เช้าวันนี้(29 ม.ค. 59) มีเหตุพนักงานสอบสวน สน.ทุ่งสองห้อง ร.ต.ท. ยิงตัวตายที่แฟลตตำรวจ ทิ้งลุกเมียไว้เบื้องหลัง ซึ่งก่อนหน้าในเดือนเดียวกันนี้ ก็มีพนักงานสอบสวน สภ.แก่งโสภา ยิงตัวตายเช่นเดียวกัน สาเหตุก็เหมือนกันคือ "เครียดเรื่องงาน" แบบนี้มันไม่ปกติแล้วครับ ผู้บังคับบัญชาระดับ ตร. ต้องเร่งหาสาเหตุและแนวทางแก้ไขโดยเร็ว
ในฐานะที่เคยเป็นพนักงานสอบสวนและสัมผัสกับเพื่อนตำรวจระดับสถานีตำรวจที่ทำงานด้านการสอบสวนมาตลอด ขอสรุปสาเหตุแห่งความเครียดให้ได้ทราบกันบ้างนะครับ
- เครียดเรื่องงาน งานสอบสวนนั้น ตัวพนักงานสอบสวนเรียกว่าแทบจะทำทุกอย่างด้วยตัวตนเดียว นับแต่รับแจ้งความ ไปตรวจที่เกิดเหตุ ทำแผนที่ สอบปากคำ ฝากขัง ฯลฯ ถ้าไม่มีทีมงานคอยช่วยเหลือ ทำให้เกิดความเครียดสะสม ยิ่งในพื้นที่ที่มีปริมาณงานมาก เฉลี่ยแล้วเกินกว่า 100 สำนวน/คน/ปี หรือพนักงานสอบสวนใหม่ ที่ไม่มีพี่เลี้ยงคอยดูแล ไม่รู้จะหันหน้าไปพึ่งใคร เรื่องนี้ตัวหัวหน้างานสอบสวน และหัวหน้าสถานีต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ หากเห็นว่าจะเริ่มรับมือไม่ไหว ควรต้องพักเวร เคลียร์สำนวนในมือ อย่าให้ค้างจนเสียหาย
- เครียดเรื่องเจ้านาย ผู้บังคับบัญชาที่ดีต้องมีศิลปะในการปกครอง ถ้าเจอพนักงานสอบสวนขี้เกียจ ก็ต้องตรวจกันบ่อย ๆ กำชับให้มานั่งทำงาน อาจถึงต้องกำหนดตารางงานให้ จัดทีมงานสนับสนุน อย่าเพิ่มเติมความเครียดต่อกันโดยไม่จำเป็น ถ้า พงส. ไม่ยิงตัวตาย ก็อาจยิงท่านตายได้ ก่อนจะเอาผิด หรือลงโทษ พงส. ต้องหาทางแก้ปัญหาเสียก่อน ช่วยกันก่อน ไม่ใช่จะเอาโทษกันอย่างเดียว
- เครียดเรื่องคู่กรณี พนักงานสอบสวนต้องรับมือกับคนที่มีอารมณ์ร้อน ได้รับความเดือดร้อน ร้อนใจ ฯลฯ ทั้งเรื่องจราจร ทะเลาะวิวาท บุกรุก ทำร้ายร่างกาย ข่มขืน คดีเหล่านี้ ไม่ใช่คดีใหญ่ แต่การรับมือไม่ง่าย ต้องรองรับอารมณ์ของคู่กรณีด้วยความอดทน บางครั้งเกิดความไม่เข้าใจถึงกับร้องเรียนตัวพนักงานสอบสวนเองก็มีไม่น้อย กรณีอย่างนี้ หัวหน้างานหรือเพื่อนร่วมงาน ต้องเข้ามาช่วยเจรจาก่อนที่ร้อยเวร จะกลายเป็นคู่กรณีเสียเอง(เรื่องร้องเรียนตำรวจนี่ พงส. นำมาเลยนะครับ) หรืออาจมีหลักสูตรแก้ไขวิกฤติการเจรจา ให้มีทักษะด้านวาทศิลป์ เป็นต้น
- งานเอกสารที่มากเกิดจำเป็น ในสำนวนนั้นมีเอกสารที่สามารถลดทอนได้ เช่นรายงานการสอบสวน เอาแค่ตัวสรุปก็พอ ไม่ต้องบรรยายเป็นรายคน หรือเอกสารอื่น ๆ ที่อัยการไม่ได้ใช้ ลองคุยกันดู เปลืองเวลา เปลืองกระดาษ อีกเรื่องคือการกรอกข้อมูล Polis ต้องกรอกให้ละเอียดด้วยตนเอง กรอกแล้วก็น่าจะจบ ไมใช่ต้องรายงานเป็นกระดาษไปยังหน่วยเหนืออีก งี่เง่ามาก(หน่วยเหนือมรึงก็เปิด Polis ดูเอาเองสิเว้ย)
- เครียดเรื่องประสานงานต่างหน่วย เจ้านายมักจะรับ MOU กับ ศาล อัยการ ฯลฯ มาก่อนถามไถ่ผู้ปฏิบัติเสมอ ไม่รู้เป็น MOU ห่าไร มันต้องเป็นข้อตกลง 2 ฝ่าย ไม่ใช่เรียกร้องฝ่ายเดียว ฝ่ายตำรวจไม่เคยได้ประโยชน์อะไรกับข้อตกลงต่างหน่วยเลย เช่น สอบเยาวชน พงส. ต้องพาเยาวชนไปที่อัยการ ติดต่อทนาย ฯลฯ จ่ายค่าแรงให้ทนาย พาเยาวชนกลับ , ฝากขัง ขอหมาย ก็ต้องทำตามขั้นตอน ไปผิดเวลาก็โดนตำหนิ ทั้ง ๆ ที่เป็นเวลาราชการแท้ ๆ ไอ้เราก็รีบจะตายห่าอยู่แล้ว ศาลนั่งอยู่กับที่เงินเดือนเป็นแสน จะเรื่องมากอะไรนักหนา อีกอันก็คือคดีป่าไม้ ทรัพยากรธรรมชาติ อยู่ดี ๆ ให้ตำรวจท้องที่ไปทะเลาะกับฝ่ายปกครองซะงั้น จะเอายังไง ข้างบนก็คุยกันให้จบเสียก่อนได้ไหม ผู้ปฏิบัติแมร่งเซ็ง
- อุปกรณ์ไม่พร้อม คอม พริ้นเตอร์ กระดาษ หาเองไม่เป็นไรครับ แต่รถร้อยเวรมีคันเดียว ต้องแย่งกันใช้ ทั้งร้อยเวรอาญา ร้อยเวร จราจร ร้อยเวรฝากขัง อย่างนี้ก็ไม่ไหวนะครับ , น้ำมันก็ไม่พอ ต้องควักเติมเองอีก
เหล่านี้แหละครับคือปัญหาที่ พงส. จะต้องพบเจอ ในฐานะผู้บังคับบัญชา ที่มีอำนาจเต็มใน ตร. ท่านจะแก้ไขปัญหาให้เขาได้อย่างไร "พลังอำนาจที่ยิ่งใหญ่จะมาพร้อมความรับผิดชอบอันใหญ่ยิ่ง" ลุงของสไปเดอร์แมนได้กล่าวไว้
ในส่วนของชมรมพนักงานสอบสวน บทบาทของท่านคือสรุป ปัญหาอุปสรรค จาก พงส. ทั่วประเทศ แล้วขอประชุมร่วมกับทาง ตร. เพื่อหาแนวทางแก้ไข ไม่ใช่เรียกร้องเอาแต่ได้(ได้เงินประจำตำแหน่ง ได้เงินค่าสำนวน ได้เลื่อนยศเลื่อนตำแหน่งโดยที่สายงานอื่นเข้ามาแทรกคุณไม่ได้) ต้องสนใจปัญหาของพี่น้อง พงส. ด้วย แล้วอะไรที่ทำเป็นมาตรฐานแบบเดียวกันได้ ก็ให้ทำ เช่น สำนวน แบบฟอร์มแต่ละคนไม่เคยเหมือนกันเลย , การทำ MOU ระหว่างหน่วยงาน ให้เหมือนกันทั่วประเทศได้หรือไม่
สำหรับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เคยมีการศึกษาเรื่องการปรับปรุงพัฒนางานสอบสวน โดยท่าน พล.ต.อ.วรพงษ์ ชิวปรีชา ทำไว้ละเอียดดีมาก เช่นการเกลี่ย พงส. ทำได้เลยในอำนาจของ ผบช. , การจัดทีมพนักงานสอบสวนสำหรับโรงพักใหญ่(นครสวรรค์โมเดล) ฯลฯ ซึ่งท่าน ผบ.ตร. พล.ต.อ.จักรทิพย์ฯ ก็มาร่วมสัมนาด้วยนะท่าน ยังไงลองเอามาปรับใช้ดู
ฝากถึงเพื่อน ๆ ตำรวจที่มีปัญหาด้านความเครียด อย่านั่งคิดวนเวียนอยู่คนเดียว ให้ปรึกษาเพื่อน เจ้านาย เดินเข้าไปพุดคุยกันเลยครับ อย่างน้อยน่าจะแก้ปัญหาได้ดีกว่าคิดเองคนเดียว ไม่ไหวอย่างไร เขาไม่ฆ่าคุณหรอก ค่อย ๆ คิดไป ทำไป อย่าทิ้งลูกเมีย พ่อแม่ ไว้ข้างหลัง แล้วเรื่องแย่ ๆ มันก็จะผ่านไปได้สักวัน
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
ปล. งบประมาณของสำนักงานตำรวจแห่งชาติมีจำกัด การที่ พงส. ได้เงินประจำตำแหน่ง มันก็คือการตัดส่วนงบประมาณของงานด้านอื่น เอามาให้คุณนั่นแหละ ไม่ใช่ว่าจะได้เพิ่มจากรัฐบาลแต่อย่างใด ไม่ได้ว่าใคร แค่บอกให้รู้เฉย ๆ
ปล.2 ในสายธารแห่งกระบวนการยุติธรรม ตำรวจถือเป็นต้นน้ำ แต่ค่าตอบแทนของต้นน้ำ กลางน้ำ(อัยการ) และปลายน้ำ(ศาล) นั้นต่างกันประมาณ 3 - 4 เท่าตัว นะครับ นี่ก็บอกให้รุ้เฉย ๆ
ปล.2 ในสายธารแห่งกระบวนการยุติธรรม ตำรวจถือเป็นต้นน้ำ แต่ค่าตอบแทนของต้นน้ำ กลางน้ำ(อัยการ) และปลายน้ำ(ศาล) นั้นต่างกันประมาณ 3 - 4 เท่าตัว นะครับ นี่ก็บอกให้รุ้เฉย ๆ
ซีรี่ย์ชุด "โรงพักเป็นจุดแตกหัก"
😁
ตอบลบโดนครับ
ตอบลบพงส.ทำทุกอย่าง ไม่เคยแบ่งงานให้คนอื่นทำรับผิดชอบบ้าง พวกนายสั่งหนังสือลงมาขู่ตลอดจะลงทัณฑ์ คิดแต่เรื่องไม่เป็นเรื่องให้ทำ เช่น ลงข้อมูลในคราม ทำไมต้องบังคับพงส.ลง ใช้งบสร้างโปรแกรม ไม่คุ้มกับเงินภาษี พวกสั่งวันๆ ทำงานให้คุ้มเงินเดือนบ้างซิ ถ้าคุณสั่ง แล้วคุณลงมาทำได้ ไม่ว่ากัน ขอให้คนสั่งลงมาทำแข่งกับคนถูกสั่ง เอาแบบคนสั่งทำ 1 อย่าง คนถูกสั่งทำ 2 อย่าง ถ้าคนสั่งทำได้ คนถูกสั่งก็จะหุบปากไม่บ่นทันที
ตอบลบไม่มีใครพูดถึงการแก้ปัญหางานอำนวยการของงานสอบสวนเลย ทั้งงานธุรการสอบสวน ทั้งคน ระบบ ไปรวมอยู่ที่พงส.คนเดียว ถ้าฝ่ายอำนวยการของงานสอบสวนดีด้วย ระบบก็ดีด้วย พงส.ก็มีหน้าที่ทำงานสอบสวนอย่างเดียว ไม่ต้องพะวงกับเรื่องอื่นๆ
ตอบลบ