ย่านความถี่วิทยุสื่อสาร และมารยาทในการใช้

วิทยุสื่สาร เป็นอุปกรณ์ที่แม้จะดูโบราณ ล้าสมัย เมื่อเทียบกับ โทรศัพท์เคลื่อนที่ สมาร์ทโฟน ต่าง ๆ  แต่ข้อดีของวิทยุสื่อสาร คือ ไม่ต้องอาศัยเสาสัญญาณจากบริษัทเครือข่าย แค่อยู่ในความถี่และระยะส่ง ก็สามารถสื่อสารกันได้ และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมใด ๆ(ลองคิดดูครับ ถ้าเครือข่ายมือถือล่มหมด วิทยุสื่อสารนี่พระเอกเลยนะครับ) ด้วยข้อดีดังกล่าว  ทำให้เทคโนโลยีนี้ยังไม่สูญพันธ์ และมีผู้ใช้งานจำนวนมาก เช่น หน่วยงานราชการ ทหาร ตำรวจ ดับเพลิง ปกครอง กู้ภัย ชมรมวิทยุสมัครเล่น บริษัท ห้างร้าน ฯลฯ
     วิทยุสื่อสาร ในปัจจุบันมีใช้กัน 3 ประเภท ได้แก่ 
          ประเภทแรก วิทยุสื่อสารสมัครเล่นเครื่องดำ ย่านความถี่ 144-146 MHz ผู้ใช้งานต้องเป็นนักวิทยุสมัครเล่น ต้องผ่านการสอบจาก กสทช. 
          ประเภทที่ 2 วิทยุสื่อสารราชการเครื่องดำ ย่านความถี่ 136-174 MHz ผู้ใช้งานต้องมีอาชีพเป็นข้าราชการหรืออาสาสมัครของมูลนิธิต่างๆ หรือเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานเอกชน ซึ่ง กสทช.อนุญาต ผู้ที่มีคุณสมบัติเหล่านี้สามารถใช้วิทยุสื่อสารชนิดนี้ได้ทั่วราชอาณาจักรโดยไม่ต้องขอใบอนุญาตจาก กสทช. แต่ต้องพกบัตรประจำตัวที่หน่วยงานออกให้ติดตัวด้วยเสมอเมื่อมีการพกพาวิทยุสื่อสารชนิดนี้ไปใช้งานทุกที่ 
          ประเภทที่ 3 สำหรับวิทยุสื่อสารเครื่องแดง หรือที่เรียกกันว่า walkie talkie วิทยุสื่อสารประเภทนี้ใช้สื่อสารกันในระยะใกล้ ตัวเครื่องมีสีแดงเพื่อแยกให้เด่นชัดว่าเป็นเครื่องสำหรับประชาชนทั่วไป ซึ่งประชาชนสามารถซื้อและขออนุญาตใช้เครื่องที่ กสทช.ได้โดยไม่ต้องสอบ / พวกห้างร้าน บริษัท หรือ ตามสถานที่ก่อสร้าง นิยมใช้กัน 


   การสนทนาทางคลื่นความถี่และการพกพาวิทยุสื่อสารนั้น ตามประกาศ กสทช. ผู้ใช้วิทยุสื่อสารต้องระมัดระวังการสนทนาทางช่องความถี่ทุกๆ ความถี่ในข่ายวิทยุสมัครเล่น นอกจากนี้การพกพาวิทยุสื่อสารไปใช้งานนอกสถานที่นั้น ผู้ใช้วิทยุสื่อสารต้องนำเอกสารหรือหลักฐานใบอนุญาตต่างๆ ติดตัวตลอดเวลา ต้องพกพาในลักษณะที่เหมาะสม ต้องมีบัตรประชาชนตัวผู้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม และบัตรประจําเครื่องวิทยุคมนาคมในกรณีที่เครื่องวิทยุคมนาคมนั้นเป็นเครื่องส่วนตัวแสดงต่อเจ้าหน้าที่กรณีถูกเรียกตรวจ นอกจากนี้ยังมีข้อกำหนดเรื่องความเหมาะสมในส่วนของการพกพาวิทยุคมนาคม ได้แก่ วิทยุคมนาคมให้ใช้ได้เฉพาะพื้นที่ที่ได้รับอนุญาต การแต่งกาย รวมถึงการให้ความร่วมมือเจ้าหน้าที่ในกรณีที่มีการขอตรวจสอบ

     หมายเหตุ ในขณะมีการประกาศกฎอัยการศึก ซึ่งตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก มาตรา 11 วรรคสาม ห้ามโฆษณา แสดงมหรสพ รับหรือส่งซึ่งวิทยุ วิทยุ กระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์ และวรรคห้า ห้ามมีหรือใช้เครื่องมือสื่อสารหรืออาวุธ เครื่องอุปกรณ์ของ อาวุธ และเคมีภัณฑ์ หรือสิ่งอื่นใดที่มีคุณสมบัติทำให้เกิดอันตรายแก่บุคคล สัตว์ พืช หรือทรัพย์สิน หรือที่อาจนำไปใช้ทำเป็นเคมีภัณฑ์ หรือสิ่งอื่นใดที่มีคุณสมบัติดังกล่าวได้ ดังนั้น การใช้งาน หรือการนำติดตัวควรต้องระมัดระวังเป็นพิเศษครับ


มารยาทที่พึงกระทำในการใช้วิทยุสื่อสาร
   1.  ให้ใช้คำสุภาพในการติดต่อสื่อสารเท่านั้น ไม่ตำหนิ ด่าทอ ให้ร้าย พูดส่อเสียด
   2.   พูดให้รวบรัดชัดเจน ใช้รหัสให้ถูกต้อง(ดูรหัสวิทยุสื่อสาร) 
   3.   ไม่กระทำการใด ๆ ที่เป็นการก่อกวนเครือข่าย เช่น กดคีย์เล่น กดคีย์ค้าง ร้องเพลง ทำเสียงประหลาด ๆ / ไม่ใช้เครือข่ายขณะมึนเมา ครองสติไม่อยู่
   4.   ไม่ส่งข้อความแทรกในขณะที่ผู้อื่นกำลังส่งอยู่
   5.   ให้ระลึกอยู่เสมอว่าเครือข่ายเป็นของส่วนรวม อาจมีผู้อื่นใช้งานร่วม แต่ไม่ได้แสดงตัว
   6.   ให้โอกาสสถานีที่มีข่าวสำคัญ เร่งด่วน ข่าวฉุกเฉิน ส่งข่าวก่อน /กรณีความถี่หนาแน่น ควรมีความถี่สำรองไว้ด้วย
   7.   ห้ามการรับส่งข่าวสารอันมีเนื้อหาละเมิดต่อกฎหมายบ้านเมือง
   8.   ตราบที่สัญญาณไปถึง ทุกคนคือเพื่อน





ข้อแนะนำการใช้เครื่องรับ - ส่ง วิทยุคมนาคมแบบมือถือ

1. หลีกเลี่ยงการทำเครื่องตกหล่นลงบนพื้นแข็งด้วยประการใด ๆ ก็ตามเพราะจะทำให้เครื่องชำรุด
    ได้โดยง่าย ควรมีซองหนังใส่เพื่อลดความกระทบกระเทือน เมื่อเครื่องตกหล่นลดรอยแตกร้าว
    รอยขีดข่วนได้ 

2. เครื่องมือถือโดยทั่วไปสามารถปรับกำลังส่งได้สูงต่ำ(HI-LO) ได้ ระยะติดต่อใกล้ ๆ ควรส่งด้วย
    กำลังส่งต่ำซึ่งมีผลดีคือประหยัดพลังงานของแบตเตอรี่ถนอมภาค PA ของเครื่อง ไม่ให้ทำงาน 
    หนักเกินไป 

3. ไม่ควรเก็บเครื่องไว้ในที่มีอุณหภูมิสูงๆ เช่น รถยนต์ที่จอดในที่แจ้งในหน้าร้อนอาจทำให้เครื่อง
     เสื่อม สภาพ และชำรุดได้ 

4. หลีกเลี่ยงการทำเครื่องตกน้ำหรือถูกน้ำฝน อาจทำให้เครื่องชำรุดยากแก่การตรวจซ่อม รวมทั้ง
    ช่องเสียบแจ๊คต่างๆ ของเครื่องต้องมีอุปกรณ์ปิดกั้นละอองน้ำและฝุ่นไม่ให้เข้าเครื่อง

5. สายอากาศที่ใช้กับเครื่องมือถือ ควรใช้สายอากาศยาง และสายอากาศแบบ Telescopic สาย
    อากาศทั้งสองแบบดังกล่าว ถ้าชำรุดควรเปลี่ยนใหม่ ไม่ควรใช้อีกต่อไป

6. ห้ามจ่ายแรงดันไฟฟ้าเกินกว่าที่กำหนดไว้ในคู่มือ และห้ามจ่ายแรงดันไฟฟ้ากลับขั้ว 

7. ให้ปิดเครื่อง (OFF SWITH) ทุกครั้งก่อนที่จะทำการถอดหรือใส่แบตเตอรี่ 

8. ขณะที่ทำการส่งข่าวสาร ควรพูดห่างจากไมโครโฟนประมาณ 1-2 นิ้ว 

9. ไม่ควรให้ผู้อื่นมาใช้เครื่องของท่าน(ขอยืม)เพราะอาจมีปัญหาในทางกฎหมาย 

10. ระวังการสูญหายเนื่องจากการโจรกรรมพวกมิจฉาชีพ โดยเฉพาะเครื่องของทางราชการ
      หรือ เครื่องส่วนตัวก็ตาม ถ้าหายต้องรีบแจ้งความทันที 

11. การส่งข่าวสารต้องชัดเจน ใช้เวลาน้อย เพื่อถนอมเครื่องและแบตเตอรี่ 

12. หลีกเลี่ยงจากไอน้ำเค็ม 

13. คู่มือการใช้งานของเครื่องต้องเก็บรักษาไว้เพื่อศึกษาให้เข้าใจถึงวิธีการใช้เครื่อง 

14. ไม่ควรปรับแต่งวงจรใดๆ ภายในเครื่อง ถ้าท่านมิใช่ช่างวิทยุโดยตรง 

15. ขั้วต่อสายอากาศของเครื่องมือถือ ถ้าเกิดการหลวมโยกขยับไปมาได้ต้องรีบแก้ไข


ขอเพิ่มเติมความเห็นของคุณ ชนะ ชื่นสนธิ์ ที่ได้ให้ความรู้เรื่องการใช้วิทยุสื่อสารอย่างถูกกฎหมายครับ

ความคิดเห็น

  1. การใช้วิทยุสื่อสารอย่างถูกกฎหมาย ตามพรบ. วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 นั้น มีหลักจำง่ายๆ และต้องครบทั้ง 3 ค. คือ
    ค. 1 เครื่องวิทยุสื่อสาร ต้องได้รับอนุญาตและมีทะเบียนถูกต้องจาก กสทช.
    ค. 2 คน ต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยราชการต้นสังกัด มีบัตรประจำตัวพนักงานวิทยุของข่ายนั้นๆ
    ค. 3 ความถี่ ต้องเป็นความถี่ที่ได้รับอนุญาตจาก กสทช. เท่านั้น ซึ่งความถี่จะปรากฎอยู่ใบอนุญาตเครื่องวิทยุสื่อสารนั้นๆ

    นอกเหนือจากนี้หากมีการตั้งสถานีในรถยนต์ หรือสถานที่ใดๆ ต้องได้รับอนุญาตจาก กสทช. ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานราชการหรือเอกชน

    ประชาชนทั่วไม่สามารถใช้งานเครื่องวิทยุความถี่ย่าน 137 - 174 ได้โดยไม่ได้รับอนุญาตจาก กสทช. หรือไม่ได้รับอนุญาตเป็นพนักงานวิทยุของหน่วยงานที่ได้รับอนุญาตจาก กสทช.

    การใช้งานเครื่องวิทยุสื่อสาร โดยไม่มีได้รับอนุญาตมีความผิดตาม พรบ. วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 มีโทษปรับสูงสุด 100,000 บาท หรือ จำคุกสูงสุด 5 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ขอบคุณสำหรับความรู้ดี ๆ ครับ

      ลบ
  2. เพื่อเป็นเพิ่มเติมรายละเอียดตามที่ได้เคยคอมเม้นไปก่อนหน้านี้
    คลิกตามลิ้งนี้ครับ ขอบคุณครับ https://www.facebook.com/groups/1762935617367284/permalink/1894996077494570/

    ตอบลบ
  3. ถ้าจะไปขออนุญาติพกพาหรือนักวิทยุสมัครเล่น ต้องไปขอที่ได

    ตอบลบ
  4. การขออนุญาตใช้เครื่องวิทยุสื่อสารในกิจการวิทยุสมัครเล่น ต้องผ่านการสอบรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นของ #กสทช ก่อน โดยนำใบประกาศนียบัตรไปขอขึ้นทะเบียนเป็นนักวิทยุสมัครเล่น จะได้รับสัญญานเรียกขาน แล้วจึงไปซื้อเครื่องวิทยุสือสารได้ เมื่อซื้อเครื่องวิทยุสื่อสารมาแล้ว ต้องไปยื่นขออนุญาตมีใช้เครื่องวิทยุสื่อสารที่จัดซื้อมากับ สำนักงาน กสทช. เขตใดก็ได้ สะดวกเขตใหนก็ไปที่เขตนั้น ไม่จำเป็นต้องดำเนินการในเขตภูมิลำเนา เมื่อได้รับใบอนุญาตแล้ว จะสังเกตุเห็นว่าในใบอนุญาตนั้นมีระบุความถี่ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ไว้ปรากฎชัดเจน หากดัดแปลงเครื่องใช้ในความถี่ที่ไม่ได้รับอนุญาต แม้จะเป็นนักวิทยุสมัครเล่น เครื่องถูกกฎหมาย แต่ใช้ความถี่ที่ไม่ได้รับอนุญาตก็จะมีความผิดตาม พรบ. วิทยุคมนาคม โทษปรับ 100,000 บาท หรือจำคุก 5 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

    การทำให้ถูกกฎหมายนั้น มีขั้นตอนตามระเบียบของ กสทช. ต้องทำให้ถูกต้อง ไม่ได้ยากอย่างที่คิด

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น