เพื่อนข้าราชการตำรวจหลายคน หรือบรรดาเพื่อนข้าราชการที่มีสิทธิซื้ออาวุธปืนในโครงการสวัสดิการ Sig Sauer P365 คงเคยได้ทราบข่าวหรือประสบด้วยตนเอง เกี่ยวกับการขอใบอนุญาตให้ซื้ออาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืน (แบบ ป.3) ที่มีปัญหาสารพัดแบบ บางอย่างก็ไม่น่าเชื่อว่าจะมาจากสมองของผู้นำระดับ "นายอำเภอ" อาทิ
ประวิงเวลาในการพิจารณาคำขอ ถ้าไม่วิ่งเต้น มีซองขาวบรรจุธนบัตรแนบไปด้วย
ตรวจสอบคุณสมบัติเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด เช่น ผู้ขอใบ ป.3 ต้องไปประเมินสุขภาพจิต หรือ ขอหนังสือรับรองจากการผ่านการอบรมยิงปืน ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้ ออกใบ ป.3 กันเป็นร้อย เป็นพัน ไม่เคยต้องใช้มาตรฐานเช่นนี้แต่อย่างใด
เรียกค่าใช้จ่ายใต้โต๊ะ ว่ากันว่าอย่างน้อยต้องมีหลายพันต่อกระบอก เป็นที่รู้กัน
ปัญหาข้างต้นนี้ได้สะท้อนไปถึงกระทรวงมหาดไทย จึงได้มีหนังสือชี้แจงทำความเข้าใจให้กับผู้ว่าราชการทุกจังหวัด ให้ไปบอกนายทะเบียนอาวุธปืนประจำท้องที่ ซึ่งก็คือนายอำเภอทุกแห่ง ให้ดำเนิการพิจารณาคำขอ แบบ ป.3 ให้ถูกต้องตามระเบียบ กฎหมายโดยเคร่งครัด ดังนี้
โครงการอาวุธปืนสวัสดิการก่อนหน้านี้ไม่รู้กี่สิบ กี่ร้อยโครงการ ไม่เคยมีโครงการไหน ทำราคาได้ต่ำขนาดนี้มาก่อน เรียกได้ว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติทำโครงการขายปืนในราคาถูกกว่าโครงการของมหาดไทย หรือกองทัพเกือบครึ่ง ถือเป็นปรากฎการณ์ที่นาน ๆ จะมีคนบ้าพอที่จะทำ
เพราะมันมีกระแสว่า มีส่วนต่างมหาศาล มีเงินใต้โต๊ะ งาบกันมาทั้งระบบอย่างต่อเนื่องยาวนาน พ่อค้าอาวุธที่เสนอโคตรงการ เหมาจ่ายกันเป็นรายกระบอกให้กับผู้มีอำนาจ ทั้ง ๆ ที่ต้นทุนแค่สองหมื่นกว่า แต่เอามาขายในราคาเกือบสองเท่า ส่วนต่างขนาดนี้ กับผู้ซื้อที่ต้องกู้เงินมา และผ่อนปืนไปอีกหลายปี เหตุธาตุแท้กันเลยทีเดียว(จริง ไม่จริง ก็ลองสอบถามกันดูเองนะจ๊ะ หรือถ้าจะเปิดค่าใช้จ่ายแต่ละโครงการออกมาให้สาธารณะได้รับทราบจะดีมาก กล้ารึเปล่า ?)
โครงการสวัสดิการอาวุธปืนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติข้างต้นนี้ ถือว่าเป็นมาตรฐานของโครงการอาวุธปืนสวัสดิการ ที่ต่อไปไม่ควรปล่อยให้หากินกันจนเกินพอดีกับข้าราชการระดับผู้ปฏิบัติ ที่เงินเดือนไม่ได้มากมาย ต้องซื้ออาวุธปืนมาประกอบเครื่องแบบในการทำงาน หมดโครงการนี้ ไม่รู้จะมีใครกล้าทำอีกหรือไม่ เพราะไม่ได้ส่วนต่าง แต่ต้องเหนื่อยวิ่งเต้นในการติดต่อประสานงานตั้งแต่ มหาดไทย สรรพากร ก.คลัง รัฐบาล บริษัทต่างชาติ ฯลฯ ขอบันทึกไว้ตรงนี้นะครับ สองโครงการอาวุธปืนสวัสดิการตำรวจ ในยุค พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธ์ม่วง และ ยุค พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา
ประวิงเวลาในการพิจารณาคำขอ ถ้าไม่วิ่งเต้น มีซองขาวบรรจุธนบัตรแนบไปด้วย
ตรวจสอบคุณสมบัติเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด เช่น ผู้ขอใบ ป.3 ต้องไปประเมินสุขภาพจิต หรือ ขอหนังสือรับรองจากการผ่านการอบรมยิงปืน ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้ ออกใบ ป.3 กันเป็นร้อย เป็นพัน ไม่เคยต้องใช้มาตรฐานเช่นนี้แต่อย่างใด
เรียกค่าใช้จ่ายใต้โต๊ะ ว่ากันว่าอย่างน้อยต้องมีหลายพันต่อกระบอก เป็นที่รู้กัน
ปัญหาข้างต้นนี้ได้สะท้อนไปถึงกระทรวงมหาดไทย จึงได้มีหนังสือชี้แจงทำความเข้าใจให้กับผู้ว่าราชการทุกจังหวัด ให้ไปบอกนายทะเบียนอาวุธปืนประจำท้องที่ ซึ่งก็คือนายอำเภอทุกแห่ง ให้ดำเนิการพิจารณาคำขอ แบบ ป.3 ให้ถูกต้องตามระเบียบ กฎหมายโดยเคร่งครัด ดังนี้
- ห้ามมิให้พิจารณาเกินกว่าขอบเขตที่กฎหมายกำหนด เช่น การประเมินสุขภาพจิต เรียกใบรับรองแพทย์ ใบรับรองทดสอบสมรรถภาพการใช้อาวุธปืน
- ห้ามมิให้พิจารณาล่าช้าเกินกว่าที่กำหนดไว้ในคู่มือฯ เด็ดขาด
- สำหรับข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกหน่วยงาน ที่มีสถานภาพความเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐอยู่ ณ วันที่ยื่นคำขอประกอบกับมีหนังสือรับรองความประพฤติจากผู้บังคับบัญชาต้นสังกัดนั้น ถือว่าเป็นหลักประกันในด้านคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามฯ จึงไม่ต้องตรวจสอบคุณสมบัติด้วยวิธีการพิมพ์ลายนิ้วมือตรวจสอบฯ
ต้องขอบคุณทางกระทรวงมหาดไทย ที่ออกหนังสือดังกล่าวมาเพื่อแก้ปัญหาการพิจารณาที่ไม่เป็นมาตรฐานของนายทะเบียนทั่วประเทศ ต่อไปนี้ก็ให้ผู้ที่มีปัญหาเกิดขึ้นในลักษณะข้างต้นนี้ พิมพ์หนังสือฉบับนี้เอาไปยื่นให้นายทะเบียนเลย ขอทราบคำตอบว่าติดขัดตรงไหน ไม่ก็ร้องเรียนไปที่ศูนย์ดำรงธรรมที่มีทุกศาลากลางจังหวัดก็ได้
โครงการอาวุธปืนสวัสดิการก่อนหน้านี้ไม่รู้กี่สิบ กี่ร้อยโครงการ ไม่เคยมีโครงการไหน ทำราคาได้ต่ำขนาดนี้มาก่อน เรียกได้ว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติทำโครงการขายปืนในราคาถูกกว่าโครงการของมหาดไทย หรือกองทัพเกือบครึ่ง ถือเป็นปรากฎการณ์ที่นาน ๆ จะมีคนบ้าพอที่จะทำ
เพราะมันมีกระแสว่า มีส่วนต่างมหาศาล มีเงินใต้โต๊ะ งาบกันมาทั้งระบบอย่างต่อเนื่องยาวนาน พ่อค้าอาวุธที่เสนอโคตรงการ เหมาจ่ายกันเป็นรายกระบอกให้กับผู้มีอำนาจ ทั้ง ๆ ที่ต้นทุนแค่สองหมื่นกว่า แต่เอามาขายในราคาเกือบสองเท่า ส่วนต่างขนาดนี้ กับผู้ซื้อที่ต้องกู้เงินมา และผ่อนปืนไปอีกหลายปี เหตุธาตุแท้กันเลยทีเดียว(จริง ไม่จริง ก็ลองสอบถามกันดูเองนะจ๊ะ หรือถ้าจะเปิดค่าใช้จ่ายแต่ละโครงการออกมาให้สาธารณะได้รับทราบจะดีมาก กล้ารึเปล่า ?)
โครงการสวัสดิการอาวุธปืนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติข้างต้นนี้ ถือว่าเป็นมาตรฐานของโครงการอาวุธปืนสวัสดิการ ที่ต่อไปไม่ควรปล่อยให้หากินกันจนเกินพอดีกับข้าราชการระดับผู้ปฏิบัติ ที่เงินเดือนไม่ได้มากมาย ต้องซื้ออาวุธปืนมาประกอบเครื่องแบบในการทำงาน หมดโครงการนี้ ไม่รู้จะมีใครกล้าทำอีกหรือไม่ เพราะไม่ได้ส่วนต่าง แต่ต้องเหนื่อยวิ่งเต้นในการติดต่อประสานงานตั้งแต่ มหาดไทย สรรพากร ก.คลัง รัฐบาล บริษัทต่างชาติ ฯลฯ ขอบันทึกไว้ตรงนี้นะครับ สองโครงการอาวุธปืนสวัสดิการตำรวจ ในยุค พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธ์ม่วง และ ยุค พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น