เมื่อวันที่ 7 มี.ค. 59 เวลาประมาณ 13.30 น. พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ รอง ผบ.ตร ,พล.ต.ท.รุ่งโรจน์ แสงคร้าม ผู้ช่วย ผบ.ตร., พล.ต.ท.ปิยะ อุทาโย ผบช.ก.ตร.แถลงข่าวเรื่องการแต่งตั้ง และการจัดตำแหน่งของพนักงานสอบสวนระดับต่าง ๆ ณ ห้องแถลงข่าว ตร.ชั้น 1 อาคาร1 ตร. โดยสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. รอง ผบก.สอบสวน(สบ.5 เดิม) มีในจังหวัดใหญ่ และ บช.ก.
2. ผกก.สอบสวน(สบ.4 เดิม) จัดลงตามจังหวัด และหน่วยต่าง ๆ ตามที่ได้แถลงไปก่อนหน้า โดยจะไม่มีการยกฐานะโรงพักระดับสารวัตรใหญ่(ลิงค์ข่าวก่อนหน้า)
3. รอง ผกก.สอบสวน(สบ.3 เดิม) , สารวัตรสอบสวน(สบ.2 เดิม) และ รอง สารวัตรสอบสวน(สบ.1 เดิม) อยู่สถานีเดิม จังหวัดหรือ ภาคเดิม ไม่มีการย้ายข้ามภาค แต่อาจมีเกลี่ยระดับ รอง ผกก.สอบสวน - สารวัตรสอบสวน ไปเป็นหัวหน้างานตามสถานีต่าง ๆ
4. เงินประจำตำแหน่งงานสอบสวน ตั้งแต่รองสารวัตร - ผู้กำกับการ ได้เหมือนเดิม เท่าเดิม
5. หลังจากปรับตำแหน่งงานสอบสวนเสร็จสิ้นแล้ว จะเริ่มแต่งตั้งระดับ สว. - รอง ผบก. ทันที โดยจะยังใช้กฎ ก.ตร. เดิม ถ้าไม่ทัน 31 มี.ค. 59 ก็ให้ขอขยายไปอีก 30 วัน ส่วนที่เสนอแก้ กฎ ก.ตร. เกี่ยวกับการแต่งตั้ง จะให้ศึกษาต่อ และนำไปใช้ในคราวถัดไป
ครับ ก็เพราะความเอาแต่ใจของผู้มีอำนาจ ทำให้การแต่งตั้งล่าช้าออกมาหลายเดือน รวมทั้งต้องประชุม แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ทั้งเรื่องกฎ ก.ตร. และเรื่องพนักงานสอบสวน ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับการปฏิรูปตำรวจ หรือทำให้องค์กรดีขึ้นแต่อย่างใด หนำซ้ำยังอาจจะแย่ลงไปอีก ไม่มีหลักการ กฎหมายอะไรอีกแล้ว ไม่งั้นจะออกคำสั่ง คสช.ที่ 6/59 มาปกป้องตัวเองทำไม จริงมั๊ย ?
งานสอบสวนเขาแยกแท่ง ทำกันมาเป็นสิบปี เพื่อยกระดับ สร้างมาตรฐานทางวิชาชีพ คุณมีทฤษฎี ผลการศึกษา วิจัย หอกอะไรมาสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง แจงให้ฟังหน่อยว่า ศึกษากันมานานแค่ไหนแล้ว เก็บข้อมูล หรือมีการประชุมกันตั้งแต่เมื่อไหร่ ? คำตอบพี่น้องตำรวจย่อมรู้ดีอยู่แก่ใจ
นอกจากนี้ยังมีการให้ตรวจสอบการรวมตัวกันของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เป็นชมรม หรือสมาคม ที่มาเรียกร้องสิทธิต่าง ๆ นั้น ว่าทำให้เกิดความแตกแยกหรือไม่ งานนี้ถือเป็นการ "เอาคืน" ของผู้บังคับบัญชาระดับ ตร. กับพนักงานสอบสวน ที่เคยรวมตัวก่อตั้งชมรม สมาคม ขึ้นเพื่อเรียกร้องสิทธิต่าง ๆ โดยทำให้ตัวเองได้สิทธิมากกว่าสายงานอื่นมากมาย อันนี้ส่วนตัวแล้วเห็นว่าพนักงานสอบสวนเอาเปรียบสายงานอื่นจริง แต่การรวมตัวกันเป็นสิทธิ ถ้าผู้บังคับบัญชาทำถูกต้อง ยุติธรรม ก็ไม่ต้องกลัวอะไรกับการรวมตัวของลูกน้อง
1. รอง ผบก.สอบสวน(สบ.5 เดิม) มีในจังหวัดใหญ่ และ บช.ก.
2. ผกก.สอบสวน(สบ.4 เดิม) จัดลงตามจังหวัด และหน่วยต่าง ๆ ตามที่ได้แถลงไปก่อนหน้า โดยจะไม่มีการยกฐานะโรงพักระดับสารวัตรใหญ่(ลิงค์ข่าวก่อนหน้า)
3. รอง ผกก.สอบสวน(สบ.3 เดิม) , สารวัตรสอบสวน(สบ.2 เดิม) และ รอง สารวัตรสอบสวน(สบ.1 เดิม) อยู่สถานีเดิม จังหวัดหรือ ภาคเดิม ไม่มีการย้ายข้ามภาค แต่อาจมีเกลี่ยระดับ รอง ผกก.สอบสวน - สารวัตรสอบสวน ไปเป็นหัวหน้างานตามสถานีต่าง ๆ
4. เงินประจำตำแหน่งงานสอบสวน ตั้งแต่รองสารวัตร - ผู้กำกับการ ได้เหมือนเดิม เท่าเดิม
5. หลังจากปรับตำแหน่งงานสอบสวนเสร็จสิ้นแล้ว จะเริ่มแต่งตั้งระดับ สว. - รอง ผบก. ทันที โดยจะยังใช้กฎ ก.ตร. เดิม ถ้าไม่ทัน 31 มี.ค. 59 ก็ให้ขอขยายไปอีก 30 วัน ส่วนที่เสนอแก้ กฎ ก.ตร. เกี่ยวกับการแต่งตั้ง จะให้ศึกษาต่อ และนำไปใช้ในคราวถัดไป
ครับ ก็เพราะความเอาแต่ใจของผู้มีอำนาจ ทำให้การแต่งตั้งล่าช้าออกมาหลายเดือน รวมทั้งต้องประชุม แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ทั้งเรื่องกฎ ก.ตร. และเรื่องพนักงานสอบสวน ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับการปฏิรูปตำรวจ หรือทำให้องค์กรดีขึ้นแต่อย่างใด หนำซ้ำยังอาจจะแย่ลงไปอีก ไม่มีหลักการ กฎหมายอะไรอีกแล้ว ไม่งั้นจะออกคำสั่ง คสช.ที่ 6/59 มาปกป้องตัวเองทำไม จริงมั๊ย ?
งานสอบสวนเขาแยกแท่ง ทำกันมาเป็นสิบปี เพื่อยกระดับ สร้างมาตรฐานทางวิชาชีพ คุณมีทฤษฎี ผลการศึกษา วิจัย หอกอะไรมาสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง แจงให้ฟังหน่อยว่า ศึกษากันมานานแค่ไหนแล้ว เก็บข้อมูล หรือมีการประชุมกันตั้งแต่เมื่อไหร่ ? คำตอบพี่น้องตำรวจย่อมรู้ดีอยู่แก่ใจ
นอกจากนี้ยังมีการให้ตรวจสอบการรวมตัวกันของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เป็นชมรม หรือสมาคม ที่มาเรียกร้องสิทธิต่าง ๆ นั้น ว่าทำให้เกิดความแตกแยกหรือไม่ งานนี้ถือเป็นการ "เอาคืน" ของผู้บังคับบัญชาระดับ ตร. กับพนักงานสอบสวน ที่เคยรวมตัวก่อตั้งชมรม สมาคม ขึ้นเพื่อเรียกร้องสิทธิต่าง ๆ โดยทำให้ตัวเองได้สิทธิมากกว่าสายงานอื่นมากมาย อันนี้ส่วนตัวแล้วเห็นว่าพนักงานสอบสวนเอาเปรียบสายงานอื่นจริง แต่การรวมตัวกันเป็นสิทธิ ถ้าผู้บังคับบัญชาทำถูกต้อง ยุติธรรม ก็ไม่ต้องกลัวอะไรกับการรวมตัวของลูกน้อง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น