันดูบ้างนะครับ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น